แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ต้นทุน-ประสิทธิผลของโครงการรู้ทัน..กันหักซ้ำ ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลเลิดสิน

dc.contributor.authorจุฑาทิพ อาธีรพรรณth_TH
dc.contributor.authorJutatip Artheeraphanth_TH
dc.contributor.authorอรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติth_TH
dc.contributor.authorAttasit Srisubatth_TH
dc.contributor.authorชิตวีร์ เจียมตนth_TH
dc.contributor.authorChitawee Jiamtonth_TH
dc.contributor.authorฉัตรระวี จินดาพลth_TH
dc.contributor.authorChatravee Jindapolth_TH
dc.contributor.authorรมนปวีร์ บุญใหญ่th_TH
dc.contributor.authorRamonpawee Boonyaith_TH
dc.contributor.authorวรัญญา ทาสมบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorWaranya Tasomboonth_TH
dc.contributor.authorสุวิภา อุดมพรth_TH
dc.contributor.authorSuwipa Udompornth_TH
dc.date.accessioned2021-09-30T03:16:23Z
dc.date.available2021-09-30T03:16:23Z
dc.date.issued2564-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,3 (ก.ค. - ก.ย. 2564) : 326-343th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5412
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล: กระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น การรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยใช้เวลานาน ส่งผลให้แต่ละประเทศต้องรับภาระทางการเงิน อัตรากระดูกหักซ้ำภายใน 1 ปีเกิดขึ้นได้ถึงร้อยละ 2-11 การดูแลผู้ป่วยข้อสะโพกหักในปัจจุบันจึงต้องเน้นการป้องกันการหักซ้ำ จึงเกิดโครงการรู้ทัน..กันหักซ้ำ (Refracture Prevention) ที่มีการดูแลเป็นสหสาขาวิชาชีพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของผู้ป่วยที่มีกระดูกข้อสะโพกหักในโครงการ Refracture Prevention เปรียบเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม ในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ ระเบียบวิธีศึกษา: ทำการเก็บข้อมูลไปข้างหน้าและย้อนหลังของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยมีกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มผู้ป่วยข้อสะโพกหักที่ได้รับการรักษาแบบดั้งเดิม และกลุ่มทดลองคือกลุ่มที่อยู่ในโครงการ Refracture Prevention ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีกระดูกข้อสะโพกหักที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเลิดสินกลุ่มละ 130 คน ทำการเก็บข้อมูลต้นทุนนับตั้งแต่วันที่ผู้ป่วยลงทะเบียน (admit) ไปเป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วทำการวัดผลการรักษาเป็นอรรถประโยชน์เพื่อหาปีสุขภาวะและจำนวนผู้ป่วยที่ไม่มีกระดูกหักซ้ำ และทำการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลโดยใช้แผนภูมิการตัดสินใจ (decision tree) เปรียบเทียบผลการรักษาและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการให้การรักษาทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษา: กลุ่มที่อยู่ในโครงการ Refracture Prevention มีปีสุขภาวะมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสามารถป้องกันกระดูกหักซ้ำได้มากกว่า อัตรากระดูกหักซ้ำใน 1 ปี ลดลงจากร้อยละ 6.27 เป็น 4.29 และต้นทุนต่อหน่วยของการรักษากระดูกข้อสะโพกหักในโครงการ Refracture Prevention เท่ากับ 139,504 บาทในขณะที่การรักษาแบบเดิมเท่ากับ 150,720 บาท อีกทั้งผู้ป่วยในโครงการ Refracture Prevention มีปีสุขภาวะเท่ากับ 0.6023 ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบดั้งเดิมมีปีสุขภาวะเท่ากับ 0.5106 การรักษาผู้ป่วยข้อสะโพกหักในโครงการ Refracture Prevention จึงมีความคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม สรุปและอภิปราย: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีข้อสะโพกหักควรเป็นการดูแลแบบ fracture liaison service model ที่มีการร่วมมือกันของสหสาขาวิชาชีพและมีการป้องกันปัจจัยเสี่ยงของกระดูกหักซ้ำ จากการเริ่มต้นโครงการในปีแรกพบว่า ต้นทุนหลักมี 3 ส่วนด้วยกันคือ การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาโรคกระดูกพรุนและการป้องกันการล้ม เปรียบเทียบกับการรักษาแบบเดิมที่เน้นการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปคือ ควรมีการติดตามผลของโครงการ Refracture Prevention ในระยะยาว และจากข้อมูลต้นทุน ควรมีการศึกษาถึงภาระทางการเงินของประเทศไทย เพื่อทราบขนาดของปัญหาและวางแผนรองรับในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHip Fracturesth_TH
dc.subjectสะโพกหักth_TH
dc.subjectCost Effectivenessth_TH
dc.subjectต้นทุนและประสิทธิผลth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.titleต้นทุน-ประสิทธิผลของโครงการรู้ทัน..กันหักซ้ำ ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลเลิดสินth_TH
dc.title.alternativeCost-effectiveness of Refracture Prevention Program for Fractured Hip Patients in Lerdsin Hospitalth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and Rationale: Hip fracture in the elderly is a common problem in all countries worldwide and tends to increase every year along with the number of older adults. Treatment and rehabilitation of the patients take a long time, resulting in financial burdens for each country. The repeated fractures rate within 1 year was 2-11%. The current treatment of hip fracture patients was to cure and focus on the prevention of recurrent fractures. Therefore, the Refracture Prevention Program with multidisciplinary care was created. The purpose of this study was to investigate the cost-effectiveness of patients with fractured hips in Refracture Prevention Program compared with traditional treatment in healthcare provider’s aspect. Methodology: A prospective and retrospective study was conducted in 2 sample groups, with the control group receiving traditional treatment and the experimental group in the Refracture Prevention Program. Data were collected from 130 fractured hip patients of each group starting from admission day in Lerdsin Hospital for up to 1 year. The economic evaluation used a decision tree to show an incremental cost and effectiveness of each group. Results: The refracture prevention group had statistically significant higher quality-adjust life years (QALYs) than the traditional group (p < 0.05) and the program could prevent refracture better than the traditional group. Refracture rate per year reduced from 6.27% to 4.29%. The unit cost of hip fracture treatment in the Refracture Prevention Program was THB 139,504, while the traditional group was THB 150,720. The QALYs of the refracture prevention group was 0.6023, while the traditional group was 0.5106. New intervention was dominant: treatment under the Refracture Prevention Program was cheaper and better than traditional treatment. Conclusion and Discussion: The model of care for elderly patients with hip fracture should be the fracture liaison service model, with multidisciplinary cooperation and prevention of recurrent fracture risk factors. During the first year, there were 3 main costs of the program (operation, osteoporosis treatment and fall prevention) compared to only surgical treatment cost in the traditional treatment. Further study should be the long-term follow-up of the project. Besides the costing perspective, there should be a study on the financial burden of Thailand, in order to know the magnitude of the problem for future planning.th_TH
dc.subject.keywordกระดูกสะโพกหักth_TH
dc.subject.keywordFractured Hipth_TH
dc.subject.keywordผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักth_TH
dc.subject.keywordRefracture Preventionth_TH
.custom.citationจุฑาทิพ อาธีรพรรณ, Jutatip Artheeraphan, อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, Attasit Srisubat, ชิตวีร์ เจียมตน, Chitawee Jiamton, ฉัตรระวี จินดาพล, Chatravee Jindapol, รมนปวีร์ บุญใหญ่, Ramonpawee Boonyai, วรัญญา ทาสมบูรณ์, Waranya Tasomboon, สุวิภา อุดมพร and Suwipa Udomporn. "ต้นทุน-ประสิทธิผลของโครงการรู้ทัน..กันหักซ้ำ ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลเลิดสิน." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5412">http://hdl.handle.net/11228/5412</a>.
.custom.total_download2170
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month59
.custom.downloaded_this_year229
.custom.downloaded_fiscal_year452

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v15n ...
ขนาด: 639.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย