บทคัดย่อ
การศึกษาภารกิจองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และความเข้มแข็งของประชาคมตำบลในการจัดการกับปัญหาสุขภาพชุมชนระดับตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสำรวจโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาตำบล 5 ปี ของ อบต. โดยเฉพาะแผนพัฒนาตำบลประจำปี 2541-2542 ในการสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน เพื่อสำรวจถึงภารกิจ อบต. และประชาคมตำบลในการเคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการมีส่วนร่วมรับผิดชอบการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน และสำรวจถึงความจำเป็นและความต้องการพื้นฐานของ อบต. และประชาคมตำบลต่อการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน ตลอดจนศึกษาเงื่อนไขปัจจัยบางประการที่ก่อให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในแนวทางประชาคมตำบล เพื่อจัดการปัญหาด้านสุขภาพชุมชน ลักษณะการวิจัยเป็นการวิจัยสำรวจภาคสนามที่มีหน่วยในการศึกษาวิจัย (Unit of Analysis) ได้แก่ อบต. ทั่วประเทศ ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 อบต. กระจายอยู่ทั่วทุกภาค โดยมีประชากร (Populations) ที่ศึกษา ได้แก่ ตัวแทน อบต. ที่เป็นประธานกรรมการบริหาร อบต. กรรมการบริหาร อบต. สมาชิกสภา อบต. พนักงาน อบต. (ปลัด อบต.) และตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชนในพื้นที่ อบต. เครื่องมือในการศึกษาวิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการประชุมอภิปรายแบบสนทนากลุ่ม (Focus Groups Discussion) รวมทั้งใช้การศึกษาเป็นกรณีเฉพาะ (Case Study) จำนวน 3 อบต. โดยคัดเลือกจาก อบต. ที่มีเงื่อนไขปัจจัยบางประการที่ก่อให้เกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมในแนวทางประชาคมตำบลเพื่อการจัดการปัญหาด้านสุขภาพชุมชน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผลการสำรวจโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาตำบลของ อบต. ในปี พ.ศ. 2541-2542 พบว่า มีโครงการหรือกิจกรรมด้านสุขภาพชุมชน ร้อยละ 36 จากจำนวนโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาตำบล และการปฏิบัติตามแผนพัฒนาตำบลที่ปรากฏอยู่ในข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี และรายจ่ายเพิ่มเติมของ อบต. ประจำปีงบประมาณ 2541-2542 มีการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมด้านสุขภาพชุมชน ร้อยละ 30 จากจำนวนโครงการในข้อบังคับงบประมาณทั้งหมด ซึ่งในบรรดาโครงการที่ดำเนินการจัดทำส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กและเป็นโครงการที่ อบต. ให้เงินสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการสำรวจภารกิจ อบต. และประชาคมตำบลในการเคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน พบว่า ภารกิจ อบต. กับการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชนโดยภาพรวม พบว่า มีการดำเนินกิจกรรมครอบคลุมภารกิจทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การอนามัยชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลชุมชน ด้านการป้องกันโรค การบริการสาธารณสุขมูลฐาน และการสาธารณูปโภค รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งนี้ ในการดำเนินภารกิจของ อบต. ดังกล่าว ใช้วิธีดำเนินการให้เงินงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ทำกิจกรรมด้านสุขภาพชุมชน เช่น สนับสนุนการซื้อเวชภัณฑ์ยาแก่สถานีอนามัย ซื้อเครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ตรวจสุขภาพประชาชน กำจัดโรคพิษสุนัขบ้า สนับสนุนอาหารกลางวันและอาหารเสริมแก่ศูนย์พัฒนาเด็ก และกิจกรรมที่ อบต. เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเองตามขีดความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เช่น รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โรคเอดส์ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อต่างๆ กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การให้ความรู้ด้านสุขภาพ ควบคุมสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อบต. สัญจรด้านสุขภาพ กิจกรรม การประกอบอาหารและโภชนาการ กิจกรรมแปรรูปสมุนไพรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ส่วนภารกิจของกลุ่ม องค์กรชุมชน ที่เคลื่อนไหวในแนวทางประชาคมตำบล พบว่า การดำเนินกิจกรรมมีลักษณะใกล้เคียงกับ อบต. ยกเว้น อบต. ที่มีกลุ่ม องค์กรชุมชนเข้มแข็ง การดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพชุมชนส่วนใหญ่มีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมการรณรงค์ให้มีการดูแลผู้สูงอายุ การแปรรูปสมุนไพร การออมทรัพย์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมอาชีพ การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม น้ำเน่าเสีย มลพิษ ตลอดจนการทำการเกษตรทางเลือก เป็นต้น ผลการสำรวจความจำเป็นและความต้องการขั้นพื้นฐานของ อบต. และกลุ่มองค์กรชุมชน ปรากฏว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยพบว่าปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคติดต่อและโรคระบาด ปัญหาการเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย ปัญหามลพิษต่างๆ และปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภค เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มองค์กรชุมชน มีความจำเป็นและความต้องการเพิ่มเติมในด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพชุมชน และด้านการดูแลและจัดการสวัสดิการสังคมแก่เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนด้านกิจกรรมสุขภาพชุมชนทางเลือก เงื่อนไขปัจจัยบางประการที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมในแนวทางประชาคมตำบลเพื่อจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน ได้แก่ ความเป็นชุมชนของ อบต. วิสัยทัศน์ของ คณะผู้บริหาร อบต. ทั้งด้านความคิด ความตั้งใจ การประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย งบประมาณและการแสวงหารายได้ของ อบต. ผู้นำชุมชนและความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน ศูนย์การศึกษาและการเรียนรู้ของชุมชน ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนระดับตำบล ควรทดลองให้มีตัวอย่าง “ชุมชนสุขภาพระดับตำบล” ที่แสดงถึงการผนึกกำลังร่วมมือกันระหว่างภาคประชาชน (กลุ่ม องค์กรชุมชน) องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน และหน่วยงานราชการที่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชนระดับตำบลร่วมกัน และให้ปรับสถานีอนามัยให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้านสุขภาพ และให้กลุ่มองค์กรชุมชนระดับตำบลร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้เรื่องสุขภาพชุมชนในระดับตำบล หมู่บ้าน ส่วนข้อเสนอแนะต่อ อบต. ให้ร่วมกันสร้าง “ความเป็นชุมชน อบต.” การกำหนดให้มีส่วนสาธารณสุขในการแบ่งส่วนบริหารของสำนักงาน อบต. และให้พัฒนาทักษะบุคลากรเฉพาะด้านสุขภาพชุมชนที่สำคัญ อบต. กับสถานีอนามัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนกลุ่ม องค์กรชุมชนต้องร่วมมือและมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดภารกิจด้านสุขภาพชุมชนระดับตำบลเพื่อเตรียมงานการกระจายอำนาจด้านสุขภาพชุมชนให้แก่ อบต. และชุมชนในอนาคต
บทคัดย่อ
The Task of Tambon Administration Organization (TAO) and the strength of Tambon Civil Society (Sub-district Community) in dealing with Tambon health problems The study on the task of Tambon Administration Organization (TAO) and the strength of Tambon Civil Society (Sub-district Community) in dealing with Tambon health problems has its objective to research the project or activities in five-year Tambon development plan, to deal with the problems of community sanitation, to research the task of Tambon Administration Organization and Tambon Civil Society in dealing with community sanitation including with some factors creating cooperation and participation in Tambon Civil Society Approach a deal with the problems of community sanitation. The study is the field research which having units of analyses; for example, TAOs throughout the country represented by 40 TAOs samplings in all parts of the country with studied populations; such as, TAO’s representatives who are administrative chairman, TAO administrative Committee, members of TAO Council, TAO Personal (Deputy Director of TAO) and local group’s, community organization’s representatives. Material used on this study is questionnaire in-depth and focus group discussion including 3 TAO case studies selected from the TAOs with some Community in dealing with community sanitation. The result of the study found that The project or activity research on TAO’s Tambon Development Plan during 1998-1999 found that 36% of the projects or activities under Tambon Development Plan with community health following the Tambon Development Plan in the Regulations of Annual Budget and TAO’s Additional Expenditure during 1998-1999 and 30% of the projects under the Budget Regulation had its projects or activities made. Most of the projects are small which supported through the agency concerned by TAO’s finance. The result on the TAO’s task and Tambon Civil Society in movement for operation is particular obligation in dealing with Community Sanitation found TAO’s task with management on community sanitation, in conclusion benefit activities management to health promotion, community sanitation, environment and public health, disease prevention, basic public service and public utility including with water resource development. In addition, the TAO’s operation is to support other organizations with finance budget in any activities performed to benefit to the public; for example, purchasing of drugs for health centers, purchasing fogger to get rid of mosquitoes, public health check, get rid of hydrophobia, lunch and nutrient support of Child Development Center as well as activities run by TAO’s in different capabilities; for example, anti-drug addict campaign, AIDS, disease prevention and control, disposal of garbage, public education for health and hygiene, hazardous material control, mobile TAO health, cooking and nutrition, medicinal plant transformation, and natural resource reservation, etc. The task of groups and community organizations with their movement in Tambon Civil Society found that their operation is similar to the TAO’s, except, the TAO with strong community organization. Most public health activities are varied; for example, a campaign to have to elderly taken care, medicinal plant transformation, savings for occupation support, conservation of natural resources and environment, water pollution, pollution, including alternative agriculture, etc. The result of researching for the basic needs of TAO’s, groups, and community organizations, found that they are in the same way; in addition, the problems of drug addict, disease, epidemic, collecting and getting rid of garbage, pollution, lacking of drinking water are urgently to be solved while the community organization needs additional basic knowledge of community health, caring and arranging welfare to children, elderly, handicapped and inferior opportune persons including with selective community health activity. Some factors crated cooperation and participation in Tambon idea to get rid of the community health problems; for example, community of TAO, vision of TAO executives; idea, intention, coordination, budget and TAO income, community leaders and strength of organization, education center and community learning process. Political suggestion to the organization concerned development of community health in Tambon should be made for sample “Tambon Health Community” showing strong collaboration among population (group, community organization), private development organization, private sector and government organization in provincial, district, Tambon levels to promote Tambon health community while the health center may become community learning center for health. Group and Tambon community may campaign together in education to those of village and Tambon as well. Suggestion to TAO is to establish together, “TAO Community”. There should be the Public Health Section apart from TAO Organization and the particular personal skill in essential Community Health should be developed. The TAO, Health Center, Public Welfare official including group and Community Organization must cooperate and participate to create the task for Tambon community health to decentralize community health of TAO and community in the future.