แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสังเคราะห์ข้อเสนอและออกแบบเชิงนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด

dc.contributor.authorธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชาth_TH
dc.contributor.authorTatchalerm Sudhipongprachath_TH
dc.contributor.authorวิทยา โชคเศรษฐกิจth_TH
dc.contributor.authorWittaya Choksettakijth_TH
dc.contributor.authorภัควัฒน์ ภูริพงศ์ธนวัตth_TH
dc.contributor.authorPakawat Phuripongthanawatth_TH
dc.contributor.authorอุกฤษณ์ กฤตยโสภณth_TH
dc.contributor.authorUkkrit Kittayasophonth_TH
dc.contributor.authorณฐนภ ศรัทธาธรรมth_TH
dc.contributor.authorNathanop Satthathamth_TH
dc.contributor.authorเยาววัลยา อ่อนโพธิ์ทองth_TH
dc.contributor.authorYaowawanya Onphothongth_TH
dc.date.accessioned2022-04-12T07:43:07Z
dc.date.available2022-04-12T07:43:07Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.isbn9789744499042
dc.identifier.otherhs2786
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5552
dc.description.abstractแม้ประเทศไทยจะประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาเป็นระยะเวลา 22 ปีแล้ว แต่รัฐบาลก็ยังประสบปัญหาความล่าช้าในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ อย่างไรก็ตาม แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ซึ่งออกตามมาตรา 32 และ 33 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในระยะสุดท้ายของแผน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว 2) เพื่อวิเคราะห์ฉากทัศน์อนาคตในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้แก่รัฐบาลและคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในการศึกษานี้ผสมผสานระหว่างวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลมากกว่า 1 แหล่งข้อมูล ได้แก่ การสำรวจความคิดเห็นประชาชนและบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและที่ยังไม่ได้รับการถ่ายโอน โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเอกสารทางราชการ ผลการศึกษาพบว่า แม้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีจำนวนน้อย แต่พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่านี้มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในด้านคุณภาพการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทำให้ผลลัพธ์สุขภาพประชากรขั้นกลาง (Intermediate Health Outcome) ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะของประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้วมีแนวโน้มที่ดี ในขณะที่ประชาชนก็มีความคิดเห็นในเชิงบวกต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ การธำรงรักษาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และความต่อเนื่องของเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ ผลการวิเคราะห์อนาคตฉากทัศน์ อนาคตสะท้อนให้เห็นว่า ความสำเร็จของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพและเสถียรภาพของระบบสุขภาพปฐมภูมิ คือความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่พี่เลี้ยงสนับสนุนและส่งเสริมด้านวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอเชิงนโยบายหลักจากการศึกษานี้ คือ 1) รัฐบาลควรเร่งรัดการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 2) จัดตั้งสภาสุขภาพประชาชนในระดับจังหวัด (คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่) หรือคณะกรรมการในระดับอำเภอหรือกลุ่มพื้นที่ และระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสุขภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 3) สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทการทำงานจริงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4) คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิควรเร่งรัดออกประกาศว่าด้วยค่าใช่จ่ายที่จำเป็นต่อการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการจัดสรรเงินสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่แยกออกจากการจัดบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิอย่างชัดเจนเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานระหว่างโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และองค์การบริหารส่วนจังหวัดควรเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลไกสภาสุขภาพประชาชนในระดับจังหวัด (คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่) ให้เป็นองค์กรกลางในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับระบบส่งต่อผู้ป่วย รวมทั้งเป็นองค์กรกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ และบูรณาการข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับกระทรวงสาธารณสุข และ 6) กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดแนวทางการประสานแผนพัฒนาสุขภาพหรือแผนพัฒนาสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลที่เปิดโอกาสให้เกิดการระดมทรัพยากร งบประมาณและบุคลากรในระดับชุมชนและระดับอำเภอ และควรสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำบริการสุขภาพปฐมภูมิร่วมกับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยใช้ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องการทำความตกลงร่วมมือจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Administrationth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectนโยบายth_TH
dc.subjectPolicyen_EN
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอและออกแบบเชิงนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativePolicy Analysis and Policy Design for the Transfer of Subdistrict Health Promotion Hospitals to Provincial Administrative Organizations (PAOs)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeDespite the adoption of the 1999 decentralization legislation, Thailand has made limited progress in devolving public service functions to local government. Primary care in particular remains largely centralized. However, upon the end of the current operational plan on decentralization, it is required that ownership and management of the subdistrict health promotion hospitals must be transferred to provincial administrative organizations. To help inform government officials and policymakers in Thailand on how to expedite the decentralization process and ensure the smooth transfer of the primary care services to local government authority, this research has three primary objectives. First, it seeks to analyze the management system and performance of subdistrict health promotion hospitals that have already been devolved to municipalities and subdistrict administrative organizations. Second, future scenarios for the transfer of primary care functions to provincial administrative organizations are formulated, using a double-variable scenario method. Third, based on findings from the first and second objectives, policy recommendations are presented. Qualitative and quantitative techniques were used to analyze data that were collected from multiple sources, including documentary review, a citizen perception survey, a survey of subdistrict health promotion hospital personnel, interviews with 27 key policymakers and subdistrict health promotion hospital directors, and focus group discussions with 58 officials from provincial administrative organizations and citizen representatives. In total, 6,304 citizens responded to the survey. Personnel from 70 subdistrict health promotion hospitals that have already been devolved to municipalities and subdistrict health promotion hospitals participated in the survey. This research finds that although small in number, the subdistrict health promotion hospitals that have successfully been transferred from the public health ministry to local administrative organizations have shown significant progress in primary care quality. Intermediate health outcomes—particularly citizens’ behavioral changes in physical activity and eating habit—in the decentralized areas continue to improve, while citizens harbor more positive attitudes towards the devolved subdistrict health promotion hospitals than those not devolved to local administrative organizations. However, there are mounting concerns among local government officials about personnel recruitment and retention, as well as continuity of the intergovernmental grants. Based on the future scenario analysis, a desirable scenario depicts a devolved primary care system in which the provincial administrative organizations have adequate management capacity, while the central government agencies proactively provide technical advice and effectively perform their regulatory function. The major policy recommendations for the relevant government agencies include: 1) accelerate the transfer of subdistrict health promotion hospitals to the provincial administrative organizations; 2) establish citizens’ consultative councils at the provincial, district, and hospital levels to facilitate citizen engagement in local health policy making; 3) develop explicit criteria for determining the amount of intergovernmental grants for the devolved primary care functions; 4) generate a list of essential primary care services and associated costs based on the Primary Care System Act of 2019 and collaborate with the National Health Security Office in reforming the health financing system by separating primary care from secondary and tertiary care; 5) strengthen citizens’ consultative councils and develop it into a central decision-making body charged with providing linkage and referrals between provincial administrative organizations and the public health ministry’s hospitals, preparing the provincial health strategy, and integrating different health databases and; 6) propose to the Ministry of Interior that it should enable the provincial administrative organizations, municipalities, and subdistrict administrative organizations to share resources, budget, and personnel in providing primary care services and financial assistance for the subdistrict health promotion hospitalsth_TH
dc.identifier.callnoWA546 ธ264ก 2564
dc.identifier.contactno64-030
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordProvincial Administrative Organizationsth_TH
dc.subject.keywordPAOsth_TH
.custom.citationธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, Tatchalerm Sudhipongpracha, วิทยา โชคเศรษฐกิจ, Wittaya Choksettakij, ภัควัฒน์ ภูริพงศ์ธนวัต, Pakawat Phuripongthanawat, อุกฤษณ์ กฤตยโสภณ, Ukkrit Kittayasophon, ณฐนภ ศรัทธาธรรม, Nathanop Satthatham, เยาววัลยา อ่อนโพธิ์ทอง and Yaowawanya Onphothong. "การสังเคราะห์ข้อเสนอและออกแบบเชิงนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5552">http://hdl.handle.net/11228/5552</a>.
.custom.total_download356
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month14
.custom.downloaded_this_year58
.custom.downloaded_fiscal_year95

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2786.pdf
ขนาด: 33.70Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย