แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สถานการณ์ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของไทย กรณีศึกษา สาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพและสาระหมวดการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ

dc.contributor.authorฐิติพร สุแก้วth_TH
dc.contributor.authorThitiporn Sukaewth_TH
dc.contributor.authorอังคณา เลขะกุลth_TH
dc.contributor.authorAngkana Lekagulth_TH
dc.contributor.authorกมลพัฒน์ มากแจ้งth_TH
dc.contributor.authorKamolphat Markchangth_TH
dc.contributor.authorโศภิต นาสืบth_TH
dc.contributor.authorSopit Nasuebth_TH
dc.contributor.authorมธุดารา ไพยารมณ์th_TH
dc.contributor.authorMathudara Phaiyaromth_TH
dc.contributor.authorสตพร จุลชูth_TH
dc.contributor.authorSataporn Julchooth_TH
dc.contributor.authorจักร เจริญศิลป์ชัยth_TH
dc.contributor.authorChak Charoensilpchaith_TH
dc.date.accessioned2021-05-27T03:57:30Z
dc.date.available2021-05-27T03:57:30Z
dc.date.issued2564-02-14
dc.identifier.otherhs2668
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5355
dc.description.abstractรายงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการศึกษา “รายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของ ไทย” กรณีศึกษา สาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพ และสาระหมวดการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่ คุกคามสุขภาพ ข้อมูลที่ใช้ในการดำเนินงานครั้งนี้ได้มาจากกระบวนการทบทวนวรรณกรรมและรายงานที่เกี่ยวข้องตามประเด็นสาระหมวดที่ทำการศึกษา เพื่อประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของสถานการณ์ระบบสุขภาพของประเทศตามสาระหมวดที่ทำการศึกษา โดยใช้ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ทีมผู้วิจัยยังได้ประเมินความพร้อมในการใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวในระดับพื้นที่ และความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ช่องว่างในการดำเนินงานและประเมินช่องว่างในการดำเนินงานในแต่ละสาระหมวดต่อไป การศึกษานี้ใช้วิธีการทบทวนข้อมูลทุติยภูมิเพื่อจัดทำรายงาน โดยใช้ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดด้าน HIV/AIDS SDG.ที่ 3.3.1 จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ต่อประชากรที่ไม่ติดเชื้อ 1,000 คน จำแนกตามเพศ อายุและประชากรหลัก ตัวชี้วัดด้าน NCDs SDG ที่ 3.4.1 อัตราการตายของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ตัวชี้วัดด้าน RTI SDG ที่ 3.6.1 การลดอัตราตายจากการบาดเจ็บทางท้องถนนต่อประชากร 100,000 คนให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ. 2573 และตัวชี้วัดด้าน Air pollution SDG ที่ 3.9.1 อัตราตายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ทั้งจากในบ้านเรือนและในบรรยากาศทั่วไป เพื่อใช้เป็นตัวแทนสาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพและการใช้ตัวชี้วัดด้าน IHR SDG ที่ 3.d.1 ขีดความสามารถของการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) และการเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ เพื่อเป็นตัวแทนสาระหมวดป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ส่วนการวิเคราะห์ศักยภาพและช่องว่างการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ/องค์กรที่รับผิดชอบในการตอบสนองต่อการบรรลุภาพพึงประสงค์ของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์รองที่ 1 จัดทำขึ้นโดยใช้กรอบในการวิเคราะห์ 4 มิติ ได้แก่ มิตินโยบาย มิติความรู้ มิติการนำนโยบายไปปฏิบัติ และมิติการติดตามและประเมินผล จากนั้นจึงสังเคราะห์เป็นข้อมูลเบื้องต้นและพัฒนาเป็นเครื่องมือเพื่อขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามสาระหมวดหรือตัวชี้วัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข โดยมีองค์ประกอบทั้งภาครัฐ ภาควิชาการและภาคประชาสังคม ในส่วนการถอดบทเรียนเชิงกระบวนการซึ่งเป็นวัตถุประสงค์รองอีกหัวข้อของการศึกษาจะใช้วิธีการอภิปรายกลุ่มภายในคณะวิจัย ผลการศึกษาพบว่า การรายงานตัวชี้วัดสาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพ (ด้าน HIV/AIDS ด้าน NCDs ด้าน RTI และด้าน Air pollution) และตัวชี้วัดสาระหมวดการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ (ด้านขีดความสามารถของการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR)) สามารถรายงานผลในภาพรวมระดับประเทศที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีเพียงตัวชี้วัดด้าน NCDs และด้าน RTI เท่านั้นที่สามารถรายงานผลได้ในระดับจังหวัด ผลการทบทวนสถานการณ์ในประเทศไทยตามประเด็นผลลัพธ์ทางสุขภาพตามตัวชี้วัด SDGs ทั้ง 4 ตัวชี้วัดของสาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพพบว่ามีสถานะที่หลากหลาย โดยตัวชี้วัดด้าน RTI เป็นตัวชี้วัดที่ครบกำหนดเป้าหมายแล้วในปี 2563 ซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถบรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่ SDG กำหนด และปัจจุบันมีสถานการณ์ที่ด้อยกว่าสถานการณ์ภาพรวมทั่วโลก ในส่วนของตัวชี้วัดด้าน HIV/AIDS ด้าน NCDs และด้าน Air pollution (มลพิษทางอากาศ) ซึ่งกำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2573 ในปัจจุบันมีสถานการณ์ที่ดีกว่าสถานการณ์ภาพรวมทั่วโลก โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้าน HIV/AIDS และ NCDs มีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดด้าน Air pollution (มลพิษทางอากาศ) ยังมีข้อจำกัดในการรายงานสถานการณ์ที่ต่อเนื่อง ในส่วนของตัวชี้วัดด้าน IHR มีการกำหนดเป้าหมายโดยไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยการดำเนินการด้าน IHR ของประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 85) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งระดับภูมิภาค (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) (ร้อยละ 61) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก (ร้อยละ 64) และมีแนวโน้มจะบรรลุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างพันธะสัญญาในระดับโลกกับการกำกับติดตามการดำเนินงานของระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยเฉพาะตัวชี้วัด SDG ด้าน HIV/AIDS ด้าน NCDs และด้านอุบัติเหตุทางท้องถนนมีความเหมาะสมในการใช้เป็นตัวแทนสาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพ ในขณะที่ตัวชี้วัด SDG ด้านมลพิษทางอากาศยังขาดความเหมาะสมในการเป็นตัวชี้วัดสาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากความไม่สอดคล้องกับลักษณะการกระจายตัวของปัจจัยเสี่ยงด้านมลพิษทางอากาศในประเทศที่มีความแตกต่างกันไปในช่วงฤดูกาล เช่นเดียวกับสาระหมวดการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ซึ่งตัวชี้วัดยังขาดความเหมาะสม เนื่องจากขีดความสามารถของการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ยังไม่ครอบคลุมปัจจัยคุกคามทางสุขภาพทั้งหมดและไม่สามารถสะท้อนความร่วมมือจากภาคประชาสังคมหรือประชาชนได้เท่าที่ควรนัก อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 สาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพและสาระหมวดการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นและความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยงานในระดับพื้นที่ตามที่ปรากฏในภาพพึงประสงค์ของสาระหมวด ดังนั้น การพัฒนาตัวชี้วัดที่สอดคล้องตามภาพพึงประสงค์และกำหนดเป้าหมายร่วมกันกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจึงเป็นประเด็นที่สำคัญในระยะต่อไป และการพัฒนาตัวชี้วัดระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ (sub-national หรือ local-indicator) ที่มีการสอดแทรกกรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงควรเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระยะยาว การวิเคราะห์ศักยภาพและช่องว่างการบรรลุภาพพึงประสงค์ของสาระหมวดผ่านการดำเนินงานตามตัวชี้วัด โดยเฉพาะสาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพเป็นวิธีที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนในการสังเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากแต่ละด้านมีลักษณะเฉพาะ ทั้งเชิงบริบท สถานการณ์ปัญหากรอบนโยบายและมาตรการที่ใช้ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การสังเคราะห์ศักยภาพและช่องว่างการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้าน อาจไม่สามารถสะท้อนช่องว่างภาพพึงประสงค์ของการสร้างเสริมสุขภาพได้ดีเท่าที่ควรนัก ข้อเสนอแนะหลัก 1) ควรจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาปรับแผนการดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) สนับสนุนให้จัดทำข้อมูลสุขภาพ ทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่โดยเชื่อมโยงกับกลไกที่มีอยู่ทั้งระดับตำบล อำเภอและจังหวัด และ 4) พิจารณากำหนดตัวชี้วัดเชิงกระบวนการที่สะท้อนภาพพึงประสงค์เพื่อชี้ช่องว่างการดำเนินงานเพื่อไปสู่การบรรลุตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ที่กำหนดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectตัวชี้วัดth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectนโยบายด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectPublic Healthth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectHealth Promotionen_US
dc.subjectIndicatorsen_US
dc.titleสถานการณ์ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของไทย กรณีศึกษา สาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพและสาระหมวดการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeSituation report on Thailand's health systems: case studies of Health Constitution on Article of health promotion and Article of disease prevention and control and health threatsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ฐ341ส 2564
dc.identifier.contactno63-137
dc.subject.keywordธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subject.keywordHealth Constitutionen_US
.custom.citationฐิติพร สุแก้ว, Thitiporn Sukaew, อังคณา เลขะกุล, Angkana Lekagul, กมลพัฒน์ มากแจ้ง, Kamolphat Markchang, โศภิต นาสืบ, Sopit Nasueb, มธุดารา ไพยารมณ์, Mathudara Phaiyarom, สตพร จุลชู, Sataporn Julchoo, จักร เจริญศิลป์ชัย and Chak Charoensilpchai. "สถานการณ์ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของไทย กรณีศึกษา สาระหมวดการสร้างเสริมสุขภาพและสาระหมวดการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5355">http://hdl.handle.net/11228/5355</a>.
.custom.total_download112
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year14

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2668.pdf
ขนาด: 1.988Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย