• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานเอกชน : โครงการวิจัยเพื่อสร้างพื้นฐานการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพในที่ทำงานภาคเอกชน: กรณีศึกษาสี่จังหวัดภาคเหนือ

เกษม นครเขตต์; Kasem Nakornkat; สามารถ ศรีจำนงค์; อุเทน ปัญโญ; เอนก ช้างน้อย; มนัส ยอดคำ;
วันที่: 2542
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสืบค้นหาความดีงาม (Appreciation Inquiry -AI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพคนทำงาน ในสถานประกอบการภาคเอกชน ในพื้นที่สี่จังหวัดภาคเหนือคือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง โดยเจาะจงเลือกสถานที่ประกอบการที่มีข้อมูลเบื้องต้นว่ามีระบบบริการองค์การที่ดี และมีการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ตลอดจนกิจกรรมเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่พนักงานและลูกจ้างอย่างต่อเนื่อง และนำข้อมูลที่ได้ทั้งในด้านแนวคิดของผู้บริหารและพนักงาน ทรัพยากรบุคคลและสิ่งอำนวยความสะดวก กระบวนการดำเนินการและผลลัพธ์ของการดำเนินการ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพคนทำงานในองค์กร มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงาน "ที่ทำงานส่งเสริมสุขภาพ" (Workplace Health Promotion Model)วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือการศึกษาเอกสารเพื่อศึกษาสภาพความก้าวหน้าของการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงานในปัจจุจบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศศึกษาการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสำหรับคนทำงานในสถานที่ทำงานเอกชน ที่คัดเลือกไว้แล้วในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ด้วยเทคนิควิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 41 แห่ง แยกเป็นประเภทอุตสาหกรรมการผลิต 20 แห่ง อุตสาหกรรมบริการ 21 แห่ง ในจำนวนนี้คัดเลือกไว้ 6 แห่ง เพื่อทำการศึกษาเฉพาะกรณี(Case Study) ศึกษาเชิงสำรวจ (Survey) ด้วยแบบสำรวจคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working Life) และปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงาน ตลอดจนปัญหาและความต้องการบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการเหล่านั้น ผลการวิจัยพบว่าการวิจัยเอกสารเพื่อศึกษาความก้าวหน้าของการส่งเสริมสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่ามีการดำเนินการด้านนี้แล้วอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในต่างประเทศมุ่งไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงไปสู่พฤติกรรมสุขภาพ ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย นโยบายด้านการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ พบว่ามีปรากฎอยู่บ้างในกฎหมายฉบับต่างๆ นับแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญไปจนถึงกฎหมายอื่นๆ ที่ใช้ควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่ยังไม่ชัดเจนนักว่าจะเป็นกฎหมายที่มุ่งเพื่อให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพแก่คนทำงาน นอกจากนั้น พบว่ามีองค์กรบางองค์กรดำเนินการภายใต้กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาการศึกษาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในที่ทำงานที่ได้คัดเลือกแล้ว และการศึกษารายกรณีทั้ง 6 กรณี สรุปได้ว่า มีกระบวนการและกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับคนทำงาน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากคนทำงานให้ความหมายของสุขภาพว่าหมายถึงการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ได้ถือความเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น ซึ่งการให้ความหมายนี้นำไปสู่การแสดงพฤติกรรมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยวกลางคืนและดื่มสุรา ฯลฯ เจ้าของผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการส่งเสริมสุขภาพในที่ทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะได้แสดงแนวคิดด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนทำงานไว้อย่างชัดเจนว่า สุขภาพของคนทำงานย่อมหมายถึงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและคุณภาพของผลผลิต ประกอบกับแนวคิดด้านสุขภาพคนทำงานจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐช่วยเป็นแรงเสริมให้เกิดกระบวนการส่งเสริมสุขภาพในที่ทำงานภาคเอกชนเหล่านี้ได้มากขึ้น ผลพวง (Impact) ของกระบวนการส่งเสริมสุขภาพในที่ทำงานคือ คนทำงานมีความเข้มแข็งด้านสุขภาพ ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และชุมชนเข้มแข็งอันเนื่องมาจากสมาชิกในชุมชนมีสถานภาพทางเศรษฐกิจดีการสำรวจคุณภาพชีวิตในการทำงานและภาวะสุขภาพของคนทำงานพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีทุกด้าน พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางถึงดี คนทำงานมีความต้องการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการตรวจสุขภาพประจำปีมากที่สุด รองลงมาคือกิจกรรมเสริมทักษะความปลอดภัยในการทำงาน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0655.pdf
ขนาด: 4.775Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 403
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV