บทคัดย่อ
การศึกษาระบาดวิทยาและพฤติกรรมการป้องกันรักษาไข้มาลาเรียของแรงงานต่างชาติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราป่วย อัตราการเป็นพาหะ และพฤติกรรมการป้องกันรักษาไข้มาลาเรียของคนไทยและแรงงานต่างชาติ วิธีการศึกษา ใช้การศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative study) และการศึกษาเชิงคุณภาพ ในพื้นที่จังหวัดระนอง (อำเภอละอุ่น และ อำเภอกระบุรี) โดยแบ่งประชากรศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนไทย (มีที่พักอาศัยห่างจากบ้านแรงงานต่างชาติไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร) , กลุ่มคนไทยอยู่ร่วมกับแรงงานต่างชาติ (มีที่พักอาศัยในรัศมี 500 เมตร จากที่พักของแรงงานต่างชาติ) และกลุ่มแรงงานต่างชาติ ทำการสุ่มแบบไม่จำเพาะเจาะจง กลุ่มละ 200 ราย รวมทั้งสิ้น 600 ราย เก็บข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ ผลการชันสูตรโรคและการเสวนากลุ่ม (Focus group discussion) ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 600 ราย อายุเฉลี่ย 37.30 12.84 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 60.3 ร้อยละ40.0 ทำงานในสวนยางพารา ร้อยละ 36.2 และ 13.7 ทำงานในสวนกาแฟและสวนผลไม้ ตามลำดับ ผลการชันสูตรโรคพบเชื้อมาลาเรีย จำนวน 15 ราย คือ กลุ่มคนไทย 2 ราย, กลุ่มคนไทยอยู่ร่วมแรงงานต่างชาติ 5 ราย และกลุ่มแรงงานต่างชาติ 8 ราย อัตราตรวจพบเชื้อมาลาเรีย ในกลุ่มคนไทย คนไทยร่วมและกลุ่มแรงงานต่างชาติมีอัตรา เป็น 1.0 2.5 และ 4.0 ตามลำดับ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) กลุ่มแรงงานต่างชาติเป็นพาหนะนำโรค ในอัตรา 3.5 ส่วนกลุ่มคนไทยและกลุ่มคนไทยอยู่ร่วมแรงงานต่างชาติไม่พบพาหะนำโรค ด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองคนไทยมีพฤติกรรมการป้องกันยุงกัดแตกต่างจากกลุ่มแรงงานต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คนไทยมีพฤติกรรมการรักษาเมื่อป่วยด้วยไข้มาลาเรียถูกต้องมากกว่ากลุ่มแรงงานต่างชาติและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P.< 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่ไม่ป้องกันตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดไข้มาลาเรียเป็น 3.97 เท่าของผู้ที่มีการป้องกัน (C.I 0.12-125.40) กลุ่มที่มีอายุมากกว่า 45 ปี มีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่อายุน้อยกว่าเป็น 2.24 เท่า (C.I 0.14-35.80) ผู้ที่มีเชื้อชาติอื่นมีความเสี่ยงต่อการเป็นไข้มาลาเรียเป็น 4.18 เท่าของผู้ที่มีเชื้อชาติไทย (C.I 0.08-197.43) และในด้านอาชีพพบว่า ผู้ที่ทำงานในสวนผลไม้มีความเสี่ยงต่อการเป็นไข้มาลาเรียเป็น 2.04 เท่าของกลุ่มที่ทำงานในสวนยางพารา (C.I 0.11-39.44)
บทคัดย่อ
Epidemiology and Health Behavior on Malaria of Foreign Labour in High risk Area, Ranong Province At the borderland ,a lot of foreigner migrated to work in illegal in frontier country. and they have a poor health.. The most common of the endemic problem in the boarder of Thailand is Malaria and it make a problem to Thais people who live at the boarder of Thailand. This study aimed to compare 1) malaria sick rate 2) rate of malaria carrier 3) health behavior in prevention and curative . The multiple stage stratified method was used to select a representative sample and divided in 3 groups and 200 subjects in each group.: Thais , Thais who habit closed to the foreign labor and pure foreign labor in Kra buri and la-oon district , Ranong Province . Data was collected by interview and focus group discussion. The results were: 60.3 % were male , 40 % worked in a rubber farm, 36.2 % in coffee farm and also 13.7 % in the fruit farm and average age was 3730 years (sd.12.84), 15% of subject got Malaria ,who 2 of 15 were Thais and 5 from 15 were Thais who habit closed to the foreign labor and also 8 of 15 were foreign labor. Comparison of sick rate in 3 groups is not significantly different . Rate of carrier in the foreign labor was 3.5 .Health behavior in prevention and curative were significant different. In addition ,the person who were not good in preventive behavior more risky ( OR = 3.97 C.I. 0.12 – 12540) .the foreign labor were more risky than Thais ( OR = 4.18 , C.I. 0.08-197.43) , age group upper than 45 were more risky than the lower ( OR 2.24 ,C.I. 0.08 –197.43) and area of worked in fruit farm was more risky (OR 2.04 C.I. 0.11 – 39.44)