แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การปล่อยเชื้อไวรัสที่มีชีวิตอย่างยืดเยื้อในผู้ป่วย COVID-19

dc.contributor.authorประเสริฐ เอื้อวรากุลth_TH
dc.contributor.authorPrasert Auewarakulth_TH
dc.contributor.authorยุพิน ศุพุทธมงคลth_TH
dc.contributor.authorYupin Suputtamongkolth_TH
dc.contributor.authorชมพูนุท บุญอากาศth_TH
dc.contributor.authorChompunuch Boonarkartth_TH
dc.date.accessioned2021-08-25T02:36:15Z
dc.date.available2021-08-25T02:36:15Z
dc.date.issued2564-08
dc.identifier.otherhs2696
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5395
dc.description.abstractการพบว่ามีสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่คงอยู่เป็นเวลานานแม้จะหายจากการป่วยแล้วนั้นเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่สำคัญในการควบคุมโรค โดยมีคำถามสำคัญว่าการพบสารพันธุกรรมดังกล่าวบ่งชี้ถึงความสามารถในการแพร่เชื้อหรือไม่ และหากมีการปล่อยเชื้อไวรัสอย่างยืดเยื้อก็มีคำถามเชิงทฤษฎีที่น่าสนใจว่ามีการคงอยู่ของไวรัสได้อย่างไรเมื่อในร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากความบกพร่องของการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือไวรัสในคนเหล่านั้นได้กลายพันธุ์และสามารถหลบหนีจากภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้น เพื่อตอบคำถามเหล่านี้โครงการได้ดำเนินการเพาะแยกเชื้อจากตัวอย่างทางเดินหายใจและตรวจหาภูมิคุ้มกันในตัวอย่างเลือดจากผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ จำนวน 30 ราย ที่ตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี RT-PCR ภายหลัง 1 สัปดาห์จากการวินิจฉัยและดำเนินการเก็บและเพาะแยกเชื้อในตัวอย่างเป็นระยะไปจนถึง 4 สัปดาห์ พบว่า ตัวอย่างที่เก็บในสัปดาห์แรกมีปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสในระดับที่หลากหลาย และตั้งแต่สัปดาห์ที่สองเป็นต้นไปตัวอย่างส่วนใหญ่มีการลดลงอย่างชัดเจนของปริมาณสารพันธุกรรม และตรวจพบ antibody ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส และสามารถเพาะแยกเชื้อได้จากตัวอย่างในสัปดาห์แรก จำนวน 4 ราย และอีก 2 ราย ในสัปดาห์ที่สอง โดยทั้ง 6 ราย มีปริมาณสารพันธุกรรมที่สูง และจะไม่สามารถเพาะแยกเชื้อได้เมื่อปริมาณสารพันธุกรรมลดลงในสัปดาห์ถัดไป สำหรับ 2 ราย ที่เพาะแยกเชื้อได้ในสัปดาห์ที่สอง รายแรกตรวจพบ neutralizing antibody ในระดับต่ำจากตัวอย่างในเวลาเดียวกัน และระดับ neutralizing antibody นี้จะเพิ่มสูงขึ้นในสัปดาห์ที่สามพร้อมกับการลดลงของปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสและไม่สามารถเพาะแยกเชื้อได้ ในขณะที่อีกรายมีการคงอยู่ของทั้งปริมาณสารพันธุกรรมในระดับสูงและการเพาะเชื้อไวรัสได้ พร้อมกับการตรวจไม่พบ neutralizing antibody ในตัวอย่างของสัปดาห์ที่สองและสาม ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่าการตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสอย่างยืดเยื้อส่วนใหญ่ไม่มีการปล่อยเชื้อที่มีความสามารถแพร่เชื้อได้ แต่มีบางรายที่อาจมีการแพร่เชื้อได้อย่างยืดเยื้อ เนื่องจากมีความบกพร่องของร่างกายในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดเชื้อ โดยจะยังตรวจพบปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสในระดับสูงและตรวจไม่พบ neutralizing antibody ซึ่งอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจยังมีการแพร่เชื้อth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสารพันธุกรรมth_TH
dc.subjectRNA Virusesth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการปล่อยเชื้อไวรัสที่มีชีวิตอย่างยืดเยื้อในผู้ป่วย COVID-19th_TH
dc.title.alternativeExtended shedding of viable SARS-CoV2 from COVID-19 patientsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativePersistence of viral RNA in respiratory samples of COVID-19 patients and asymptomatically infected individuals is a common and important problem in the outbreak control. The main question is whether the persistence of viral RNA reflects viable virus shedding. And, if there is viable virus shedding, there is an interesting scientific question of how the virus survives in the presence of immune response, which should be developed soon after the infection. Possible explanations include a failure of developing immune response or an immune escape by viral mutations. To answer these questions, this project performed viral isolation in sequential respiratory samples and antibody detection in serum samples of 30 cases with mild-symptom or asymptomatic, who showed viral RNA positive by RT-PCR after 1 week from the diagnosis. Samples in the first week showed a large variation in the viral load levels which significantly declined in most samples from the second week forward together with positive for specific antibody in serum samples. For viral isolation, there were 6 positive samples with high viral load; 4 samples and 2 samples from the first and second week samples, respectively. The two culture positive samples from the second week, one of them had low level of neutralizing antibody in serum at the same time point and these neutralizing antibody level increased in the third and fourth week samples together with a drastic decline in viral load and negative viral culture. The other sample showed high viral load and positive viral culture together with negative neutralizing antibody in the samples from the second and third week. These data indicate that most patients and infected individuals with persistent positive RT-PCR have low level of viral load and this does not indicated shedding of viable virus. However, failure in mounting the immune response in some individuals may result in persistent shedding of viable virus. High viral load and negative neutralizing antibody may be used as markers to identify such individuals.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 ป421ก 2564
dc.identifier.contactno63-054
.custom.citationประเสริฐ เอื้อวรากุล, Prasert Auewarakul, ยุพิน ศุพุทธมงคล, Yupin Suputtamongkol, ชมพูนุท บุญอากาศ and Chompunuch Boonarkart. "การปล่อยเชื้อไวรัสที่มีชีวิตอย่างยืดเยื้อในผู้ป่วย COVID-19." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5395">http://hdl.handle.net/11228/5395</a>.
.custom.total_download127
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2696.pdf
ขนาด: 839.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย