แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงบูรณาการเพื่อบริหารจัดการด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โดยประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

dc.contributor.authorสุทัศน์ โชตนะพันธ์th_TH
dc.contributor.authorSuthat Chottanapundth_TH
dc.contributor.authorวีระพงค์ เกิดสินth_TH
dc.contributor.authorWerapong Koedsinth_TH
dc.contributor.authorยุทธนา ลิลาth_TH
dc.contributor.authorYutthana Lilath_TH
dc.contributor.authorจุฑาพร เกษรth_TH
dc.contributor.authorJutaporn Kesonth_TH
dc.contributor.authorเอกชัย กกแก้วth_TH
dc.contributor.authorEakkachai Kokkaewth_TH
dc.contributor.authorจริยา ยมเสถียรกุลth_TH
dc.contributor.authorJariya Yomsatiankulth_TH
dc.contributor.authorกนกศักดิ์ ชาญกลth_TH
dc.contributor.authorKanoksuk Chankonth_TH
dc.contributor.authorลัดดาวรรณ เจรสาริกิจth_TH
dc.contributor.authorLaddawan Jansarikitth_TH
dc.contributor.authorจริยา ดำรงศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorChariya Damrongsakth_TH
dc.date.accessioned2021-06-25T05:31:46Z
dc.date.available2021-06-25T05:31:46Z
dc.date.issued2564-06-10
dc.identifier.otherhs2681
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5365
dc.description.abstractการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงบูรณาการเพื่อบริการจัดการด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โดยประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาบริหารจัดการด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โดยใช้ฐานข้อมูล 43 แฟ้ม จากคลังข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในการพัฒนาระบบแสดงครั้งนี้ ได้นำเสนอข้อมูลผ่านแดชบอร์ด (Dashboard) และแสดงในรูปแบบแผนที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (http://www.eecmigrants.com) โดยการแสดงผลประกอบด้วย 3 หมวดหลัก ได้แก่ ข้อมูลสถิติ ข้อมูลเชิงพื้นที่และตารางข้อมูล และประกอบด้วยหมวดย่อย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านระบุตัวตน ด้านการวินิจฉัย ด้านการรักษา ด้านผลการรักษา และด้านสิทธิการรักษา เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาและอุปสรรคในการศึกษาคือ 1. ตัวระบบฐานข้อมูลในระดับกระทรวงสาธารณสุขยังไม่สนับสนุนการใช้งานผ่านระบบอัตโนมัติ (Application Program Interface (API)) ดังนั้นการนำข้อมูลมาใช้จึงจำเป็นต้องกระทำตามลำดับด้วยโปรแกรมเมอร์ผ่านช่องทางที่ทางกระทรวงเปิดให้บริการเท่านั้น และการเก็บข้อมูลในระดับหน่วยงานย่อยยังขาดเอกภาพ มีการใช้ระบบงานที่แตกต่างกัน รวมถึงข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน 2. ระบบฐานข้อมูลอนุญาตให้ใช้ข้อมูลได้ครั้งละไม่เกิน 1,000,000 ระเบียน ซึ่งในทางปฏิบัติการดาวน์โหลดข้อมูลถูกระบุตามช่วงของวันเวลา ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะไม่ทราบถึงปริมาณข้อมูลที่ถูกเรียกใช้ เมื่อข้อมูลที่ประมวลผลมีขนาดเกินกว่าที่ระบบอนุญาต ผู้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องตัดแบ่งข้อมูลออกเป็นข้อมูลขนาดเล็กพร้อมทั้งทำบัญชีระเบียนข้อมูลที่บันทึกถึงตำแหน่งล่าสุดของข้อมูลที่ถูกตัดแบ่งก่อนการดาวน์โหลดเพื่อให้เกิดความครบถ้วนของข้อมูล 3. ระบบฐานข้อมูลไม่สนับสนุนการใช้งานคำสั่งสำเร็จรูป Offset ซึ่งเป็นคำสั่งในภาษา SQL ที่ทำให้ผู้ใช้คำสั่งสามารถเลือกช่วงของข้อมูลได้ ดังนั้นทางทีมพัฒนาจึงได้วิเคราะห์ข้อมูลและพบว่าข้อมูลในแต่ละตารางจะมีวันที่กำกับ ทางทีมงานได้ใช้วันที่เป็นเกณฑ์ในการตัดแบ่งข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ 4. การขาดการเชื่อมโยงของฐานข้อมูลในส่วนของเอกชนและหน่วยงานสาธารณสุขอื่นๆ เช่น หน่วยงานของเทศบาล ร้านขายยา และ 5. ข้อมูลของแรงงานบางส่วนไม่ครบถ้วนเนื่องจากมีการเข้าเมืองผิดกฎหมายและบางครั้งมีการแจ้งข้อมูลซ้ำซ้อนเพื่อปกปิดสถานะ รวมถึงข้อมูลยังมีความซ้ำซ้อนกัน จากแบบสอบถามกลุ่มแรงงานข้ามชาติ พบว่า แรงงานส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยม ประกอบด้วยแรงงานหลักสามสัญชาติ ได้แก่ พม่า กัมพูชาและลาว แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เข้าเมืองแบบถูกกฎหมายและมีการประกันสุขภาพ แต่ยังมีแรงงานต่างด้าวอีกส่วนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและไม่มีหลักประกันสุขภาพ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน และมีรายจ่ายเฉลี่ยที่ 6,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพจากโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เพื่อนและนายจ้าง แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่จะเข้าสถานพยาบาลใกล้ที่พักอาศัยและมีความพึงพอใจกับระบบบริการสุขภาพของไทย สิ่งที่แรงงานต่างด้าวอยากทราบข้อมูลมากที่สุด คือ สิทธิประโยชน์ของตนในการทำประกันสุขภาพและการเข้ารับการบริการ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการให้บริการสุขภาพแก่แรงงานข้ามชาติ พบว่า ปัญหาสำคัญลำดับแรก ได้แก่ 1. ภาระค่ารักษาที่เบิกจ่ายไม่ได้ในรายอนาถาหรือไม่มีเงินจ่าย รองลงมาคือ 2. บุคลากรสุขภาพต้องทำงานหนักขึ้น 3. โรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำมีโอกาสแพร่ระบาดและควบคุมได้ยาก 4. โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีโอกาสอุบัติซ้ำจากลูกหลานแรงงานข้ามชาติ 5. การแย่งใช้สิทธิและทรัพยากรการรักษาพยาบาลของคนไทย 6. มีปัญหาในการเบิกจ่ายค่าประกันสุขภาพที่ล่าช้าทำให้โรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง และ 7. ขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรสุขภาพ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการวางแผนเพื่อการให้บริการสาธารณสุขสำหรับแรงงานข้ามชาติในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกได้ แต่ยังต้องการการพัฒนาดังนี้ 1. การจัดทำมาตรฐานการระบุตัวตนของแรงงานต่างด้าวที่มีเอกภาพ หรือมาตรฐานเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 2. หน่วยงานควรเปิดเผยข้อมูลและการอนุญาตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าถึงฐานข้อมูล โดยยังเป็นไปตามกฎหมายกำหนด 3. การจัดทำมาตรฐานข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะชุดข้อมูลมาตรฐานที่เหมาะกับการเชื่อมโยงข้อมูลและมีความปลอดภัย ด้านการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพกับแรงงานข้ามชาติควรเน้นเรื่องของการใช้สื่อและภาษาที่กลุ่มแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าใจและเข้าถึงได้ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ นายจ้าง และกลุ่มปัญหาเร่งด่วนด้านสุขภาพที่ต้องเร่งการดำเนินการ ได้แก่ กลุ่มโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ส่วนความเร่งด่วนเชิงระบบบริการ คือ การแก้ปัญหาจากผลกระทบของการให้บริการแก่แรงงานข้ามชาติ 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1. ปัญหาการเพิ่มภาระงานของบุคลากรด้านสาธารณสุข รองลงมาคือ 2. ปัญหาการเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในประชากรไทย 3. ปัญหาการระบาดของโรคในเด็กที่ติดตามมากับแรงงานข้ามชาติ 4. ปัญหาการสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาแรงงานข้ามชาติ และ 5. ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อของแรงงานข้ามชาติ ตามลำดับth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrant Workersth_TH
dc.subjectForeign Workersth_TH
dc.subjectข้อมูลสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Information Systemth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์th_TH
dc.subjectสาธารณสุข--ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์th_TH
dc.subjectGeographic Information Systemth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงบูรณาการเพื่อบริหารจัดการด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โดยประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe integration of GIS into a health information system for migrant health monitoring: In the Eastern Economic Corridorth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis project “The integration of GIS into a health information system for migrant health monitoring: In the Eastern Economic Corridor” is about utilizing data for health service and health status of migrant workers management. Migrants’ health information is extracted from 43 files of database, Health Data Center (HDC) dashboard, Ministry of Public Health. This new developed system presents data in Dashboard and mapping. Accordingly, the users can access migrant workers’ health information through web browser: http://www.eecmigrants.com. The web application has 3 main categories: statistical database, spatial database, and data table, which divided into 5 subcategories: Patient identification, Diagnosis, treatment, Treatment results, and Medical rights. This database assists users to manage health data quickly and effectively. However, there are problems and limitations in this study described as below: 1. The database system of Ministry of Public Health did not support the programmer to access information automatically via Application Programming Interface (API). Therefore, the programmer had to access data through only channel that the ministry allows, which was difficult to pull selected data out. Apart from that, the data collection at the sub-department level still was lack of unity. It used different systems to gathering data, it also contained out-of-date information. 2. This database system allowed us to retrieve 1,000,000 record at one time. In practice, downloads were specified by date and time. The programmer would not exactly know the amount of data that pulled out. As a results, when having information overload, the programmer had to split the big data into small size. Then, making a data account to keep track on latest download location. This would help acquiring full information. 3. The database system did not support the OFFSET in SQL command which allow users to select the range of data. Nevertheless, the development team analyzed data and found that data had date written in each table. Thus, we selected information by date to do analyze. 4. The database did not connect with other databases which belong to private sector and other public healthcare organisations (e.g., office of the Municipality, pharmacy). 5. Some of migrant workers’ information were incomplete due to illegal immigration. Also, when access healthcare, they used other workers’ information for hiding their undocumented status, causing duplicate data at that. According to the interview with Burmese, Cambodian, Lao migrant workers, most of them had education lower than high school. Additionally, lots of migrant workers entered Thailand legally with health insurance. Some were undocumented immigrants. Their monthly income were about 10,000 baht and monthly average expenses were 6,000 baht. Mostly migrant workers accessed healthcare knowledge from television, mobile phone, friends and their employers. It is obvious that when they got sick, they would go to the nearest hospital. The finding revealed that they were satisfied with Thai healthcare service. Furthermore, migrant workers were interested to know about their right and benefit of health insurance and the access to healthcare service. The problems that arise from providing service to migrant workers were 1) the burden of medical expenses that patients could not afford to pay 2) healthcare workers even worked harder 3) there were a chance that emerging and re-emerging infectious diseases would be spread and difficult to control 4) a risk of recurrence of vaccine-preventable disease from migrant workers’ children 5) migrant workers took part in rights and medical resource that preserve for citizens 6) delayed payment of insurance did serious impact on hospitals’ financial management, and 7) inefficient use of health care resources. In spite of the fact that the recommendations from the study can help planning the more effective healthcare for migrants in the Eastern Economic Corridor, there are some points that need to be improved 1. Establishing the same standard for recognized migrant workers’ identification in order to reduce data redundancy. 2. Organizations should share relevant information, as well as, allow the others to access the data regarding the law. 3. Setting data standardization that can be connected to other database properly. Besides, create strong security for protecting the data. The effective way to sending health information to migrant workers, is using media in their own languages. According to that, they can easily access via television, mobile phone and their employers. Turning to urgent health issues in migrant workers, communicable disease and emerging and re-emerging infectious diseases should be taken care of as top priority.en_US
dc.identifier.callnoHB886 ส778ก 2564
dc.identifier.contactno62-098
dc.subject.keywordระบบข้อมูลสุขภาพth_TH
.custom.citationสุทัศน์ โชตนะพันธ์, Suthat Chottanapund, วีระพงค์ เกิดสิน, Werapong Koedsin, ยุทธนา ลิลา, Yutthana Lila, จุฑาพร เกษร, Jutaporn Keson, เอกชัย กกแก้ว, Eakkachai Kokkaew, จริยา ยมเสถียรกุล, Jariya Yomsatiankul, กนกศักดิ์ ชาญกล, Kanoksuk Chankon, ลัดดาวรรณ เจรสาริกิจ, Laddawan Jansarikit, จริยา ดำรงศักดิ์ and Chariya Damrongsak. "การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงบูรณาการเพื่อบริหารจัดการด้านบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โดยประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5365">http://hdl.handle.net/11228/5365</a>.
.custom.total_download104
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year11

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2681.pdf
ขนาด: 6.937Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย