Show simple item record

การทดลองใช้และประเมินผลตัวชี้วัดสำหรับงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาล

dc.contributor.authorภูรี อนันตโชติen_US
dc.contributor.authorจิราภรณ์ อุษณกรกุลen_US
dc.contributor.authorเสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์en_US
dc.contributor.authorอินทิรา กาญจนพิบูลย์en_US
dc.contributor.authorทวีพงษ์ อารียโสภณen_US
dc.contributor.authorสุธีรา เตชคุณวุฒิen_US
dc.contributor.authorชมภูนุช สุคนธวารีen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2008-11-05T07:39:44Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:45:13Z
dc.date.available2008-11-05T07:39:44Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:45:13Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.otherhs1406en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/643en_US
dc.description.abstractตัวชี้วัดจัดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการจัดระบบสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นระดับจุลภาคหรือในระดับมหภาค ซึ่งระบบสารสนเทศตัวชี้วัดดังกล่าวต้องมีความเป็นไปได้ในภาคปฏิบัติ มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากปัญหาการขาดตัวชี้วัดระบบยาที่เป็นมาตรฐานในระดับชาติและความแตกต่างของตัวชี้วัดที่พบในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ก่อให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดและระบบการจัดการข้อมูลสำหรับงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ได้สนับสนุนศูนย์สารสนเทศและวิจัยระบบยา (ศสวย.) ในการดำเนินโครงการพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบให้กับโรงยาบาลทั่วประเทศ โดยในเบื้องต้นมีการกำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน (Performance Indicator) สำหรับระบบยาในโรงพยาบาลขึ้นมา 6 ด้าน ซึ่งจำเป็นต้องผ่านการทดลองใช้ เพื่อประเมินความตรง (Validity) ความน่าเชื่อถือ (reliability) และความเป็นไปได้ (feasibility) อันเป็นคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดีก่อนนำไปเผยแพร่ให้สถานพยาบาลนำไปใช้อย่ากว้างขวาง ศสวย. เริ่มดำเนินโครงการทดลองฯ โดยจัดประชุมเครือข่ายเพื่อชี้แจ้งโครงการและนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเบื้องต้นจากโรงพยาบาลซึ่งเป็นผู้นำตัวชี้วัดไปใช้มาปรับรายละเอียดตัวชี้วัดและแบบบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจในตัวชี้วัดให้ตรงกัน จากนั้นโรงพยาบาลทดลองเก็บข้อมูล 3 เดือน และประเมินผลโครงการร่วมกับโรงพยาบาลอื่นที่สนใจ จากผลการดำเนินโครงการทดลองใช้ตัวชี้วัดผ่านโรงพยาบาลเครือข่ายหลัก 13 แห่ง ร่วมกับการประเมินผลเกี่ยวกับร่างตัวชี้วัดและแบบบันทึกข้อมูลโดยโรงพยาบาลเครือข่ายรองที่มีส่วนร่วมในโครงการผ่านเว็บไซต์ของ ศสวย. พบว่า ส่วนใหญ่สามารถเก็บตัวชี้วัดได้และเห็นว่าข้อมูลมีประโยชน์ มีเพียงตัวชี้วัดบางตัวที่โรงพยาบาลที่ยังไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เนื่องจากไม่มีกิจกรรมในระบบ ไม่มีระบบเก็บข้อมูล ไม่มีผู้รายงานหรือไม่สามารถดึงข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลส่วนใหญ่เห็นว่า การมีตัวชี้วัดและแบบบันทึกข้อมูลที่เป็นมาตรฐานนั้นเป็นประโยชน์อย่างมากในการเก็บข้อมูล แม้ว่ามีบางโรงพยาบาลเห็นว่า นิยามหรือวิธีการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดบางตัวยังไม่ชัดเจนหรือแบบบันทึกข้อมูลใช้เก็บข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนตามต้องการ นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังมีความต้องการให้มีการพัฒนาตัวชี้วัดด้านอื่นๆ เพิ่มเติม รวมทั้งมีความสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาตัวชี้วัดในระยะต่อไป ซึ่งจากผลการทดลองใช้และประเมินผลตัวชี้วัดดังกล่าวข้างต้น เครือข่ายได้ทำการปรับรายละเอียดตัวชี้วัดและพัฒนาแบบบันทึกข้อมูล รวมทั้งสรุปตัวชี้วัดผลการปฏิบัติการ 6 ด้าน (18 ตัวชี้วัดย่อย) ประกอบด้วย 1) ระยะเวลารอรับยาเฉลี่ยผู้ป่วยนอก (มี 2 ตัวชี้วัดย่อย) 2) อัตราคลาดเคลื่อนทางยา (มี 12 ตัวชี้วัดย่อย) 3) ร้อยละของผู้ป่วยนอกที่พบประวัติอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่ร้ายแรง 4) จำนวนครั้งการเกิดแพ้ยา 5) จำนวนเดือนสำรองคลัง 6) จำนวนรายการยาขาด ทั้งนี้ ศสวย. และเครือข่ายวางแผนการดำเนินงานขั้นต่อไป โดยเผยแพร่ตัวชี้วัดให้มีการใช้ในวงกว้างและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกลไกลต่างๆ ดังนี้ 1. การเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การอบรม สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซด์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรง ซึ่งหากมีการสื่อสารเพื่อให้ทางโรงพยาบาลเข้าใจตรงกันและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลที่มีบริการใกล้เคียงกัน จะส่งผลให้โรงพยาบาลเรียนรู้วิธีการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโรงพยาบาลอื่น แล้วนำมาปรับระบบของตนเองให้สามารถเก็บข้อมูลได้เช่นกัน รวมทั้งเรียนรู้การพัฒนาแนวทางการพัฒนางานซึ่งกันและกัน เพื่อให้ผลการปฏิบัติดียิ่งขึ้น ตลอดจนก่อให้เกิดการปรับปรุงมาตรฐานตัวชี้วัดและแบบบันทึกได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลที่แตกต่างกัน 2. ร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้มีการนำตัวชี้วัดไปปฏิบัติจริง เช่น สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล นอกจากนี้ ศสวย. ยังมีแผนในการพัฒนากลไกสนับสนุนและจัดการข้อมูลตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่องโดย 1) พัฒนาโปรแกรมเก็บข้อมูลและรายงานผลตัวชี้วัดการปฏิบัติการ เพื่อให้สถานพยาบาลใช้เป็นข้อมูลพัฒนาภายในเกิดสารสนเทศระดับจุลภาค 2) พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศตัวชี้วัดระบบยา เพื่อเป็นศูนย์ประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัด ให้เกิดสารสนเทศป้อนกลับสู่สถานพยาบาลและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในกระบวนการตัดสินใจ เกิดสารสนเทศระดับมหภาค ส่งผลพัฒนามาตรฐานระดับประเทศen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพบริการen_US
dc.subjectโรงพยาบาล--ระบบการจ่ายยาen_US
dc.subjectการจ่ายยา--การประกันคุณภาพen_US
dc.subjectQuality of Health Careen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการทดลองใช้และประเมินผลตัวชี้วัดสำหรับงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาลth_TH
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWX179 ภ683ก 2550en_US
dc.identifier.contactno49ข008en_US
dc.subject.keywordตัวชี้วัดระบบยาth_TH
dc.subject.keywordตัวชี้วัดth_TH
.custom.citationภูรี อนันตโชติ, จิราภรณ์ อุษณกรกุล, เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์, อินทิรา กาญจนพิบูลย์, ทวีพงษ์ อารียโสภณ, สุธีรา เตชคุณวุฒิ and ชมภูนุช สุคนธวารี. "การทดลองใช้และประเมินผลตัวชี้วัดสำหรับงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาล." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/643">http://hdl.handle.net/11228/643</a>.
.custom.total_download252
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year16
.custom.downloaded_fiscal_year27

Fulltext
Icon
Name: hs1406.pdf
Size: 2.505Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record