• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลกระทบของการออกนอกระบบราชการไปอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐต่อการจัดบริการทางสุขภาพภายในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (โครงการที่ 3) ปีที่ 2-3

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์; Jiruth Sriratanaban; สุกัลยา คงสวัสดิ์; ภรณี เหล่าอิทธิ; Sukalaya Khongsawad; Porranee Laoitti;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
โครงการการศึกษาผลกระทบของการออกนอกระบบราชการไปอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐต่อการจัดบริการทางสุขภาพภายในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (โครงการที่ 3) ในปีที่ 2–3 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามศึกษาผลกระทบของการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่มีวัตถุประสงค์ส่วนที่ 1 เพื่อประเมินผลกระทบของการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้วต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของการดูแลรักษา โดยการทบทวนเวชระเบียนเปรียบเทียบกระบวนการและผลลัพธ์ของการดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วง 1 ปีก่อนการออกนอกระบบและช่วง 1 ปีภายหลังการออกนอกระบบ ในกลุ่มผู้ป่วย 5 โรค กลุ่มผู้ป่วยนอก ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและวัณโรค กลุ่มผู้ป่วยใน ได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สำหรับวัตถุประสงค์ส่วนที่ 2 เพื่อพัฒนาเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานเชิงระบบของโรงพยาบาลในกำกับของรัฐในด้านต่างๆ ตลอดจนประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้วในประเด็นที่สามารถดำเนินการได้ด้วยชุดเครื่องชี้วัดดังกล่าว โดยศึกษาในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว และโรงพยาบาลชุมชนที่ยินดีให้ความร่วมมืออีก 2 แห่ง ผลการศึกษาส่วนที่ 1 พบว่า มีความแตกต่างบางประเด็นในกระบวนการและผลลัพธ์ของการดูแลรักษาผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคดังกล่าว โดยมีทั้งความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นและด้อยลง ผลการศึกษาส่วนที่ 2 สรุปผลได้ว่า ชุดเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานเพื่อติดตามประเมินผลการออกนอกระบบเป็นองค์การมหาชนของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว โดยอาศัยแนวคิดของการปฏิรูประบบสุขภาพ แบ่งได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับองค์กรและระดับอำเภอ ในมิติผลการปฏิบัติงาน 7 ด้าน รวมเครื่องชี้วัด 67 ตัว

บทคัดย่อ
The study of impact of the autonomization of a public hospital on health services (The third section) Year 2 – 3 is a section of the study series of the Health Systems Research Institute to evaluate the impact of the autonomization of Banpaew Hospital (Public organization). The first-part objective is to assess the impact of the autonomization of Banpaew Hospital on quality of health services by medical record review, comparing processes and outcomes of care during the one-year period before the autonomization—the “before” period—and the year after the autonomization—the “after” period—in five disease groups. The outpatient setting includes diabetes mellitus (DM), hypertension (HT) and tuberculosis (TB). The inpatient setting includes appendicitis (AP) and acute myocardial infarction (AMI). The second-part objective is to develop a set of system performance indicators of an autonomous hospital, and to try to evaluate the performance of Banpaew Hospital using the indicator set, by studying in Banpaew and two other community hospitals. The findings in the first part of the study are mixed. There are certain differences in processes and outcomes of care in the five diseases between the before and the after period in both directions—better and worse results. In the DM group, there is a tendency for better process of care, whereas patients during the after period show a slight increase in short-term complication. However, the changes are not statistically significant (p’s >0.05). In the HT group, there is significant reduction in completeness of physical examination records while there are more information on recommended laboratory investigations (p’s <0.01). In the TB group, there are evidences of deterioration in recording processes of care and outcome of treatment (p’s <0.05). In the appendicitis group, there is a slight reduction in completeness of progress notes, but there is no change in outcomes. In the AMI group, there is no overall difference in processes and outcome of care. In the second part of the study, we identify the indicator set for monitoring the autonomous hospital with respect to the conceptual framework of health care reform to have two levels—the organizational and the district levels—and consists of 67 indicators in seven dimensions
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1205.pdf
ขนาด: 1.736Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 87
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV