• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลการจัดกิจกรรมสุขศึกษาร่วมกันกับการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้ พฤติกรรมของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วงจังหวัดตรัง

ธีระศักดิ์ มักคุ้น; Theerasak Makkun; ประสงค์ ปัญจเมธีกุล; ปราโมทย์ แก่นอินทร์; ประนอม ตุลยกุล; พนิดา คุณาธรรม;
วันที่: 2543
บทคัดย่อ
ผลของการจัดกิจกรรมสุขศึกษาร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อความรู้และพฤติกรรมของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วง จังหวัดตรัง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมสุขศึกษาร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อความรู้และพฤติกรรมของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วง โดยนำกรอบแนวคิด PRECEDE Model มาใช้ในการวินิจฉัยปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วงในเชิงพฤติกรรมสุขภาพเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรม และประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการจัดกิจกรรมสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้ให้แรงสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วงที่ถูกต้อง รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวที่มีภูมิลำเนาในตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านทดลองเรื่องโรคไข้เลือดออก คือ หมู่ที่ 4 บ้านออกวัดนาปด หมู่บ้านเปรียบเทียบ คือ หมู่ที่ 2 บ้านเกาะปุด ส่วนหมู่บ้านทดลองเรื่องโรคอุจจาระร่วง คือ หมู่ที่ 5 บ้านใสชมภู่ และหมู่บ้านเปรียบเทียบ คือ หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งแก่เจ้ย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง หมู่บ้านละ 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมสุขศึกษาแบบกระบวนการกลุ่ม และสื่อประเภทวีดิทัศน์ ของจริง แผ่นพับ และโปสเตอร์ โดยดำเนินการเฉพาะในกลุ่มทดลอง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้อยู่ปกติตามธรรมชาติ การเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินการได้รับแรงสนับสนุนจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ระยะเวลาวิจัย 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2543 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2543 ผลการวิจัยพบว่า แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในกลุ่มทดลองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วงถูกต้องขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง และผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในการป้องกันโรค และพฤติกรรมในการป้องกันโรค อีกทั้งยังพบว่าความรู้ การรับรู้ด้านต่างๆ และการได้รับแรงสนับสนุนจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วงของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

บทคัดย่อ
The effectiveness of Health education activity with Social support from Village Health Volunteers to Preventive behaviour on hemorrhagic fever and diarrhea among Family health Leaders in Trang Province The research aims to evaluate the effected of health education by social support of village health volunteer. The PRECEDE model to diagnose the effected of knowledge and behavior for preventing Dengue Hemorrhagic Fever and Diarrhea of the family health leader. The results from this research aim to apply for planning and group processing for changing behavior of family health leader. The quasi experimental model is research design. The family health leaders were sampling from 4 villages of tambol Nakhaosia in Nayong district. There are one village was a Dengue Hemorrhagic Fever preventing project and another one was a Diarrhea preventing project village. The other two villages are control area. The samples collected from 60 people of any village by interview form, observation form and social support asses form. The data were collected pre-intervention and after 6 month intervention. The media intervened are video, poster and documentary sheet. The results found that family health leaders have a significant changing behavior for preventing Dengue Hemorrhagic Fever and Diarrhea. They have improving in knowledge of disease, risk factors, violence of disease. The results also showed the social support are significant relation for Dengue Hemorrhagic Fever and Diarrhea prevention behavior.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0804.pdf
ขนาด: 758.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 9
ปีพุทธศักราชนี้: 6
รวมทั้งหมด: 478
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV