แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิเคราะห์สถานการณ์กำลังคนด้านการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล

dc.contributor.authorสมหญิง พุ่มทองth_TH
dc.contributor.authorSomying Pumtongth_TH
dc.contributor.authorลือรัตน์ อนุรัตน์พานิชth_TH
dc.contributor.authorLuerat Anuratpanichth_TH
dc.contributor.authorวีรวัฒน์ มโนสุทธิth_TH
dc.contributor.authorWeerawat Manosuthith_TH
dc.contributor.authorนิธิมา สุ่มประดิษฐ์th_TH
dc.contributor.authorNithima Sumpraditth_TH
dc.contributor.authorวิศัลย์ มูลศาสตร์th_TH
dc.contributor.authorVisal Moolasartth_TH
dc.contributor.authorวราภรณ์ เทียนทองth_TH
dc.contributor.authorVaraporn Thienthongth_TH
dc.contributor.authorฐิติพงษ์ ยิ่งยงth_TH
dc.contributor.authorThitipong Yingyongth_TH
dc.contributor.authorวันทนา ปวีณกิตติพรth_TH
dc.contributor.authorWantana Paveenkittipornth_TH
dc.contributor.authorพิทักษ์ สันตนิรันดร์th_TH
dc.contributor.authorPitak Santanirandth_TH
dc.contributor.authorสุกัญญา นำสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorSukanya Numsawadth_TH
dc.date.accessioned2022-07-26T02:57:09Z
dc.date.available2022-07-26T02:57:09Z
dc.date.issued2565-03
dc.identifier.otherhs2792
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5683
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์กำลังคนด้านการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในและต่างประเทศ ศึกษาอุปสงค์และอุปทานของกำลังคนด้านการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และคาดการณ์กำลังคนการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบผสมผสานทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณ คือ การสำรวจแบบภาคตัดขวางและงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญและการศึกษาดูงานการจัดการ AMR ในโรงพยาบาล รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมเพื่อให้ได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ การสำรวจใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับทั้งหมด 1,267 คน แยกเป็น แพทย์ 240 คน เภสัชกร 249 คน พยาบาล 306 คน นักเทคนิคการแพทย์/นักจุลชีววิทยา 259 คน และนักระบาดวิทยา 213 คน ส่วนการสัมภาษณ์ มีผู้ให้ข้อมูล รวม 20 คน จากโรงพยาบาลภาครัฐ 16 แห่ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ (8 แห่ง) โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ (6 แห่ง) และโรงเรียนแพทย์ (1 แห่ง) ผู้ให้ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เป็นแพทย์ 4 คน เภสัชกร 5 คน พยาบาล 4 คน นักเทคนิคแพทย์ 2 คน และนักระบาดวิทยา 5 คน ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการประชุมผู้เชี่ยวชาญ (Expert meeting) จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน 2564 สำหรับภาคการผลิตมีการสำรวจข้อมูลจากสถาบันการศึกษาและองค์กรวิชาชีพต่างๆ และสัมภาษณ์นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากสภาวิชาชีพ สมาคม/ชมรมด้านโรคติดเชื้อ กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ จำนวนทั้งหมด 17 คน แบ่งเป็นวิชาชีพแพทย์ 9 คน ซึ่งในจำนวนนี้มี 3 คน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา เภสัชกร 3 คน พยาบาล 3 คน และนักเทคนิคการแพทย์ 2 คน ผลจากการสำรวจจากแบบสอบถาม จากบุคลากรทางการแพทย์ 5 กลุ่ม คือ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์/นักจุลชีวิทยา และนักระบาดวิทยา จำนวน 1,267 คน เกือบทั้งหมดมีบทบาทในคณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อหรือคณะกรรมการการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล ซึ่งโครงสร้างของคณะกรรมการ/คณะทำงานในโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีชื่อเรียกที่ต่างกัน ส่วนใหญ่ผู้ให้ข้อมูลวิชาชีพแพทย์จะมีบทบาทเป็นประธานหรือรองประธาน และพยาบาลจะเป็นเลขาหรือผู้ช่วยเลขาฯ ของคณะกรรมการ ในขณะที่อีก 3 กลุ่มที่เหลือมีบทบาทเป็นกรรมการ ซึ่งโดยภาพรวมมีการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ครอบคลุม งานเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาล แต่ละวิชาชีพมีการเน้นการทำงานแต่ละด้านที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาจากการสำรวจและสัมภาษณ์มีความสอดคล้องกัน ผลจากแบบสอบถาม พบว่า บุคลากรทางการแพทย์เห็นความสำคัญของการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance : AMR) และรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จะทำงานนี้ ส่วนใหญ่มีเจตคติเชิงบวกต่อการทำงาน แต่ในด้านความพึงพอใจต่อปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานนั้น พบว่า ทุกกลุ่มวิชาชีพนั้น คะแนนความพึงพอใจในด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานทั้งในโรงพยาบาลและกับทีมสหวิชาชีพที่ทำงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาล (Infection Prevention Control: IPC, IC)/AMR ด้วยกัน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปัจจัยอื่นๆ ในขณะที่ด้านความก้าวหน้าในงาน/วิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และกลุ่มพยาบาลมีค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 4 กลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ที่พบว่า ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งคือ ความก้าวหน้าในสายงาน รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เช่น ค่าตอบแทน การลาศึกษาต่อ จึงไม่จูงใจให้บุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งทำงานด้านนี้หรืออาจจะต้องโยกย้ายงานเพื่อความก้าวหน้าในสายงานหรือวิชาชีพ สำหรับการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลด้านการผลิตบุคลากรทางการแพทย์นั้น พบว่าปัญหาและอุปสรรคในการผลิตบุคลากรด้านนี้หลายประการ ได้แก่ มีผู้สนใจเรียนต่อด้านนี้ลดลงเมื่อเทียบกับสาขาเฉพาะทางอื่นๆ และสำหรับผู้ที่สนใจก็ไม่ได้รับการสนับสนุนการศึกษาต่อ/เพิ่มเติมจากหัวหน้างานหรือต้นสังกัดเนื่องจากขาดคนทำงานในโรงพยาบาล ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ที่ชัดเจนรองรับหลังเรียนจบ อีกทั้งสถาบันการศึกษา/ฝึกอบรมที่มีข้อจำกัดด้านจำนวนรับผู้สนใจศึกษาต่อ เนื่องจากมีแหล่งฝึกงานที่มีคุณภาพไม่เพียงพอ ทำให้จำนวนบุคลากรเฉพาะทางมีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม จากการมีแผนยุทธศาสตร์เชื้อดื้อยาฯ ทำให้มีการจัดอบรมระยะสั้น 4 เดือน ทำให้มีการฝึกอบรม เพิ่มพูนความรู้และทักษะเพื่อทำงานด้าน IC/AMR ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นทางแก้ไขปัญหาการขาดบุคลากรได้ในระดับหนึ่ง จากการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนทั้ง 5 วิชาชีพ คือ แพทย์โรคติดเชื้อ เภสัชกรคลินิกด้านโรคติดเชื้อ พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา (ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ นักจุลชีววิทยา) และนักระบาดวิทยาในโรงพยาบาลนั้น ซึ่งใช้หลายวิธีร่วมกัน คือ การคำนวณอัตรากำลัง (Full-time equivalent: FTE) การคำนวณจากจำนวนเตียงและจำนวนโรงพยาบาลในประเทศไทย เพื่อใช้ในการคาดการณ์ ซึ่งแต่ละวิขาชีพมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงใช้หลักการคำนวณที่แตกต่างกัน การคำนวณอัตรากำลัง โดยใช้ FTE จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการคาดการณ์จำนวนในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (ไม่นับรวมโรงพยาบาลชุมชนระดับ F1-F3) พบว่า แพทย์มีความต้องการอัตรากำลังเพื่อทำงานด้าน AMR โดยเฉพาะในโรงพยาบาลระดับ M1 จำนวน 12 คน, S จำนวน 15 คน และ A 14 คน และโรงเรียนแพทย์ 27 คน แต่ถ้าพิจารณาจากจำนวนโรงพยาบาล โดยใช้แนวคิดว่าควรมีแพทย์ที่รับผิดชอบด้านการจัดการเชื้อดื้อยาโดยเฉพาะในโรงพยาบาลทุกแห่ง ดังนั้น ควรมีทั้งหมด 294 คน ส่วนเภสัชกรมีแนวคิดเช่นเดียวกับแพทย์ คือ ต้องการจำนวน 1 คน เพื่อรับผิดชอบงานด้าน AMR ในโรงพยาบาลทุกระดับ (ที่เตียงมากกว่า 120 เตียงขึ้นไป) นั่นคือ 294 คน เช่นกัน ความต้องการอัตรากำลังพยาบาลโรคติดเชื้อ (ICN) เพื่อทำงานด้าน IC/AMR โดยเฉพาะ พิจารณาจากจำนวนเตียง ควรมี ICN จำนวนทั้งหมด 728 คน ในขณะที่นักเทคนิคการแพทย์ ต้องการเพิ่มอีก 1 คน หรือจำนวนทั้งหมด 294–357 คน เมื่อพิจารณาจากจำนวนโรงพยาบาลและจำนวนเตียง เพื่อไปเสริมการทำงานด้าน AMR ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นร่วมกับจำนวนนักเทคนิคการแพทย์และนักจุลชีววิทยาที่มีอยู่เดิม (ลักษณะ on top) ส่วนนักระบาดวิทยาอาจจะยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังคนแต่ควรเพิ่มพูนความรู้และทักษะในกลุ่มนักระบาดวิทยาที่ปฏิบัติงานอยู่เดิมให้มีความสามารถในการทำงานด้าน AMR ร่วมกับทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข, องค์การอนามัยโลก, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAntibioticsth_TH
dc.subjectDrug Resistanceth_TH
dc.subjectการดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectโรงพยาบาล--การบริหารth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์กำลังคนด้านการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลth_TH
dc.title.alternativeSituation Analysis on Human Resources for Antimicrobial Resistance in Hospitalsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการแผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและองค์การอนามัยโลกด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ (Royal Thai Government and WHO Country Cooperation Strategy Program on AMR (CCS-AMR))th_TH
dc.identifier.callnoW76 ส255ก 2565
dc.identifier.contactno63-148
dc.subject.keywordHealthcare Workersth_TH
dc.subject.keywordAntimicrobial Resistanceth_TH
dc.subject.keywordAMRth_TH
dc.subject.keywordIntegrated AMR Managementth_TH
dc.subject.keywordIAMth_TH
.custom.citationสมหญิง พุ่มทอง, Somying Pumtong, ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช, Luerat Anuratpanich, วีรวัฒน์ มโนสุทธิ, Weerawat Manosuthi, นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, Nithima Sumpradit, วิศัลย์ มูลศาสตร์, Visal Moolasart, วราภรณ์ เทียนทอง, Varaporn Thienthong, ฐิติพงษ์ ยิ่งยง, Thitipong Yingyong, วันทนา ปวีณกิตติพร, Wantana Paveenkittiporn, พิทักษ์ สันตนิรันดร์, Pitak Santanirand, สุกัญญา นำสวัสดิ์ and Sukanya Numsawad. "การวิเคราะห์สถานการณ์กำลังคนด้านการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5683">http://hdl.handle.net/11228/5683</a>.
.custom.total_download81
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year24

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2792.pdf
ขนาด: 3.008Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย