แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดขอนแก่น

dc.contributor.authorพิทยา ศรีเมืองth_TH
dc.contributor.authorPhitthaya Srimuangth_TH
dc.contributor.authorจรียา ยมศรีเคนth_TH
dc.contributor.authorJareeya Yomseekenth_TH
dc.contributor.authorฐิติกานต์ เอกทัตร์th_TH
dc.contributor.authorThitikan Ekathatth_TH
dc.contributor.authorวรรณศรี แววงามth_TH
dc.contributor.authorWanasri Wawngamth_TH
dc.date.accessioned2021-06-29T08:10:51Z
dc.date.available2021-06-29T08:10:51Z
dc.date.issued2564-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2564) : 136-154th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5370
dc.description.abstractบริการสุขภาพปฐมภูมิถือเป็นระบบสำคัญของบริการที่มีคุณภาพเพื่อทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนการและระบบสนับสนุนขององค์กร รวมทั้งเปรียบเทียบกระบวนการและระบบสนับสนุนขององค์กรกับพื้นที่อำเภอในการจัดบริการปฐมภูมิแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดขอนแก่น โดยเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจงจำนวน 170 คน ประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในและนอกเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (primary care cluster: PCC) คลินิกหมอครอบครัวนำร่อง คลินิกผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาล รวมทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น น้ำพองและอุบลรัตน์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินกระบวนการและระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการปฐมภูมิแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อถือทางสถิติที่ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ANOVA และ least-significant difference ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินกระบวนการและระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการของคลินิก NCD ของโรงพยาบาลทั้งภาพรวมจังหวัดและรายอำเภอมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าหน่วยบริการอื่นๆ โดยมิติกระบวนการประกอบด้วย 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและแพทย์ครอบครัวหรือหมอครอบครัว 2) การจัดทำแผนการดูแลรายบุคคลอย่างมีส่วนร่วม 3) การจัดทำระบบข้อมูลการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย และ 4) ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการตนเองของผู้ป่วย NCD ส่วนด้านที่เหลืออีก 1 ด้านคือด้านความต่อเนื่องของการดูแลและการเชื่อมประสานนั้น PCC นำร่องมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคลินิก NCD ของโรงพยาบาล และในมิติระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการประกอบด้วย 1) ทีมหมอครอบครัวและทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชนในการดูแลผู้ป่วย NCD และ 2) การทำความเข้าใจต่อหลักการจัดบริการ ส่วนอีก 2 ด้านที่เหลือคือด้านความเชื่อมั่นของทีมต่อการมีอิสระที่จะจัดสรรเวลาทำงานให้ผู้ป่วยตามที่ตนเห็นว่าจำเป็นนั้น หน่วยบริการของ PCC อื่นๆ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องนั้น หน่วยบริการที่เป็น PCC นำร่อง PCC อื่นๆ และคลินิก NCD ของโรงพยาบาลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน เมื่อพิจารณาเฉพาะมิติระบบการจัดบริการของ PCC นำร่องของทั้ง 3 อำเภอ พบว่า PCC นำร่องของอำเภอน้ำพองและอำเภออุบลรัตน์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า PCC นำร่องของอำเภอเมือง โดย PCC นำร่องของอำเภอน้ำพองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 ด้าน คือ 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและแพทย์ครอบครัว และ 2) ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการตนเองของผู้ป่วย NCD ส่วน PCC นำร่องของอำเภออุบลรัตน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 ด้าน คือ 1) การจัดทำแผนการดูแลรายบุคคลอย่างมีส่วนร่วม และ 2) ความต่อเนื่องของการดูแลและการเชื่อมประสาน ส่วนอีก 1 ด้านที่เหลือคือด้านการจัดทำระบบข้อมูลการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยนั้น PCC นำร่องของอำเภอน้ำพองและอำเภออุบลรัตน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน จากผลการศึกษานี้ พบว่า ค่าเฉลี่ยของการดำเนินงานในการจัดบริการปฐมภูมิแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ PCC นำร่องยังต่ำกว่าคลินิก NCD ของโรงพยาบาล พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้านทั้ง 3 อำเภอ ยกเว้นด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและแพทย์ครอบครัวหรือหมอครอบครัวซึ่งทั้ง 3 อำเภอไม่แตกต่างกัน การประเมินนี้เริ่มจากรูปแบบที่กำหนดมาจากโครงการกลาง ที่เป็นการประเมินเบื้องต้น อาจต้องอาศัยระยะเวลาของการนำรูปแบบไปปฏิบัติให้มีระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นและมีการถอดบทเรียนของการนำไปใช้ รวมทั้งปรับปรุงรูปแบบให้มีความเหมาะสมในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ การศึกษานี้อาจมีข้อจำกัด เนื่องจากได้ข้อมูลมาจากความคิดเห็นของผู้ให้บริการฝ่ายเดียว ไม่ได้มีการประเมินความคิดเห็นของผู้รับบริการ รวมทั้งไม่ได้เก็บข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก จึงเป็นเพียงการสรุปจากข้อมูลส่วนหนึ่งเท่านั้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitusth_TH
dc.subjectความดันโลหิตสูงth_TH
dc.subjectHypertensionth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Serviceth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectเบาหวาน--การรักษาth_TH
dc.titleการประเมินรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดขอนแก่นth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of Primary Care Service System Models for Diabetic and Hypertensive Patients in Khon Kaen Provinceth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativePrimary care is a crucial quality health care system in achieving health for all people. This study aimed to evaluate the provisioning and supporting systems, and also compare the provisioning and supporting systems to the district areas of primary care services for diabetic and hypertensive patients in Khon Kaen province covering the pilot and non-pilot primary care clusters (PCCs), the non-communicable disease (NCD) clinics of hospitals, and the health-promoting hospitals of Mueang, Nam Phong and Ubolratana districts. A cross-sectional study was conducted with 170 health personnel via purposive sampling. Data were collected by self-administered questionnaire with 0.84 Cronbach’s alpha coefficient. Data were analyzed using descriptive statistics in terms of percentage, mean and standard deviation, and inferential statistics in terms of ANOVA and least-significant difference. The findings showed that mean score of the provisioning and supporting system of the primary care service of NCD clinics of the hospitals was higher than the PCCs and health-promoting hospitals at both province and district levels. The mean scores of the NCD clinics were higher than the others in all dimensions of the provisioning system, including the relationship between clients and family medicine or family doctor, shared care plan for the individual patient, health information system, and self-management supports of the patients. However, the mean score of continuity of care and coordination provided by the pilot PCCs was higher than the NCD clinic of the hospitals. In terms of the supporting process associated with the family care team and multi-disciplinary team, and the understanding of primary care service principles, the mean score of the NCD clinics was higher than the PCCs and health-promoting hospitals. However, regarding the aspect of trust in time allocation of the team in providing care to patients, the mean score of the non-pilot PCCs was the highest, while the another aspect of continuity of health care service development served by the pilot and non-pilot PCCs and the NCD clinic had the same level of mean scores. When considering the dimension of the provisioning system of all three districts, in particular, the pilot PCCs of Nam Phong and Ubolratana districts had a higher mean score than the pilot PCCs of Mueang district. The pilot PCC of Nam Phong district had the highest mean score in two aspects: relationship between clients and family medicine or family doctor, and self-management supports of the patients. The pilot PCC of Ubol-ratana district had the highest mean score in two aspects: shared care plan for the individual patient, and continuity of care and coordination. In addition, the remaining aspect linked to the health information system provided by the pilot PCCs of Nam Phong and Ubolratana districts had the same mean. There were significant differences in all aspects in all three districts, except the relationships between clients and family medicine team (no significant difference in all districts). The present evaluation of the primary care models was an early assessment set by the central national project that needed longer time after implementation to learn more lessons for further improvement. Moreover, the present study was biased on the opinions of health care providers and did not include the opinions of clients and clinical outcomes of the service provision.th_TH
dc.subject.keywordPrimary Care Clusterth_TH
dc.subject.keywordคลินิกหมอครอบครัวth_TH
dc.subject.keywordเครือข่ายบริการปฐมภูมิth_TH
.custom.citationพิทยา ศรีเมือง, Phitthaya Srimuang, จรียา ยมศรีเคน, Jareeya Yomseeken, ฐิติกานต์ เอกทัตร์, Thitikan Ekathat, วรรณศรี แววงาม and Wanasri Wawngam. "การประเมินรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดขอนแก่น." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5370">http://hdl.handle.net/11228/5370</a>.
.custom.total_download1478
.custom.downloaded_today5
.custom.downloaded_this_month55
.custom.downloaded_this_year133
.custom.downloaded_fiscal_year248

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v15n ...
ขนาด: 580.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย