• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคที่มีผลต่อสุขภาพ : ศึกษากรณีน้ำตาลระหว่างพ.ศ. 2504-2539

ชาติชาย มุกสง; Chatchai Muksong;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยฉบับนี้ศึกษาน้ำตาลในฐานะเป็นวัตถุที่เข้ามาสัมพันธ์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทย โดยมุ่งจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคน้ำตาลทรายในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504-2539 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การผลิตและการบริโภคน้ำตาลทราย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตน้ำตาลทรายได้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกและตรงกันกับการเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) จนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ที่สังคมไทยได้ตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคน้ำตาลทรายต่อสุขภาพอย่างชัดเจนขึ้น โดยพยายามแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคน้ำตาลทรายนั้นเป็นผลพวงมาจากพลวัตทางเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมของสังคมไทยโดยรวม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการผลิตน้ำตาลทรายในระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตจำนวนมาก ให้จำหน่ายได้อย่างทั่วถึงและสามารถนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ได้ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดการบริโภคน้ำตาลทรายทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นไปได้อย่างกว้างขวางขึ้นในสังคม การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันอันเป็นผลมาจากระบบการผลิตทางเศรษฐกิจและระบบการเมืองก็ทำให้กาลเทศะของการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง วัตถุและเทคโนโลยีในสังคมก่อให้เกิดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมหรือวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้น อันส่งผลต่อการบริโภคในภาพรวมและโดยเฉพาะการบริโภคน้ำตาลและรสหวานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย วัฒนธรรมการบริโภคสมัยใหม่จากวิถีชีวิตทันสมัยที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมไทยเกิดจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลังจากนโยบายการพัฒนาประเทศ เมื่อสี่ทศวรรษก่อนและสภาวการณ์ทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จนฐานะของพลเมืองกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ฐานะของผู้บริโภค ก็ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดการบริโภคสินค้าต่างๆ ในตลาดที่ระบบทุนนิยมสร้างขึ้น พร้อมกับการผลิตสัญญะของวัฒนธรรมมาสวมทับลงบนตัวสินค้า ยิ่งทำให้กระบวนการผลิตและบริโภคในสังคมทุนนิยมเกิดการขยายตัวอย่างมาก และสินค้าที่มีสัญลักษณ์ของความทันสมัย อาทิ ฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลังพวก ชา กาแฟ รวมทั้งของกินไม่เป็นมื้ออย่างขนมและไอศกรีม กลายเป็นสินค้าที่ผู้คนบริโภคกันเป็นปกติในวิถีชีวิตประจำวัน ประเด็นที่สำคัญคือสินค้าเหล่านั้นล้วนมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมอยู่ทั้งสิ้น จึงเท่ากับเป็นการบริโภคน้ำตาลทางอ้อมกันมากขึ้นตามไปด้วย จุดเปลี่ยนสำคัญของการบริโภคน้ำตาลทรายในสังคมไทยเกิดขึ้นอีกครั้งในปลายทศวรรษ 2530 เมื่อวิธีคิดเรื่องสุขภาพได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริโภคน้ำตาลทรายอย่างชัดเจน จากเดิมที่เคยมองว่าน้ำตาลทรายเป็นสารอาหารให้พลังงานประจำวันที่สำคัญ ด้วยการให้ความหมายใหม่เป็นสารอาหารที่มีอันตรายต่อสุขภาพและความสวยงามของรูปร่าง ก่อให้เกิดกระแสการบริโภค “ไร้น้ำตาล” ขึ้น อันสื่อความหมายถึงการบริโภคความหวานที่เปลี่ยนไป จากการบริโภคน้ำตาลทรายในฐานะสารอาหารไปเป็นการบริโภครสชาติความหวานของน้ำตาลทรายจากสารทดแทนความหวานหรือน้ำตาลเทียมแทน ขณะเดียวกันระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมก็ได้ปรับตัวโดยการผลิตสินค้าไร้น้ำตาลมาตอบสนองตลาด ด้วยการนำเอาสัญญะของการมีสุขภาพ หรือรูปร่างดีจากการไม่กินน้ำตาลทรายมาสวมทับความหมายใหม่ในตัวสินค้า เพื่อให้ระบบการผลิตและการบริโภคสินค้าในสังคมทุนนิยมที่ทำทุกอย่างเป็นสินค้าสามารถดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้รายงานวิจัยนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของวัตถุในชีวิตประจำวันที่ต้องอาศัยการมองการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเป็นภาพรวม และเป็นผลจากความเป็นพลวัตกันของระบบความสัมพันธ์ทั้งระบบของสังคม ทั้งที่เกิดจากมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับวัตถุที่เข้ามาสัมพันธ์กับโลกประจำวันของผู้คนในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งชี้ให้เห็นผ่านการศึกษาวัตถุในชีวิตประจำวันเช่นน้ำตาลทรายนั่นเอง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1237.pdf
ขนาด: 6.241Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 8
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 194
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV