Show simple item record

Spatiotemporal analysis of association between alcohol outlet density and teenage drinking behaviors in Thailand: 2007-2017

dc.contributor.authorพลเทพ วิจิตรคุณากรth_TH
dc.contributor.authorPolathep Vichitkunakornth_TH
dc.contributor.authorสาวิตรี อัษณางค์กรชัยth_TH
dc.contributor.authorSawitri Assanangkornchaith_TH
dc.contributor.authorกนิษฐา ไทยกล้าth_TH
dc.contributor.authorKanittha Thaiklath_TH
dc.contributor.authorสุพีชา รุ่งเรืองth_TH
dc.contributor.authorSupeecha Rungruangth_TH
dc.contributor.authorซูไฮมี บูยาth_TH
dc.contributor.authorSuhaimee Buyath_TH
dc.contributor.authorวรางคณา ด้วงแป้นth_TH
dc.contributor.authorWarangkhana Duangpaenth_TH
dc.contributor.authorวรินทร บุญญานุกูลth_TH
dc.contributor.authorWarintorn Bunyanukulth_TH
dc.date.accessioned2021-12-21T03:44:29Z
dc.date.available2021-12-21T03:44:29Z
dc.date.issued2564-10
dc.identifier.otherhs2733
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5444
dc.description.abstractปัจจุบัน วัยรุ่นกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักทางการตลาดของธุรกิจสุรา โดยสังเกตได้จากโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามช่องทางหลักการเข้าถึงสุราของวัยรุ่นก็ยังคงเป็นการซื้อผ่านทางช่องทางกายภาพ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีก ผับ บาร์ เป็นต้น โดยจำนวนการเข้าถึงทางกายภาพนี้สามารถวัดได้จาก “ความหนาแน่นของใบอนุญาตการจำหน่ายสุรา” ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการวัดต่อจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทุกประเทศมีนโยบายสาธารณสุขที่มีความคุ้มค่า โดยหนึ่งในนั้น คือ การจำกัดการเข้าถึงทางกายภาพ (restricted access to retailed alcohol) การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุขนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของจุดจำหน่ายสุราและพฤติกรรมการบริโภคสุราในวัยรุ่นไทย ใน 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2560 โดยในงานวิจัยนี้จะอ้างอิงจำนวนจุดจำหน่ายสุรา โดยใช้จำนวนใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ทีมวิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ข้อมูลบริโภคสุรา จากการสำรวจพฤติกรรมการดื่มสุราและสูบบุหรี่ พ.ศ. 2550, 2554 และ 2560 โดยวัดออกมาเป็นความชุกของนักดื่มปัจจุบันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (current drinker) นักดื่มบ่อยตั้งแต่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป (regular drinker) และนักดื่มหนักตั้งแต่ 4-5 หน่วยดื่มมาตรฐานขึ้นไปต่อครั้ง (binge drinker) และข้อมูลความหนาแน่นของใบอนุญาตจำหน่ายสุรา จากข้อมูลการจดทะเบียนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง และรายงานจำนวนประชากรและบ้านประจำปี กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยทีมวิจัยได้คำนวณความหนาแน่นของจำนวนใบอนุญาตต่อประชากร 1,000 คนของแต่ละจังหวัด โดยดัชนีนี้จะสะท้อนความหนาแน่นของจุดจำหน่ายสุราของแต่ละพื้นที่นั่นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การนำเสนอในรูปแบบแผนที่ heatmap และใช้ spatiotemporal mixed model โดยกำหนดให้มีข้อมูล 2 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด มีตัวแปรความหนาแน่นของใบอนุญาตจำหน่ายสุรา (spatial effect) ปีที่เก็บข้อมูล (temporal effect) และดัชนีความขัดสน (Social Deprivation Index, SDI) สำหรับระดับบุคคลจะมีตัวแปรอื่นๆ ที่สำหรับควบคุมให้โมเดลถูกต้องยิ่งขึ้น ผลการศึกษา พบว่า ความหนาแน่นของจำนวนใบอนุญาตจำหน่ายสุราที่เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับความชุกของนักดื่มปัจจุบันในกลุ่มวัยรุ่นไทย (odds ratio [OR] = 1.08, 95% confidence interval [CI], 1.04-1.45) โดยเฉพาะเพศชาย (OR = 1.09, 95%CI, 1.04-1.14) และสัมพันธ์กับความชุกของนักดื่มหนักในเพศหญิงเท่านั้น (OR = 1.23, 95%CI, 1.05-1.44) การเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ในระดับจังหวัดและระยะเวลา 10 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2550 ถึง 2560) พบว่า ความหนาแน่นของใบอนุญาตจำหน่ายสุราค่อนข้างคงที่ที่ระดับประมาณเก้าใบอนุญาตต่อประชากร 1,000 คน ช่วงปี 2550-2551 มีค่าความหนาแน่นต่ำที่สุดและสูงที่สุดในปี 2558 กล่าวโดยสรุป คือ แนวโน้มค่อนข้างคงที่ โดยไม่มีการลดลง จากผลการศึกษานี้ สรุปได้ว่า การเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นใบอนุญาตจำหน่ายสุรามีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราของวัยรุ่นไทยจริง ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเฟ้นหามาตรการในการควบคุมจำนวนใบอนุญาตจำหน่ายสุรา เช่น เพิ่มความเข้มงวดในการขอและต่อใบอนุญาตจำหน่ายสุรา เพิ่มค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาต รวมถึงอาจกำหนดเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในการควบคุมการบริโภคสุราในประเทศไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสุราth_TH
dc.subjectสุรา--การดื่มth_TH
dc.subjectสุรา--การบริโภคth_TH
dc.subjectเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์th_TH
dc.subjectAlcoholth_TH
dc.subjectAlcohol Drinkingth_TH
dc.subjectDrinking Behaviorth_TH
dc.subjectวัยรุ่นth_TH
dc.subjectวัยรุ่น--การใช้แอลกอฮอล์th_TH
dc.subjectTeenagersth_TH
dc.subjectTeenagers--Alcohol Useth_TH
dc.subjectYouth--Alcohol Useth_TH
dc.subjectAlcoholic Beveragesth_TH
dc.subjectSpatiotemporal Analysisth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectสุรา--การควบคุมth_TH
dc.subjectเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์--การควบคุมth_TH
dc.subjectการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์--การควบคุมth_TH
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของจุดจำหน่ายสุราและพฤติกรรมการบริโภคสุราในวัยรุ่นไทย ปี พ.ศ. 2550-2560 โดยใช้ Spatiotemporal analysisth_TH
dc.title.alternativeSpatiotemporal analysis of association between alcohol outlet density and teenage drinking behaviors in Thailand: 2007-2017th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeNowadays, adolescents are a group that is targeted by the alcohol industry; and there is an increase of online marketing efforts. However, the main supply of alcohol is via physical availability (e.g., convenience stores, retail shops, pubs, bars). This can be monitored by the “density of alcohol sales licenses” per population. The World Health Organization (WHO) recommends a core set of alcohol best buy intervention strategies. One of them is the “restricted access to retailed alcohol”. This study explored the relationship between the density of alcohol outlets, alcohol sale licences, and alcohol drinking behaviors in Thai teenagers during the last 10 years (2007-2017). We drew data from two data sets. Firstly, alcohol drinking behavior was extracted from the 2007, 2011, 2014, and 2017 waves of the, nationally representative, Tobacco and Alcohol Consumption Survey in Thailand. Alcohol drinking behavior was categorised as: current drinker, regular drinker (≥1 time/week), and binge drinker (≥ 4-5 standard drinks in each time). Secondly, the density of alcohol sales licenses per 1,000 population in each province was calculated by the number of alcohol sales licenses from the Royal Thai Ministry of Finance, divided by the mid-year population number from the Royal Ministry of Interior. In this study, the density of alcohol sales licenses suggested alcohol outlet density. The relationships between the alcohol sales license figures and drinking behavior were analyzed by a heatmap and spatiotemporal mixed model. Our data had two levels. The upper level (i.e., provincial level) featured the density of alcohol sales licenses (spatial effect), years of survey (temporal effect) and the Social Deprivation Index (SDI). The lower level (i.e. individual level) had the demographic data of participants. We found that the density of alcohol sales licenses increased the odds for the current drinker category to be present (odds ratio [OR] = 1.08, 95% confidence interval [CI], 1.04-1.45), especially in male (OR = 1.09, 95%CI, 1.04-1.14). Furthermore, it also increased the odds for the presence of the binge drinker category but only in regards to females (OR = 1.23, 95%CI, 1.05-1.44). The number of alcohol sales licenses from 2007 to 2018 was, on average, nine licenses per 1,000 residents. In 2007 and 2008, the density of alcohol sales licenses was lower than the other years. Meanwhile, in 2015, the density of alcohol sales licenses was higher than the others. It could be concluded that the number of alcohol sales licenses showed quite steady density adjustments and no declines. Based on our results, increasing alcohol sales licenses is associated with a higher proportion of alcohol drinking from Thai teenagers. Thus, it is suggested that government organizations develop and apply strategies towards reducing the number of licenses for the sale of alcohol. Potential examples are: stricter control on the license applications and renewals process, increasing licensing fees, and using the density of alcohol sales licenses as a metric assisting the development of targets in the national alcohol control strategy.th_TH
dc.identifier.callnoHV5600 พ439ก 2564
dc.identifier.contactno64-003
dc.subject.keywordพฤติกรรมการบริโภคสุราth_TH
dc.subject.keywordใบอนุญาตการจำหน่ายสุราth_TH
.custom.citationพลเทพ วิจิตรคุณากร, Polathep Vichitkunakorn, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, Sawitri Assanangkornchai, กนิษฐา ไทยกล้า, Kanittha Thaikla, สุพีชา รุ่งเรือง, Supeecha Rungruang, ซูไฮมี บูยา, Suhaimee Buya, วรางคณา ด้วงแป้น, Warangkhana Duangpaen, วรินทร บุญญานุกูล and Warintorn Bunyanukul. "การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของจุดจำหน่ายสุราและพฤติกรรมการบริโภคสุราในวัยรุ่นไทย ปี พ.ศ. 2550-2560 โดยใช้ Spatiotemporal analysis." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5444">http://hdl.handle.net/11228/5444</a>.
.custom.total_download90
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year11

Fulltext
Icon
Name: hs2733.pdf
Size: 2.471Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record