แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนวรรณกรรมค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย

dc.contributor.authorกฤตภาส กังวานรัตนกุลth_TH
dc.contributor.authorKrittaphas Kangwanrattanakulth_TH
dc.date.accessioned2022-02-10T07:35:47Z
dc.date.available2022-02-10T07:35:47Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.otherhs2753
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5486
dc.description.abstractค่าอรรถประโยชน์ (Utility value) เป็นผลลัพธ์ที่สำคัญในการวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์ (Cost utility analysis: CUA) จากแนวทางการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยได้มีการแนะนำให้ใช้แบบสอบถาม EQ-5D-5L ในการหาค่าอรรถประโยชน์ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างฐานข้อมูลในการรวบรวมค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยมะเร็งตับ, ปอด, ลำไส้ใหญ่, เต้านม, ปากมดลูก, รังไข่และโลหิตในระยะต่างๆ ในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลระดับนานาชาติเช่น PubMed และ Scopus และฐานข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ HITAP, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), Thai LIS-Thai library integrated system (ThaiLIS) ซึ่งการศึกษาที่ถูกคัดเข้ามาทำการทบทวนวรรณกรรมในกรณีที่ 1) มีการรายงานค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยมะเร็ง 2) มีการระบุประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการหาค่าอรรถประโยชน์ รวมทั้งมีการดำเนินการประเมินคุณภาพของการศึกษาที่คัดเข้ามาทำการศึกษาจากเกณฑ์ที่ประยุกต์จาก National Heart, Lung and Blood Institute จากการศึกษาทั้งหมด 4,432 การศึกษา พบว่ามี 30 การศึกษาที่ถูกคัดเข้ามาทำการทบทวนวรรณกรรม ค่าอรรถประโยชน์ที่มีการรายงานได้มาจากใช้วิธีการทางตรง (Standard gamble; n = 3 การศึกษา และ Standard gamble, Time-trade off และ Visual analog scale; n = 1 การศึกษา), วิธีการวัดทางอ้อมโดยใช้แบบสอบถาม (n=14), ใช้ผสมทั้งวิธีการวัดทางตรงและอ้อม (n=3), ใช้วิธีการ mapping (n=3) นอกจากนี้มีการศึกษาที่ใช้วิธีการวัดทางอ้อมร่วมกับการอ้างอิงจากการศึกษาก่อนหน้า (n=3) และไม่ระบุวิธี (n=3) จากวิธีการวัดทางอ้อมพบว่าแบบสอบถามที่ใช้คือแบบสอบถาม EQ-5D (n=17) ซึ่งพบว่าแบบสอบถามเวอร์ชั่น EQ-5D-3L (n=13) เป็นแบบสอบถามที่ใช้มากที่สุดในการแปลงค่าอรรถประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการศึกษาใดรายงานคุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบสอบถามหรือเครื่องมือที่ใช้ในการแปลงค่าอรรถประโยชน์ การทบทวนวรรณกรรมนี้ได้มีการสร้างชุดของข้อมูลค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งแต่ละชนิดและในระยะต่างๆ ที่ได้มาจากการใช้เครื่องมือในการวัดค่าอรรถประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น วิธีการทางตรง (VAS, TTO, SG) และวิธีการทางอ้อม (EQ-5D) ซึ่งพบว่าค่าอรรถประโยชน์มีแนวโน้มที่ลดลงในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในระยะที่มีการลุกลาม (Stage III-IV) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะต้นๆ (Stage I-II) แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการรายงานค่าอรรถประโยชน์ที่เป็นผลมากจากการให้ยาเคมีบำบัดหรือการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบค่าอรรถประโยชน์ระหว่างการศึกษาได้ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาถึงความแตกต่างของค่าอรรถประโยชน์ที่ได้จากวิธีการวัดทางตรงและทางอ้อมในผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดและระยะต่างๆ นอกจากนี้หากต้องการแปลงค่าอรรถประโยชน์โดยใช้วิธีทางอ้อมควรมีการใช้แบบสอบถาม EQ-5D-5L ซึ่งใช้ Hybrid model ตามแนวทางการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพ--แง่เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectมะเร็ง--แง่เศรษฐกิจth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectมะเร็งth_TH
dc.subjectCancerth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการทบทวนวรรณกรรมค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeA literature review of health state utility values in Thai cancer patientsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeUtility value is an important outcome for cost-utility analysis (CUA). The EQ-5D is used to elicit the utility values for economic analyses recommended by the Thai health technology assessment guideline. Therefore, this literature review was to establish the dataset of utility values for Thai patients with liver, lung, colorectal, breast, cervical, ovarian and hematologic cancers in various stages in Thailand. This study reviewed all relevant studies by searching international databases such as PubMed and Scopus, and national databases including health intervention and technology assessment program (HITAP), health systems research institute (HSRI) and Thai LIS-Thailibrary integrated system (ThaiLIS) Study was included if 1) report utility values for Thai cancer patients and 2) identify the type of instruments used to elicit utility values. Moreover, quality scoring and assessment were performed for all included studies based on the adapted National Heart, Lung and Blood Institute guideline. Of total 4,432 studies identified, 30 studies were included for literature review. Utility values were elicited from direct methods (Standard gamble; n=3 and mixed direct methods: Standard gamble, Time-trade off and Visual analog scale; n=1), indirect methods (n=14), mixed direct and indirect methods (n=3), mapping techniques (n=3), indirect method and retrieved from published papers (n=3) and unidentified methods (n=3). Within indirect methods, the EQ-5D questionnaire (n=17) was used in which the EQ-5D-3L (n=13) was the most frequently used. However, none of the included studies reported the psychometric performance of the instruments used to elicit the utility values. This review establishes the dataset of utility values for Thai cancer patients with various stages. Both direct (SG, TTO and VAS) and indirect methods are used to elicit the utility values. The utility values decline in patients with metastatic stage (Stage IV) compared to the earlier-stage (Stage I-II). However, the utility values are mostly the result from chemotherapy or surgery for cancer treatment, so the utility values is directly uncomparable among the included studies. Therefore, further studies investigating the differences of utility values derived from direct and indirect methods among Thai patient cancers with various stages should be encouraged. Furthermore, the EQ-5D-5L with hybrid model should be used to elicit the utility values for economic analyses based on Thai health technology assessment guideline.th_TH
dc.identifier.callnoW74 ก275ก 2565th_TH
dc.identifier.contactno64-066
dc.subject.keywordCost Utility Analysisth_TH
dc.subject.keywordค่าอรรถประโยชน์th_TH
dc.subject.keywordUtility Valueth_TH
.custom.citationกฤตภาส กังวานรัตนกุล and Krittaphas Kangwanrattanakul. "การทบทวนวรรณกรรมค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5486">http://hdl.handle.net/11228/5486</a>.
.custom.total_download114
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year23

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2753.pdf
ขนาด: 792.5Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย