บทคัดย่อ
พฤติกรรมปวดเมื่อยและแนวทางการแก้ปัญหาในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:ศึกษาเปรียบเทียบในชุมชน 2 หมู่บ้าน การศึกษาพฤติกรรมปวดเมื่อยในประชาชนชนบท 2 หมู่บ้าน ซึ่งมีอายุ ( 15 ปี โดยความสมัครใจ ในเขตอำเภอน้ำพอง จ. ขอนแก่น คือบ้านท่ามะเดื่อ (N = 101) และบ้านท่าโพธิ์ (N = 100) ซึ่งมีลักษณะของพื้นที่และการประกอบอาชีพที่คล้ายคลึงกัน พบว่า พฤติกรรมปวดเมื่อยส่วนใหญ่จะเป็นมานานกว่า 3 เดือน (ร้อยละ 79.2 และ 86.0) โดยมีอาการเป็นๆ หายๆ (ร้อยละ 65.3 และ82.0) วิธีการบำบัดรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยบ้านท่าโพธิ์ จะมีการปล่อยให้หายเอง (ร้อยละ 27.0) รักษาบ้าง ปล่อยให้หายเองบ้าง (ร้อยละ 57.0) สูงกว่าบ้านท่ามะเดื่อ (ร้อยละ 20.8 และ 37.6) จำนวนผู้ที่ปวดเมื่อยใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาของบ้านท่าโพธิ์สูงกว่าบ้านท่ามะเดื่อ และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) บริเวณที่ถูกระบุว่ามีอาการปวดเมื่อยมากที่สุด คือ เอว (ร้อยละ 57.5 และ 30.0) และจะมีอาการปวดมากกว่า 1 ตำแหน่ง (ร้อยละ 41.5 และ 68.0) สิ่งที่มากระตุ้นให้ปวดเพิ่มขึ้นคือ การเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยส่วนใหญ่รู้สึกว่าอาการปวดเมื่อยเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน (ร้อยละ 71.2 และ 78.0) การศึกษานี้ได้วัดความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตน โดยเลือกประชากรตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง 175 คน ที่ท่ามะเดื่อ และ 165 คน ของท่าโพธิ์ ข้อความที่ถูกคัดเลือก 12 ข้อความ มีค่าอัลฟา 0.5426 ในกลุ่มทดสอบ 53 คน ผลการศึกษาทั้ง 2 หมู่บ้านมีความเชื่ออำนาจภายในตนทั้งด้านการป้องกันดูแลสุขภาพทั่วไปและความเชื่อในการบำบัดรักษาอาการปวดเมื่อยสูง ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ระหว่าง 2 หมู่บ้าน แต่ค่าความเชื่ออำนาจภายนอกสูงเมื่อเกิดปัญหาเจ็บป่วยขึ้นแล้ว โดยเชื่ออำนาจจากผู้อื่น (หมอ) มากกว่า ผลดังกล่าวนำมาพิจารณาสร้างรูปแบบโดยเลือกกระบวนการฝึกอบรมด้วยการให้ความรู้ที่เข้าใจง่ายและฝึกปฏิบัติเองได้แก่ชุมชน โดยมีทั้งความรู้เรื่องโรค ยา และการนวดไทย โดยมีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่ผ่านการ อบรมแล้วเป็นผู้ติดตามและเสริมความรู้อย่างต่อเนื่อง หลังการอบรม 6 เดือน เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยการรวมกลุ่ม และให้บริการนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยในหนึ่งหมู่บ้าน อีก 1 หมู่บ้านอยู่ในขั้นเตรียมการ แต่มีการให้บริการการนวดทั้งในและนอกชุมชน ทั้ง 2 หมู่บ้านมีกลุ่มออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การสื่อสารข้อมูลเรื่องปวดเมื่อยทำอย่างสม่ำเสมอระหว่างเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยตำบลและประชาชน องค์ความรู้ที่ชัดเจนเป็นปัจจุบัน และปฏิบัติได้มีความจำเป็นที่จะต้องถ่ายทอดให้กับบุคลากร สาธารณสุขในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง บุคลากรในพื้นที่มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาปวดเมื่อยของประชาชน ด้วยการสื่อสารและให้ความรู้แก่ชุมชน วิธีการแก้ปัญหาปวดเมื่อยนั้นประชาชนมีศักยภาพที่จะดำเนินการด้วยตนเอง
บทคัดย่อ
The Musculoskeletal Pain Behaviours and a Model for Solving the Problem in the Community: Study in 2 Villages, Northeast ThailandThe study aimed to investigate the behavior of the people who got experienced from musculoskeletal pain (puad - muay) in 2 villages (Ta Poo and Ta Ma-daur), NE Thailand. The study group was 15 years and over and voluntarily interviewed by structured questionnaires to compare between 2 villages (N=101 and N=100). The study found that most of the respondents perceived musculoskeletal pain as recurrent, work ralated and work problems (71.2 and 78.0 percent). Waist was the highest percentage in both area. Occasionally treatment and no treatment in Ta Poo 57.0 and 27.0) was higher than Ta Ma-daur (37.0 and 20.8) which were significant differences (p <0.05). The locus of control of general health and musculoskeletal pain was assessed using a forced 6 point scale with a conbach' s alpha coefficient 0.5426 in the pilot study. The samples were selected by systemetic sampling (N=175 in Ta Poo and N=165 in Ta Ma-duar). The result showed that in both villages the respondents was internal control for health prevention but external control if they were already sicked. The external control referred to others (doctors). The control of the beliefs for musculoskeletal pain was internal in both villages. The motivational orientations by health team were designed through educational programme for the health officers and the people. Thai massage practicing and exercising was includes in this programme. 6 months after training programmes, the massage and self-help groups were collaborated in one village. The other village was developing in the preparatory step. The were regular meetings between the health officers and the health volunteer to communicate about musculoskeletal pain issues. The conclusion was that the people in both villages had the capability to solve musculoskeletal pain by themselves if they got the reliable information and was motivated by the knowledge health officers.