• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสังเคราะห์องค์ความรู้และกลไกการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชนภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมภาคกลาง

สุธีรา ฮุ่นตระกูล; Sutheera Huntrakul; เพ็ญศรี กวีวงศ์ประเสริฐ;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ และบทเรียนจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัย การปฏิบัติงานขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ตลอดจนการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมภาคสนามโดย ผู้วิจัย ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน โดยครอบครัวและชุมชนในภาคกลาง มีน้อยมาก อีกทั้งยังขาดการศึกษาที่เจาะลึกถึงความต้องการของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว รวมทั้งชุมชน ในด้านความรู้ข้อมูลข่าวสาร วิธีการดูแลและปฏิบัติตนที่ปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข การดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน โดยครอบครัวและชุมชนในภาคกลาง พบว่ามีการดูแลที่บ้านเป็นรูปแบบหลัก การดูแลโดยโรงพยาบาลของรัฐ และสถานพยาบาลรูปแบบอื่น จะเป็นที่พึ่งพิงในระยะวิกฤตหรือระยะสุดท้ายที่เกินกำลังของครอบครัวจะดูแลได้ ส่วนการดูแลโดยองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ หรือ ชมรม/กลุ่มผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (Self - Help Group) เป็นที่ต้องการและพอใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการคลี่คลายของการยอมรับและปฏิกิริยาของสังคมเชิงลบต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ของชุมชนในภาคกลางที่ต่างจากภาคเหนืออย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้เพราะว่าวัฒนธรรมชุมชนภาคกลางเป็นวัฒนธรรมแบบทุนนิยมที่เน้นความเป็นปัจเจกชน ปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเอง พร้อมกับจำกัดขอบเขตของเครือข่ายทางสังคมด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชนในภาคกลาง คือ 1) ฟื้นฟูสาระวัฒนธรรมไทยที่ดีงามร่วมกับการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน ด้วยแนวคิดที่ว่า “ต้องหยุด เอดส์ด้วยการดูแลผู้ป่วยเอดส์” 2) พัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อสนับสนุนผู้ป่วย HIV/AIDS ให้สามารถเข้าถึงแหล่งบริการสุขภาพที่มีคุณภาพดีขึ้น ตลอดจน สวัสดิการสังคม จากทั้งภาครัฐและเอกชน 3) ปฏิรูปและพัฒนา บริการการให้คำปรึกษา ,การให้สุขศึกษารายบุคคล และสาธารณะโดยผ่านสื่อมวลชน ทั้งในส่วนของเนื้อหาสาระและเทคนิควิธีการ เพื่อให้สามารถเผยแพร่ข่าวสารใหม่ๆ เกี่ยวกับ AIDS และช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วย HIV/AIDS กับครอบครัวและ ชุมชน 4) กำแพงค่านิยมที่รังเกียจเอดส์ของชุมชนควรสลายลงด้วยการรณรงค์ระดับชาติที่ว่า “อยู่ร่วมกับเอดส์ได้ ชุมชน/สังคมจึงอยู่รอด” เพื่อสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อ HIV/ผู้ป่วยเอดส์ มีชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 5) เสริมสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือระหว่างภาคีทุกฝ่ายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสุขภาพโดยรวม

บทคัดย่อ
This study reviews a variety of documents and lessons on home/community care (HCC) for AIDS in the central region of Thailand, including research , thesis , NGO’s annual reports, discussions with NGOs delegates, and case studies from fieldwork observation as well as home visits. Compared to the northern region of the country, studies on HCC for AIDS in the central region are rather few. Despite of this limitation, a number of studies figures out the same problem that many HIV/AIDS patients are confronting with : community’s rejection and negative attitude towards people living with AIDS (PWA) . Besides, many patients and family care-providers still do not have adequate knowledge and skills in self care or caring the patients at home. However, rarely few studies have deeply gone into details about the needs of these PWA, such as up-date health information about treatments and practical caring techniques for daily fife in the household setting. The present study concludes that in the central region, most HIV/AIDS patients are normally cared for at home by their family numbers. Hospitalization is only for those in critical or terminal stage. Buddhist temples, Christian’s charity homes and NGO’s emergency or temporary shelters are alternatives for most poor or abandoned ones. For PWA, self-help groups organized by public hospitals’ or NGOs’ staff are crucially needed and helpful. Home visits performed by these staff are also appreciated. These are the only two successful models of community care in the socio – cultural context of the central region. Some regional strategies are suggested for HHC development: 1). The restoration of the humane traditional Thai cultural-traits together with the acculturation of caring culture and practice in the family and community in order to promote and support HCC by “to stop AIDS by caring people with AIDS”. 2). The empowerment of community organizations, self-help groups, voluntary groups to support PWA to get access to better health care services as will as social welfare from both public and private sectors 3). Reformation and development of AIDS counselling service, inter-personal health education and public health education through the mass media, both in the content and technical aspects in order to transfer modest health information on AIDS and to bridge up good relations between PWA and their families/ communities. 4). The prejudice wall against PWA should be dissolved through the new nation-wide campaign, ”Living with AIDS is the way to save our families/communities and society” in order to support PWA to live with dignity as human-beings. And 5). The strengthening of collaboration among all HCC stakeholders (PWA, family ,community, NGOs and Gos) in order to improve the efficiency of the whole health care system.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0824.pdf
ขนาด: 1.140Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 84
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV