บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยการศึกษาประสบการณ์ชีวิต กระบวนการและกลไกทางสังคมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนโดยชุมชน ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี ในระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยเข้าไปอาศัยอยู่ใน 2 หมู่บ้าน ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเวลา 3 เดือน จากการศึกษาชุมชนโดยใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยา ผลการศึกษาพบว่าผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชนมีปัญหาและการแก้ปัญหาแตกต่างกันไปตามระดับความพิการของร่างกายที่ปรากฏ ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชน ตลอดจนระดับการพัฒนาทางจิตใจ อารมณ์ ของผู้ประสบปัญหา ความรังเกียจของชุมชนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ความเป็นเพื่อน และสถานภาพทางสังคมหรือเศรษฐกิจ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนมีความปรารถนาเหมือนกัน คือ ให้ชุมชนทราบว่าเขาหายจากโรคนี้แล้ว และปฏิบัติต่อเขาเหมือนคนพิการประเภทอื่นๆ จากการศึกษาในระยะแรกยังพบว่า ในชุมชนมีผู้พิการอื่นๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งสมควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเช่นกัน ในระยะที่สอง เป็นการพัฒนารูปแบบของการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้จัดให้มีการสนทนากลุ่มย่อยแก่ผู้ที่สนใจเรื่องผู้พิการในชุมชนหลายครั้ง ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเรื้อนที่ถูกต้อง และสามารถกระตุ้นให้ผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน ผู้พิการ/ครอบครัว ผู้นำชุมชน และอาสาสมัคร ได้รับทราบปัญหาของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน และผู้พิการในชุมชน ร่วมกันวางแผนหาแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหาขึ้น และจัดกระบวนการเรียนรู้แก่ชุมชน ในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ชุมชนจึงได้จัดตั้งกลุ่มพัฒนาผู้พิการขึ้นทั้ง 2 หมู่บ้าน และเกิดกิจกรรมหลายอย่างตามมา เช่น การสำรวจผู้พิการในชุมชน การนำผู้พิการไปตรวจที่โรงพยาบาล การจดทะเบียนผู้พิการ การตั้งกองทุนช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้พิการ การจัดตั้งร้านค้าชุมชนที่มีผู้พิการช่วยขาย และสร้างศูนย์พัฒนาผู้พิการในหมู่บ้าน เป็นต้น โดยสรุป รูปแบบในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชนเริ่มปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนเพื่อที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนเช่นเดียวกับผู้พิการประเภทอื่นๆ และให้โอกาสแก่ผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน ผู้พิการ และครอบครัวของผู้พิการ ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน จนสามารถจัดกิจกรรมแก่ผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนควบคู่ไปกับผู้พิการอื่นๆ ในการดำเนินงานต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และสร้างทักษะในการพึ่งตนเองของผู้พิการ โดยต้องอาศัยความเข้มแข็งขององค์กร การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของผู้พิการ
บทคัดย่อ
Development of Model on Community Based Rehabilitationand Quality of Life Improvement for Persons Affected with Leprosy The objective of this study is to develop appropriate model for community based rehabilitation (CBR) and to improve the quality of life of persons affected with leprosy (PALs) through the study of their life experiences, problem solving and social processes as well as mechanism that affects their lives. The research was divided into 2 phases which took altogether two years to complete. The first phase focused on qualitative research using Anthropological tools to collect related information in two villages in Tambol Taladsai, Chumpuang District of Nakornratchasima Province. The researchers were assigned to live in two villages for three months to learn life experiences of target population and their communities. Overall findings of the first phase of the study revealed somewhat mild problems of PALs. In comparision with other disables, PALs at different levels of disability appearance, economic and social status, community cultures, including level of emotional and psychological development encountered varying levels of problems and solutions. Social prejudice varied according to their relationships with relatives and friends as well as social and economic status. Deformities of leprosy were factors that affected and changed their life style. Their common wishes were to seek better understanding from their communities that they were completely cured and that they should have been accepted and treated like other disables. Early findings also found that within the communities there were other disables that should have been helped and socially rehabilitated. The second phase focused on the development of the CBR model. In the beginning the researchers arranged several focus group discussions for people who were interested in and wanted to help solve these problems. The researchers provided appropriate knowledge on leprosy for interested parties as well as arranged appropriate learning process for the communities. Within a period of six months, key resource persons who had faced and understood these problems planned to find joint solutions under the support of related organizations. Finally, each village formed a development group for disables by conducting activities such as surveying disables, bringing them to hospital for rehabilitation, registering disables, raising funds, and organizing stores that disables worked as shop-keepers. Both villages created disability development centers which still remain function. In conclusion, model of community based rehabilitation for PALs started to be concrete through the learning process of the whole communities. The communities started to have some concerns and gave more opportunities to PALs and other disables. To reach the solution, attitudes and skills of the disables needed to be changed towards self-reliance. Learning process and participation of the whole community i.e. PALs, disables, families and community leaders are the key factors towards the success of community based rehabilitation. To sustain the disables’ capabilities and groups development, empowerment and support from the government and non-governmental organizations together with community paticipation have to be forth coming on a continuous basis.