บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ซึ่งทางโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ได้เริ่มโครงการเพิ่มความสำเร็จของการรักษาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548-2549 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยวัณโรคที่รักษา โดยวิเคราะห์ค่าร้อยละ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ชนิดของพี่เลี้ยงกับความสำเร็จของการรักษาโดยใช้สถิติไฆ-สแควร์และการวิเคราะห์พหุตัวแปร จากผู้ป่วย 506 รายที่ศึกษา ร้อยละ 72 เป็นวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ และร้อยละ 24 มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย ได้ผลสำเร็จของการรักษา (รักษาหายขาด และรักษาครบ) ร้อยละ 72 และผลการรักษาล้มเหลว (เสียชีวิต ขาดยา และโอนออก) ร้อยละ 28 ผู้ป่วยที่มีเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ร้อยละ 90 และมีสมาชิกครอบครัวและญาติพี่น้อง ร้อยละ 10 ซึ่งพบว่าเจ้าหน้าที่มีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จของการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < 0.001) เมื่อควบคุมตัวแปรกวนอื่นๆ ก็มีผลว่า การมีเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงมีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (อัตราส่วนออดส์ 2.1, ช่วงความเชื่อมั่น 95% 1.1-4.3) สรุปได้ว่า การมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงทำให้ได้ผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคสูงกว่าให้สมาชิกในครอบครัวเป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยา
บทคัดย่อ
The World Health Organization (WHO) has been recommending the directly observed
treatment short course (DOTS) for the management of tuberculosis since 1994.
Vachira Phuket Hospital has strengthened its education of health-care workers (HCW)
and family members to become directly observed treatment (DOT) observers in order to
improve the success rates of the treatment. This study was conducted to evaluate the
treatment outcomes that the HCW DOT or family member DOT provided to patients.
We prospectively collected epidemiologic data on TB patients treated at the TB clinic
in Vachira Hospital from 2004 to 2006. We limited our analysis to pulmonary TB patients
never previously treated for TB. We analyzed the proportion of the patients, stratified by
type of drug administrator. We used chi-square to analyze the association of successful
treatment with the type of DOT, and multivariate analysis for controlling other factors
associated with treatment success. A total of 506 TB patients were included in this analysis,
364 (72%) had treatment success, compared with 142 (28%) of patients experiencing
non-successful treatment, 90 percent received HCW DOT, and 10 percent family/other or
self-administered therapy (SAT). Smear-positive TB was diagnosed in 72 percent of the
cases, and 24 percent were infected with HIV. The type of drug administered had a
significant impact on treatment success (P<0.001). Using multivariate analysis, controlling
for confounding factors, HCW DOT was significantly associated with successful treatment
(OR 2.1, 95% CI 1.1-4.3).
Based on the results of this study, TB patients who received HCW DOT achieved
treatment success rates higher than patients receiving family member DOT.