แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาวะของครอบครัวเปราะบางในสังคมไทย

dc.contributor.authorลือชัย ศรีเงินยวงth_TH
dc.contributor.authorLuechai Sri-ngernyuangth_TH
dc.contributor.authorสายสุดา วงษ์จินดาth_TH
dc.contributor.authorSaisuda Vongjindath_TH
dc.date.accessioned2022-08-05T06:34:39Z
dc.date.available2022-08-05T06:34:39Z
dc.date.issued2565-07
dc.identifier.otherhs2844
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5696
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของครอบครัวไทยจากอดีตถึงปัจจุบันและศึกษานโยบาย มาตรการ กลไกและรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว เสนอรูปแบบพัฒนางานวิจัยสร้างคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทของสังคมไทยเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาวะของครอบครัวเปราะบางในสังคมไทย โดยใช้วิธีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ และทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มเป้าหมายหรือครอบครัวไม่มีความพร้อม ทั้งความไม่พร้อมที่จะเป็นครอบครัวและความไม่พร้อมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอายุ หรือมีความเกี่ยวข้องน้อย เพราะจากประสบการณ์มีทั้งเด็กยังเรียนไม่จบและท้อง ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งก็คือกลุ่มที่เลยช่วงวัยรุ่นไปแล้ว แต่ไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ความเป็นครอบครัว 2) การไม่รู้ว่าครอบครัวคืออะไร การดำเนินชีวิตครอบครัว การทำหน้าที่ การทำให้ครอบครัวเป็นครอบครัวที่เข้มแข็งมั่นคงต้องทำอย่างไร 3) กลุ่มคนทำงาน ไม่มีกลไก ไม่มีเครื่องมือ ไม่มีวิธีการ ไม่มีแหล่งสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมว่าทิศทางที่จะเดินจะปรับร่วมกันเป็นอย่างไร ต่างคนต่างทำ มีเป้าหมายขององค์กรตัวเอง ทำไปโดยความคิดเห็น 4) การไม่เห็นว่าเรื่องครอบครอบครัวควรเป็นปลายทางของการพัฒนา ไม่ควรเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งในแผนพัฒนาหรือระดับนโยบายยังไม่เห็นคำว่าครอบครัวชัดเจน การจะทำให้ชัดเจนคือทำอย่างไรให้เป็นวาระแห่งชาติ และ 5) ไม่มีการประสาน เมื่อมีนโยบายไม่ชัดเจนทำให้องค์กรต่างๆ ทำงานไม่ประสานกันและมองไม่เห็นว่าอะไรคือแกนกลางที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน การวิจัยนี้ มีบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือ 1) วิกฤติครอบครัวจำเป็นต้องหาทางออกด้วยการทำงานในระดับฐานคิด กระบวนทัศน์ โดยมองให้เห็นว่า วิกฤติครอบครัวคือ วิกฤติเชิงระบบที่มีตัวกำหนดในหลายระดับและหลายมิติเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน วิกฤติครอบครัวเป็นภาพสะท้อนของแนวคิดการพัฒนากระแสหลักที่เน้นการเติบโตทางวัตถุที่ใช้การพังทลายของครอบครัวเป็นต้นทุนมาตลอด ร่วมกับการเสื่อมทำลายของชุมชน สิ่งแวดล้อม ศาสนา จริยธรรม เป็นการพัฒนาที่ทำให้ฐานคือ จิตใจ ครอบครัว และชุมชนเสื่อมทำลาย ด้วยการผลักดันให้เกิดการวิ่งออกไปข้างนอก พึ่งพิง แข่งขัน เน้นวัตถุ/เงิน มาตลอด การพัฒนาที่ผ่านมาอยู่ในทิศทางที่ไม่ได้เอาความผาสุกมั่นคงของเด็กและครอบครัวเป็นเป้าหมาย แต่ถูกใช้เป็นต้นทุน/ปัจจัยการผลิตของ “การพัฒนาประเทศ” และ 2) การแก้วิกฤติครอบครัวจำเป็นต้องมองเห็นว่า ครอบครัวคือต้นทุน/ฐานของอนาคตที่จะนำมาซึ่งความผาสุกอย่างยั่งยืนของสังคม ชุมชนและประเทศ สุขภาวะของครอบครัวเป็นผลรวมของเหตุปัจจัยมากมาย นโยบายทุกๆ นโยบายของรัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม แรงงาน ฯลฯ จำเป็นต้องมีสุขภาวะของครอบครัวและเด็กเป็นเป้าหมาย โดยถือเอาสิ่งนี้เป็นวาระแห่งชาติอย่างแท้จริงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectครอบครัวth_TH
dc.subjectFamilyth_TH
dc.subjectFamiliesth_TH
dc.subjectFamily Healthth_TH
dc.subjectFamily--Health and Hygieneth_TH
dc.subjectครอบครัว--การจัดการth_TH
dc.subjectครอบครัว--การดูแลth_TH
dc.subjectครอบครัว--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectครอบครัว--แง่สังคมth_TH
dc.subjectFamilies--Social Aspectsth_TH
dc.subjectVulnerable Populationsth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Systemsth_TH
dc.subjectSocial Movementsth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Systemsth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาวะของครอบครัวเปราะบางในสังคมไทยth_TH
dc.title.alternativeSocial Movements Towards Healthy Life of Vulnerable Families in Thai Societyth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study families in Thai society from the historic to the modern period and take a look at policies, measures, mechanisms, and methods to strengthen the foundation of families and presents possible means to improve the healthy life of vulnerable families in Thai society through public debates with related parties and experts and revision of relevant documents. The research shows that 1) The vulnerable families, or the target group, are unprepared for the collective lifestyle as a family and other factors unrelated to age as individuals, regardless of their age, could face difficulties in having a family, 2) The target group lacks comprehension on a concept of family and how to conform with such kind of relationships and do not realize own’s duties to bring the family together as a whole, 3) People in charge lacks supportive system, tools, or methods to help them set goals or adapt to work together; each section works separately toward their specific goals without communication or cooperation, 4) The importance of family is neglected causing the family to be excluded from any development plans or national policies, 5) Without coordination, the gap of interpretations on ambiguous policies leads to unorganized work and demotivates unity. This research summarizes and presents the following policy proposals; 1) Family crisis can be solved with logic and vision expansive enough to help recognize family crisis as a systematic crisis caused by multiple factors and dimensions with complexity. It is the reflection on the mainstream development which emphasizes materialization exchanged with family failures, social regression, and moral decline. It is the development that destroys the mind, family, and society as it drives people to go out into fierce competition for materials and money. Resources are spent on “country development” while they should be used to expand the prosperity of children and families., 2) To solve the family crisis, it is essential to see the importance of families as a foundation of future sustainability and security of the society and the country. The health of families fluctuates with each and every government policy, especially economic, academic, social, and labor policies. Therefore, we should recognize the healthy life of families and children as an ultimate goal of the nation.th_TH
dc.identifier.callnoHB886 ล517ก 2565
dc.identifier.contactno63-036
dc.subject.keywordประชากรชายขอบth_TH
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเฉพาะth_TH
dc.subject.keywordประชากรกลุ่มเปราะบางth_TH
dc.subject.keywordครอบครัวเปราะบางth_TH
dc.subject.keywordVulnerable Familiesth_TH
dc.subject.keywordการเคลื่อนไหวทางสังคมth_TH
dc.subject.keywordการขับเคลื่อนทางสังคมth_TH
.custom.citationลือชัย ศรีเงินยวง, Luechai Sri-ngernyuang, สายสุดา วงษ์จินดา and Saisuda Vongjinda. "การวิจัยเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาวะของครอบครัวเปราะบางในสังคมไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5696">http://hdl.handle.net/11228/5696</a>.
.custom.total_download65
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year10

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2844.pdf
ขนาด: 1.378Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย