บทคัดย่อ
ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่เคยได้รับการยอมรับกันว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจและการบริการสาธารณสุขที่ดีมากเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดยใช้เงินงบประมาณในการจัดการสวัสดิการด้านสาธารณสุขให้กับประชาชน ผู้ใช้บริการเสียค่าใช้จ่ายเพียงส่วนเดียว สำหรับคนจนหรือผู้ด้อยโอกาสจะได้รับบริการฟรี โดยที่ไม่มีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ในภาวะเช่นนี้ทำให้ภาระด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องเริ่มดำเนินการปฏิรูประบบสาธารณสุขตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 4 (1981-1985) โดยเริ่มจากการว่าจ้างให้เอกชนดำเนินการกิจการที่ไม่ใช่การรักษาในโรงพยาบาลจำนวนหนึ่งและให้เช่าโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง นโยบายเสริมอีกอย่างหนึ่งคือการสนับสนุนการจัดตั้งสถานบริการทางการแพทย์ของเอกชนด้วยหวังว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีส่วนหนึ่งจะไปใช้บริการอันจะทำให้ภาระของรัฐบาลลดลง แต่ผลเสียที่ตามมาคือ การออกจากราชการของแพทย์ไปทำงานให้ภาคเอกชนซึ่งจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่า ในปี 1992 ได้ทำการแปรรูปสถาบันหัวใจแห่งชาติ ความมุ่งหวังส่วนหนึ่งคือการปรับสภาพการทำงานและรายได้ของแพทย์ให้แพทย์ยังคงอยู่กับสถานบริการซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของต่อไป อีกสองปีต่อมาก็ได้ขายกิจการร้านขายยาและอุปกรณ์การแพทย์ให้เอกชน ต่อมาในปี 1997 ได้แปรรูปงานสนับสนุนการรักษาในโรงพยาบาล 71 แห่ง และมีเป้าหมายให้ครบทุกแห่งภายในปี 2000 คือ สิ้นสุดแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 7 เนื่องจากถึงแม้ว่าจะมีแผนการศึกษาการจัดระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการ ประกอบกับการแปรรูปที่ผ่านมาไม่มีระบบการติดตามประเมินผลที่ชัดเจน จึ่งส่งผลให้เกิดสภาพที่ประชาชนต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้นกว่าเดิมมาก เกิดความไม่เท่าเทียมเนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งไม่มีเงินพอที่จะจ่ายได้ ได้มีการร้องเรียนผ่านสื่อต่างๆ จากทั้งประชาชนทั่วไป และองค์กรที่เกี่ยวข้องจนในที่สุดมีการรวมกันเป็นองค์กรเพื่อคัดค้านแผนการแปรรูปที่จะขยายต่อในปี 2000 และรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบสาธารณสุขต่อไป สภาพที่เกิดขึ้นเช่นนี้จึงทำให้รัฐบาลตัดสินใจยุติแผนการแปรรูปที่กำหนดไว้ เมื่อปลายปี 1999 โดยให้มีการทบทวนใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ บทเรียนการปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศมาเลเซียนี้มีบทสรุปที่สามารถใช้เป็นข้อพึงสังวร กับการดำเนินการปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้ คือ จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรวิชาชีพผู้ให้บริการ และประชาชนผู้ใช้บริการ และในการดำเนินการจะต้องมีระบบการติดตามประเมินผลเพื่อเป็นหลักประกันในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ การเข้าถึงบริการและความเท่าเทียมกันของคนในสังคมในการรับบริการ
บทคัดย่อ
Health Systems Reform in MalaysiaMalaysia had been recognised as one with the best economy and healthcare system in the region. The health services were subsidised by the governmental budget as social welfare. The poor or needy received the services free-of-charge. Without a national health insurance scheme, the consequence is economic burden of the country. This forced the government to set up a healthcare reform policy during the 4th Malaysian Plan (1981-1985). It started from non-medical services, such as laundry, catering, and hospital maintenance at selected hospitals were contracted out. A hospital was leased to a private company. A following policy was that the government support the setting up of private medical facilities, such as hospitals and clinics, to cater for those who can afford such services. As the private sector expanded, it has drawn upon the staff resources of the public sector where wages were less attractive. In 1992, the National Health Institute was established as a corporatised organisation. The aim was to create a good working environment with attractive payment when comparing to those of private sector. Two year after this corporatisation, the goverment medical store was privatised. In 1997, non-medical services at 71 hospitals were privatised. The rest was the target of the year 2000 (the end of the 7th Malaysian Plan). In spite, a national health insurance scheme is a part of the national plans but it is not placed yet. To gather with no clear evaluation and control programs of those organisations reformed, the consequent negative effect is higher medical fee. Some of patients are enable to pay. People and relating organisations have complained via mass media. Ad hoc advocated body was formed up against the government reform plan and request people participation. Finally, in the end of 1999, the health minister declared to stop the planned privatisation and to revise the reform particularly the national health insurance scheme. Experiences of Malaysia could be raised as a concern of the healthcare reform in Thailand. Participation of both providers and consumers, and evaluation of the program have to be priorities These would be guaranteed that the proposed healthcare reforms would adhere to the fundamental principles of equitable, accessible, effective, and sustainable healthcare.