บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นสองระยะคือ ระยะที่หนึ่ง ทำการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของผู้ป่วยในกรุงเทพมหานคร เพื่อหาขอบเขตของพื้นที่การให้บริการ (catchment area) ของการบริการสาธารณสุขด่านแรกของสถานพยาบาลและสร้างแบบจะลองจากฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อค้นหาพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับบริการสาธารณสุขด่านแรก ส่วนเป้าหมายของการวิจัยในระยะที่สอง ได้แก่ การทดลองสร้างแบบจำลอง โครงข่ายการให้บริการสาธารณสุขขั้นมูลฐานแก่ประชาชนตามโครงการสาธารณสุขถ้วนหน้าของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 โดยใช้ฐานข้อมูลจาก GIS ที่ได้ทำไว้ในระยะที่หนึ่ง เพื่อทดสอบการวางแผนการ assign ประชากรไปยังสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด และโครงข่ายการส่งต่อคนไข้ (referral) ของสถานพยาบาลในระดับต่างๆ พื้นฐานทฤษฎีการวิจัยนี้ได้มาจากแนวคิดของทฤษฎีแหล่งกลางของ Christaller ที่มุ่งอธิบายพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อการกระจายตัวของแหล่งจำหน่ายสินค้า โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานปัจจัยของระยะการเดินทาง ประเภทของสินค้าที่จำหน่าย และที่ตั้งของแหล่งสินค้า เมื่อนำทฤษฏีดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการเดินทางไปพบแพทย์สามารถอุปนัยได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการมีดังนี้ ก.) ลำดับศักดิ์ของโรงพยาบาล ได้แก่ ขนาดโรงพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ/เอกชน ความเชี่ยวชาญเฉพาะโรค ข.) คุณลักษณะเฉพาะของผู้ป่วย อันได้แก่ เพศ รายได้ อาชีพ สถานภาพการเบิกค่ารักษา การประกันสุขภาพ และความคุ้นเคยกับแพทย์ ค.) ลักษณะการป่วย ได้แก่ การป่วยฉับพลัน การป่วยเรื้อรัง อุบัติเหตุ การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากสองแหล่งคือ การสุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่เดินทางไปพบแพทย์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเลือกสถานพยาบาล และข้อมูลทุติยภูมิเพื่อหาที่ตั้งของสถานพยาบาลและความหนาแน่นของประชากรเชิงพื้นที่ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4,464 รายใน 13 เขตการปกครองทั้งโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน ศูนย์บริการทางสาธารณสุข และคลินิคเอกชน สามารถสรุปอนุมานถึงเป็นตัวแทนของคนไข้ในด้านพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกสถานพยาบาลภายใต้ข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลบางประการดังนี้ ด้านลำดับศักดิ์ของโรงพยาบาล คุณลักษณะเฉพาะของผู้ป่วย ลักษณะการป่วย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเดินทางไปยังสถานพยาบาลในที่สุด กล่าวคือ ผู้ป่วยที่มีรายได้ต่ำและข้าราชการที่มีสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมักไม่มีทางเลือกและจำเป็นต้องเดินทางไกลกว่าเพื่อไปทำการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ ส่วนผู้มีรายได้สูงมักเลือกความสะดวกและเดินทางสั้นกว่าเพื่อรักษาในสถานพยาบาลเอกชนในท้องถิ่น กลุ่มอายุซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดความพึ่งพาก็มีส่วนกำหนดระยะการเดินทางเพื่อพบแพทย์ กลุ่มผู้มีอายุน้อย (0-19ปี) มักเดินทางใกล้ กลุ่มผู้ไม่พึ่งพา (20-60 ปี) เดินทางระยะปานกลาง และกลุ่มผู้สูงอายุมักเดินทางไกลที่สุดอาจด้วยสาเหตุจากโรคเรื้อรังและความคุ้นเคยต่อแพทย์ ด้านลักษณะการป่วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง มักเดินทางไกลกว่าเนื่องจากอาการเจ็บป่วยไม่เร่งด่วนและมักมีแพทย์ประจำตัว ส่วนผู้ที่เป็นโรคฉับพลันมักเลือกเดินทางใกล้ที่สุดเพื่อให้ถึงแพทย์ด้วยระยะเวลาที่สั้นที่สุด ผู้ที่ป่วยจากอุบัติเหตุมักถ่วงดุลระหว่างความเร่งด่วนและความเชี่ยวชาญจึงยอมเดินทางไกลกว่าผู้ป่วยฉับพลันเล็กน้อย จากปัจจัยด้านพฤติกรรมการเดินทางของผู้ป่วยทำให้สามารถสร้างแบบจำลองการเดินทางของผู้ป่วยและ catchment area ของพื้นที่บริการของสถานพยาบาลแต่ละประเภท ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน สถานบริการสาธารณสุข และคลินิกเอกชน ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ด้วยการสร้าง buffer ออกจากรัศมีการบริการของสถานพยาบาลแต่ละประเภทเพื่อทำนายพื้นที่ที่ขาดการให้บริการและพื้นที่ที่ให้บริการเกินความจำเป็นได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถสร้างแบบจำลองสำหรับการให้บริการจำแนกเป็นอาการป่วย เช่น ฉับพลัน อุบัติเหตุ หรือ เรื้อรัง ที่พฤติกรรมการเดินทางต่างรูปแบบเพื่อหาพื้นที่ที่ขาดการบริการ และสามารถหาพื้นที่บริการของสถานพยาบาลโดยจำแนกตามรายได้ กลุ่มอายุ และสถานภาพการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อีกด้วย การวิจัยในระยะที่สองได้ทดลองนำเข้าข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิของกรุงเทพมหานครโดยใช้แผนที่ base map ของบางกอกไกด์ เพื่อดูการกระจายตัวและภาระของสถานพยาบาลเปรียบเทียบกับความระดับหนาแน่นของประชากร เพื่อเป็นต้นแบบของการวางแผนในโครงการสาธารณสุขถ้วนหน้าตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อเสริมพื้นที่ที่สถานพยาบาลในปัจจุบันยังขาดแคลนอยู่ และ assign ประชาชนจากชุมชนให้เดินทางสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นได้สู่สถานพยาบาลที่ตนสังกัด และเนื่องจากการตัดสินใจในการเดินทางและการเลือกบริการได้รับการกำหนดล่วงหน้าโดยระบบการให้บริการ จึงขาดการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างระดับของการรักษาและความเฉพาะโรค ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบการส่งต่อคนไข้ (referral) เพื่อเอื้อให้คนไข้ที่พ้นขีดความสามารถของสถานพยาบาลท้องถิ่นสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉพาะโรคได้ การวิจัยนี้จึงได้ทดสอบการใช้ GIS และฐานข้อมูลที่ได้ดังกล่าว สร้างแบบจำลองโครงข่ายการส่งต่อคนไข้ในกรณีต้องการรักษาดังกล่าว เพื่อเสนอแนะวิธีการวางแผนระบบ referral ที่ใช้ระยะการเดินทางที่สั้นที่สุดเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนไข้ การวิจัยนี้เป็นการนำทฤษฏีของ Christaller มาประยุกต์ใช้กับระบบสาธารณสุขเพื่อการวางแผนและประสบการณ์การทดสอบการใช้ GIS ในการสร้างแบบจำลองดังกล่าวคาดว่าสามารถเป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์และการวางแผนเชิงพื้นที่ต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ
Geographic Information SystemThe problems of primary health care shortages in Bangkok and its vicinity has been intensified due to the explosion of population, resulting from rural urban migration. The concentration of medical facilities within Bangkok’s CBD further complicates the patients’ traveling problems. Such dilemmas could be solved by careful spatial planning of primary health care service facilities. Patients’ pattern of travelling to health care facilities depends primarily on the decision making process, by which the patient choose his/her primary health care service. This research comprises two phases. The first phase aims to elucidate the factors affecting the patients’ choice towards the type of facilities, to model the spatial pattern of the patients’ travelling behavior from the collected data, and to reach the service catchment areas for each type of primary health care facilities, using Geographic Information System (GIS). The second phase of this study attempts to experiment, using GIS and the data obtained from phase I of this study, the modeling of spatial pattern of primary health care, in accordance with the current government’s “equal access to primary health care” program. The model is bound to be utilized as a tool to assign patients to their nearest respective facilities and to build a patient referral network. The study is based on Walter Christaller’s Central Place Theory, which attempts to explain the consumer’s purchasing behavior vis-à-vis the spatial pattern of retail facilities. The theory looks at three primary factors—distance of retail facilities from consumer’s home, range of goods (the center’s hierarchy), and the spatial location of facilities. Applying Christaller’s theory to health facility consuming behavior, this research assumes three primary variables affecting the travelling pattern of patients. First, the range of treatment in a particular facility, which comprises two indicators: public/private run hospital, hospital size, and its specialization of treatment. The second factor has been the patients’ attributes, which indicators are sex, income level, occupation, state of being able to be reimbursed, state of being insured, and the acquaintance to the medical personals. The final factor has been the types of sickness, which can be categorized as acute sickness, chronic sickness, and accident. This research integrates the primary and secondary data, by which the GIS model is achieved to explain the patients’ travelling pattern. Structured questionnaires is utilized to obtain the primary data while locational data from the Bangkok Metropolitan Administration is used to identify the spatial location of each health care facility. The questionnaire survey based on a random sampling of 4464 patients from private and public hospital, health care centers, and medical clinics, which are drawn form 13 districts in Bangkok. The result is used to represent the patients’ decision making pattern toward the choosing of primary health care. Factors such as range of treatment, patients’ attributes, and types of sicknesses are found significantly related to each other, and therefore, determining the pattern of journey to health facilities. Low income patients and civil servants, who cannot afford to pay and who are able to be reimbursed, have the constraints to use only government run facilities, and therefore, must travel longer distance to get there. Higher income patients have the choice to travel shorter distance to private run facilities in their local areas. Age also found significantly related to travelling distance due to the factor of dependency and acquaintance to medical personals. The younger cohort (0-19 years of age) travels the shortest distance, while the independent group (20-60 years of age) travels a little longer than the first group. Elderly patients travel the longest distance due to the need of specialized care and the acquaintance to medical personals. In terms of sickness types, chronic patients travel the longest distance in viewing that they are in no hurry and are already assigned a medical doctor. Acute patients travel the shortest distance due to urgency, while accident patients must balance between short distance and reliable medical care, and therefore, travel a little longer than the second group. From the above finding, the research then models the patients’ travelling pattern by means of GIS buffering, to obtain the catchment areas of public / private hospitals, health care centers, and medical clinics. The out of reached areas are then identified. Modeling according to the type of sickness and patients personal attributes are also charted to identify the respective groups’ pattern of traveling. The second phase of study aims to experiment the modeling of patients assignment to the most proximal health care facilities in accordance to the current government’s “equal access to primary health care” campaign. Using the Bangkok Guide base map and the data obtained from phase I, the study compare the carrying capacity of health care facilities and the spatial organization of population (population density) to sort out the out of service areas and the patient assignment. Since the present health care policy predetermine the travelling pattern to health care facilities, ignoring the factor of range of treatment and other factors, a referral network is therefore needed for cases beyond the capability of the local facility enable them to be transferred to a higher order hospital. A referral network is also charted using the existing GIS information gained from the previous phase to optimize the travelling distance to their respective host hospitals. In short, this research applies Chistallers’s approach using GIS as a tool of health care facility planning. One can conclude from this experimentation that modeling could be helpful for the prediction of health care sufficiency and the planning of the spatial organization of the facilities in the future.