Show simple item record

Performance of Acronym of Warning Symptoms in Predicting the Diagnosis of Acute Coronary Syndrome and Effectiveness of Acronym on Knowledge and Clinical Outcome

dc.contributor.authorธารีรัตน์ อนันต์ชัยทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorThareerat Ananchaisarpth_TH
dc.contributor.authorอรรถโกวิท สัตยรักษาth_TH
dc.contributor.authorAttakowit Sattayaraksath_TH
dc.contributor.authorพลเทพ วิจิตรคุณากรth_TH
dc.contributor.authorPolathep Vichitkunakornth_TH
dc.contributor.authorพลาย ชี้เจริญth_TH
dc.contributor.authorPly Chichareonth_TH
dc.contributor.authorศิริวิมล ตันตรัตนพงษ์th_TH
dc.contributor.authorSiriwimon Tantarattanapongth_TH
dc.date.accessioned2024-06-19T07:35:01Z
dc.date.available2024-06-19T07:35:01Z
dc.date.issued2567-04
dc.identifier.otherhs3116
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6090
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวย่อช่วยจำอาการเตือนของภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน พร้อมทดสอบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของตัวย่อช่วยจำทางคลินิก โดยเปรียบเทียบสัดส่วนของอาสาสมัครที่สามารถระบุอาการเตือนของภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันและการปฏิบัติตัวโดยเรียกรถพยาบาลมาโรงพยาบาลได้ถูกต้อง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับ “การให้ความรู้แบบใหม่ โดยใช้ตัวย่อช่วยจำ” กับกลุ่มที่ได้รับ “วิธีการให้ความรู้แบบเดิมผ่านใบปลิว” วิธีการศึกษา : การศึกษาระยะที่ 1 ทำการพัฒนาเครื่องมือตัวย่อช่วยจำจากการศึกษาแบบย้อนหลังในเวชระเบียนในอาสาสมัครที่มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งด้วยอาการที่สงสัยภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน จากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพ ในการศึกษาระยะที่ 2 โดยการศึกษาแบบทดลองเปรียบเทียบกับวิธีการให้ความรู้แบบเดิม ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ผลการศึกษา : ตัวย่อช่วยจำที่สร้างและมีคุณสมบัติที่ดีที่สุด คือ "RUSH ChesT" (แปลว่า ถ้าคุณมีอาการ referred pain (R), unexplained sweating (U), shortness of breath (S) หรือ heart fluttering (H) ร่วมกับอาการ chest pain คุณควรรีบไปโรงพยาบาลทันที Timely (T)) มีค่าอัตราต่อรองในการวินิจฉัย = 7.81 (5.93–10.44) และความไว = 0.81 (0.77–0.85) ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนานาชาติ และมีการแปลเป็นภาษาไทยว่า “ใจเจ็บ สั่นใจ ร้าวแถวไหล่ เหงื่อไหล หายใจเหนื่อย คุณควรรีบไปโรงพยาบาลทันที” ซึ่งได้นำไปทดสอบประสิทธิภาพเทียบกับวิธีการให้ความรู้แบบเดิมโดยใช้ใบปลิว พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการทันทีและเมื่อติดตาม 6 เดือน อาสาสมัครมีคะแนนเฉลี่ยความรู้อาการเตือนภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันเพิ่มขึ้น และมีค่ามัธยฐานของแผนระยะเวลาก่อนมาโรงพยาบาลหลังจากเริ่มมีอาการเตือนลดลงเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับความรู้แบบเก่าและกลุ่มที่ได้รับความรู้แบบใหม่ สำหรับแผนวิธีการเดินทางมาโรงพยาบาลเมื่อเกิดอาการเตือนของภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน พบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับความรู้ผ่านตัวย่อมีสัดส่วนของคนที่วางแผนจะมาโรงพยาบาลด้วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency medical services, EMS) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้แบบเก่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในช่วงหลังจากได้รับความรู้ทันทีและเมื่อติดตามไป 6 เดือน สรุป : คุณสมบัติในการวินิจฉัยของเครื่องตัวย่อช่วยจำที่สร้างขึ้นอยู่ในเกณฑ์ดี แต่การนำมาทดสอบประสิทธิภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันพบว่า การให้ความรู้แบบใหม่โดยใช้ตัวย่อช่วยจำช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้ว่าเมื่อเกิดอาการเตือนของภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันควรมาโรงพยาบาลโดยเรียกรถพยาบาลได้ดีกว่า แต่ไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยจดจำอาการเตือนของโรคได้ดีกว่าวิธีการให้ความรู้แบบเดิมผ่านใบปลิว และการได้รับความรู้ทั้งสองแบบทำให้ผู้ป่วยตระหนักว่าต้องรีบมาโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ : เพื่อทำให้ผลการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันดีขึ้น ควรหาวิธีให้ความรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจดจำอาการเตือนของภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันดีขึ้น เช่น การสร้างตัวย่อช่วยจำที่จดจำได้ง่ายth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCardiovascular Diseasesth_TH
dc.subjectโรคหัวใจและหลอดเลือดth_TH
dc.subjectCoronary Diseaseth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดหัวใจth_TH
dc.subjectAcute Coronary Syndrometh_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleความสามารถของตัวย่อของอาการเตือนในการทำนายการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันและประสิทธิภาพของการให้ความรู้เรื่องอาการเตือนผ่านตัวย่อต่อระดับความรู้และผลลัพธ์ทางคลินิกth_TH
dc.title.alternativePerformance of Acronym of Warning Symptoms in Predicting the Diagnosis of Acute Coronary Syndrome and Effectiveness of Acronym on Knowledge and Clinical Outcometh_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjective: To create a mnemonic for acute coronary syndrome (ACS) warning symptoms and determine its diagnostic performance and effectiveness by comparing the proportion of participants correctly identifying warning symptoms of ACS and providing the correct planned response by utilizing emergency medical services (EMS) between the intervention group (who received education through an acronym) and the control group (who received education via conventional leaflets). Methods: The first phase of the study involves developing a mnemonic for recognizing warning symptoms of ACS through a retrospective cross-sectional analysis of patients presenting with suspected ACS symptoms in the emergency room of a university hospital. The efficacy of this mnemonic will then be evaluated in the second phase through a cluster randomized control trial involving individuals residing in Hat Yai who are at high risk of ACS. Results: The mnemonic with the highest diagnostic accuracy, "RUSH ChesT" (representing referred pain (R), unexplained sweating (U), shortness of breath (S), and heart fluttering (H) alongside chest pain (C), prompting timely (T) hospital visits), demonstrated a diagnostic odds ratio of 7.81 (5.93–10.44) and a sensitivity of 0.81 (0.77–0.85). Subsequently, it was accepted for publication in an international journal and translated into Thai. This version was then tested for efficacy compared to conventional health education via leaflets. The results revealed a significant increase in average knowledge scores regarding ACS warning symptoms post-test, with a concurrent decrease in median planned prehospital time following suspected ACS symptoms compared to pre-testing. However, when comparing the two intervention groups, there was no significant difference in increased average knowledge scores or decreased planned prehospital time between the control and intervention groups. In terms of transportation planning upon suspected ACS symptoms, participants in the intervention group notably favored using EMS, showing a significantly higher proportion compared to the control group, both immediately and during the six-month follow-up period. Conclusion: The diagnostic accuracy of the mnemonic created is quite impressive. When evaluating its efficacy in a high-risk population for ACS, the new educational method utilizing mnemonics proves more effective than conventional education via leaflet in prompting patients to contact EMS upon experiencing ACS warning symptoms. However, this method doesn't aid patients in recalling the warning symptoms, and both method equivocal in recognizing the need for immediate hospitalization. Suggestion: To further improve treatment outcomes for ACS, when providing health education to patients the additional measures should be implemented to help patients better remember warning symptoms of ACS, such as creating acronym that are easy to remember.th_TH
dc.identifier.contactno66-004
dc.identifier.contactnoWL355 ธ527ค 2567
dc.subject.keywordAcute Coronary Syndrome, ACSth_TH
dc.subject.keywordโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันth_TH
dc.subject.keywordตัวย่อช่วยจำth_TH
.custom.citationธารีรัตน์ อนันต์ชัยทรัพย์, Thareerat Ananchaisarp, อรรถโกวิท สัตยรักษา, Attakowit Sattayaraksa, พลเทพ วิจิตรคุณากร, Polathep Vichitkunakorn, พลาย ชี้เจริญ, Ply Chichareon, ศิริวิมล ตันตรัตนพงษ์ and Siriwimon Tantarattanapong. "ความสามารถของตัวย่อของอาการเตือนในการทำนายการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันและประสิทธิภาพของการให้ความรู้เรื่องอาการเตือนผ่านตัวย่อต่อระดับความรู้และผลลัพธ์ทางคลินิก." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6090">http://hdl.handle.net/11228/6090</a>.
.custom.total_download2
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs3116.pdf
Size: 1.084Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record