• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินผลแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2549)

สมบัติ เหสกุล; Sombat Hasakul; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; Health Systems Research Institute;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
ที่ผ่านมาประเทศไทยได้จัดทําแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติแล้ว จํานวน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540-2544) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2549) เป้าประสงค์ของแผนแม่บทฯ ทั้ง 2 ฉบับ คือ การบูรณาการการทํางานร่วมกันของหลายฝ่ายบนเป้าหมายการทํางานเดียวกัน แผนแม่บทฯ ฉบับที่ 1 เน้นการรวบรวมเอาแผนงานและโครงการของหน่วยงานต่างๆ เข้ามาผูกโยงเป็นแนวทางเดียวกันและประสบความสําเร็จในการสร้างเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานที่ทํางานด้านเคมีวัตถุ ส่วนแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 เน้นการทํางานเชิงบูรณาการแบบมีเจ้าภาพตามยุทธศาสตร์และกําหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่กําหนดไว้ ความสําเร็จของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 จะพบว่า การดําเนินงานประจําของแต่ละหน่วยงานสามารถดําเนินการได้ผลงานมากขึ้น แต่ยังดําเนินงานไม่ได้ตามเป้าหมายที่กําหนด บทเรียนสําคัญของแผนแม่บทฯ ทั้งสองฉบับ คือ การประสานงานเชิงโครงสร้างราชการยังไม่สามารถทําให้แผนงานและโครงการต่างๆ ดําเนินการได้ตามที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ความสำเร็จของการดำเนินการปรากฏในรูปของการประสานงานและความร่วมมือเชิงผลงานของหน่วยงานหลายฝ่าย โดยเฉพาะภาคราชการ ส่วนภาคเอกชนมีความก้าวหน้าในการจัดการองค์กรไปมากกว่าแผนแม่บทฯ ที่กำหนดไว้ ในส่วนภาคประชาสังคมยังเข้ามามีส่วนน้อยมากกับการเคลื่อนกระบวนการการจัดการเคมีวัตถุ (หรือสารเคมี) ความเข้มแข็งและตื่นตัวจะเกิดขึ้นกับการจัดการสารเคมีภาคการเกษตรมากกว่าภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคสินค้า อย่างก็ตาม การดำเนินการภายใต้กระบวนการเชิงนโยบายโดยภาพรวมยังมีความไม่สมบูรณ์ในเชิงกลไกของการบริหารจัดการ การประสานงานโดยรวม และการดำเนินการให้ได้ตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้ตามแผนแม่บทฯ ทั้งฉบับที่ 1 และ 2 ดังนั้น อาจจะสรุปได้ว่า การกําหนดนโยบายและแผนงานที่ดีและครอบคลุมประเด็นต่างๆ ทั้งหมด อาจจะไม่ได้ทําให้การดําเนินงานประสบความสําเร็จ และอาจจะนําไปสู่ช่องโหว่การดําเนินการได้ การกําหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่จะสนับสนุนกระบวนการพื้นฐานการตัดสินใจทางนโยบายและแผนอาจจะเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดความสําเร็จโดยภาพรวม
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1281.pdf
ขนาด: 1.035Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 76
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2486]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV