บทคัดย่อ
การศึกษาโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชนโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุการศึกษาโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดบริการสวัสดิการสังคมในโครงการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ ตลอดจนเป็นการศึกษาสภาพปัญหาของการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ในเชิงคุณภาพและความเป็นธรรมทางสังคม และเป็นการแสวงหาแนวทางการพัฒนารูปแบบที่พึงประสงค์ของโครงการเบี้ยยังชีพที่เหมาะสมในอนาคตวิธีการศึกษา เป็นการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ได้รับ และไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ สมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุที่ได้รับและ ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ รวมถึงคณะกรรมการ พิจารณาเบี้ยยังชีพในหมู่บ้าน (กรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน) และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสวัสดิการเบี้ยยังชีพในที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด ทั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 ราย ในพื้นที่ 9 จังหวัด (19 อำเภอ ) คือ เชียงใหม่ ตาก นครราชสีมา หนองบัวลำภู พระนครศรีอยุธยา ตราด นครศรีธรรมราช สตูล และนครปฐม โดยวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาร่วมกับการยกสถิติประกอบให้ชัดเจนขึ้น ผลการศึกษาที่น่าสนใจ ได้แก่1. ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในแต่ละหมู่บ้าน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน อายุมาก แต่ยังคงมีบุตรหลาน ดูแล และไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง ครอบครัวเกื้อกูลดี อยู่ในพื้นที่ใจกลางของหมู่บ้าน ความสัมพันธ์กับกรรมการหมู่บ้าน มีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี เป็นกลุ่มที่ได้รับเบี้ยยังชีพมากที่สุด ผู้สูงอายุที่ยังคงอยู่กับบุตรหลาน ไม่ยากลำบาก ฐานะปานกลาง ส่วนมากจะเป็นกลุ่มญาติสนิท บิดามารดาของกรรมการหมู่บ้าน หรือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยยังชีพเป็นลำดับที่ 2ผู้สูงอายุที่ยากจน ทุกข์ยาก ไร้ญาติขาดมิตร จำนวนมากอยู่ลำพังคนเดียว หาเลี้ยงตนเอง ลูกหลานไปทำงานที่อื่น มักจะเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนมากนัก บ้านที่อยู่ห่างไกลศูนย์กลาง มีชาวบ้านที่สงสารคอยดูแลบ้าง กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ได้รับเบี้ยยังชีพน้อยที่สุด เป็นกลุ่ม “คนชายขอบ”ในชุมชน 2. การจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพ มีแนวคิดและหลักการพื้นฐาน ที่เน้นชุมชนเป็นฐาน( Community – Based) ในการจัดสวัสดิการโดยชุมชน ให้แก่คนในชุมชนของตนเอง โดยต้องการกระจายอำนาจให้ชุมชนจัดการปัญหาของตนเอง แต่ในกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้น พบว่ายังขาด กลไกการดำเนินงานในการระดมการมีส่วนร่วมจากชุมชนอย่างแท้จริง ประชาชนหรือแม้แต่ผู้สูงอายุในชุมชน ยังมิได้มีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นปัญหา ประเมินปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง การจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นฐานดำเนินการพิจารณาจัดสรรเบี้ยยังชีพ เป็นการจัดตั้งในเชิงปริมาณ ขาดกระบวนการพัฒนาหรือสร้างเสริมความเข้มแข็งของศูนย์ฯ การดำเนินการในหลายพื้นที่เป็นงานฝาก ขาดการติดตามผล การประเมินปัญหาที่แท้จริง3. แนวคิดในการดำเนินงาน ยังคงเน้นการบริการในระดับรายบุคคล และเป็นการจัดให้เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุยากจนในรูปแบบ Residual Welfare Model เท่านั้น แต่ในการให้บริการจริงก็ยังไม่สามารถกระจายบริการให้แก่กลุ่มเป้าหมายตรงได้อย่างทั่วถึง หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สูงอายุ ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างเป็นมาตรฐานและเป็นธรรมดีพอ ขาดการพิจารณาตามหลักการให้ความช่วยเหลือทางวิชาชีพ (Means-Test)4. ผู้นำทางการจำนวนมากยังยึดติดระบบอุปถัมภ์ การให้เบี้ยยังชีพเป็นการเลือกให้ตามระบบเครือญาติ ความสนิทสนมรายบุคคล การสร้างและขยายฐานอำนาจทางการเมือง เป็นการใช้ดุลพินิจส่วนตัวอย่างไม่เหมาะสม ขณะที่ในกระบวนการสรรหา ยังขาดการตรวจสอบ ติดตามผล การสร้างจิตสำนึกสวัสดิการในหมู่กรรมการที่เป็นผู้คัดเลือก การจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม นำไปสู่ความขัดแย้ง ในชุมชนมากกว่าการสร้างสามัคคีในชุมชน5. ปัญหาในกระบวนการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ยังมีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในกระบวนการจัดการ เช่น จำนวนเงินและระยะเวลาในการโอนเงินไม่แน่นอน การถูกหักเงินเบี้ยยังชีพให้เป็นค่าพาหนะหรือค่าตอบแทนแก่ผู้นำหรือกรรมการที่ไปรับเงินมาให้ การขาดความรู้ความเข้าใจในการเปิดบัญชี ธนาคารในชื่อตนเอง จนส่งผลให้ไม่มีโอกาสตรวจสอบยอดเงินของตนเอง และไม่สามารถคุ้มครองสิทธิตนเองได้ การขาดการติดตามผล ขาดการตรวจสอบถึงความเป็นธรรมและความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงาน และการขาดระบบสนับสนุนด้านระบบข้อมูลข่าวสาร6. ความสามารถในการกระจายบริการและการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ เน้น การขยายปริมาณผู้รับเบี้ยยังชีพ มากกว่าคำนึงถึง ผลในเชิงคุณภาพ นอกจากนี้จำนวนปริมาณที่ขยายยังเข้าไม่ถึงผู้สูงอายุยากจนที่ยากลำบากอย่างแท้จริง7. ความพึงพอใจ ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยทุกคนมีความพอใจ แม้เงินที่ได้รับจะน้อยมากจนไม่เพียงพอต่อการยังชีพที่แท้จริงได้ สำหรับผู้สูงอายุยากจนแท้จริงที่ได้รับเบี้ย รู้สึกว่าตนมีหลักประกันมากขึ้น มีเครดิตทางสังคม มีศักดิ์ศรีในตนเองมากขึ้น เงินจำนวนดังกล่าวยังสามารถตอบสนองในเรื่องค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรมของตน8. ความเหมาะสมและความเป็นธรรม การจ่ายเงินส่วนนี้เป็นการจ่ายในลักษณะการสงเคราะห์แบบกระจัดกระจาย เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการใช้งบอย่างผูกพันต่อเนื่อง ไม่สามารถกำหนดเวลาชัดเจน ไม่มีหลักประกันในแผนการใช้จ่ายเงินได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงินจำนวนมากมีความไม่เหมาะสมในเชิงคุณสมบัติ ทำให้โครงการนี้ยังไม่สามารถตอบในเรื่องความเป็นธรรมได้9. การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ขาดกระบวนการแสวงหาและระดมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเกือบทุกระดับ รวมถึงขาดการเสริมสร้างจิตสำนึกสวัสดิการในหมู่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทำให้จิตใจเพื่อการมีส่วนร่วมในชุมชนไม่มีพลัง 10. การพึ่งตนเองและความยั่งยืนของโครงการ รูปแบบบริการ ไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะเป็นการให้เชิงสงเคราะห์ โดยไม่มีกระบวนการเสริมพลัง หรือรูปแบบประสานความร่วมมืออื่น ๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดการพึ่งตนเองที่ควรจะเป็น ลักษณะบริการ มุ่งเน้นการสงเคราะห์เฉพาะราย เสริมลักษณะปัจเจกมากกว่าการเสริมความเป็นกลุ่มหรือชุมชน
บทคัดย่อ
The evaluate of the allowance for the elderly The study of structure of the subsistence allowance for the elderly has the purpose that to evaluate the execution of welfare service for the elderly in the allowance project including the study the problems in the past in qualitative and justice in the society and seeking the guideline to development the desirable pattern of the allowance projects in the future. The method of study is the qualitative by interviewing the relevant groups i.e. the elderly who are allowance recipients and non-recipients, family members of the who are allowance recipients and non-recipients elderly including the committees of allowance recipient selection in the village (committee of the village welfare assistance center) and the responsible persons of the allowance in the provincial public assistance. That is the data collection together with the quantitative data collection from the exemplars of 360 persons in 9 provinces (19 districts) i.e. Chiang Mai, Tak, Nakorn Ratchasima, Nong Bualumpu, Phra Nakorn Sri Ayudhya, Trad, Nakorn Srithamarat, Satun, and Nakorn Pathom, by analyzing the data in description with the statistics. The project of allowance has been paid interested highly as the government is trying to change the pattern of services from the institutional case to the deinstitutional care and make an effort to have the community participate in solving the community’s problems with the concept community-based. The project of allowance has started since the year 1993 under the responsibility of the Department of public assistance with the budget yearly not less than 1,440 Baht for 400,000 persons of the elderly by selecting the poor relatives without relatives and supporters from village 5 persons qualified to receive the allowance. The results of the study are as following.1. the elderly recipients of the allowance can be classified into 3 categories as below1.1 the poor elderly but looked after by descendants, not left lonely, still supported by the family, living at the center of the village. Moreover, the relationship with the village committee They are the group that received the allowance the highest. 1.2 the elderly with the descendants, not so miserable with the middle-class income, mostly are close relatives of the village committee or the head of the village. This group will get the allowance high next 1.3 the poor elderly, miserable without relatives or descendants who left to work elsewhere, mostly living alone by themselves far away from the village center, not participating in the activities of the village, sometimes looked after by others who sympathized them , mostly will not receive any social welfare service. As they are regarded as the “peripheral group” in the community, they will get the allowance the least 2 the concept of management of the allowance to arranging the allowance for the community is community-based by decentralizing so the community can cope with their own problems, but in the practice it is found out that it lacks the effort in encouraging the real participation of the community. Even the elderly as the residents in the community do not participate in deciding, assessing the problems of the community by themselves. Therefore, the village welfare assistance centers with an aim to considering the allocation of allowance has been established in quantity, lacking the methods to develop, strengthen the centers as the operation of most of the centers is regarded as the additional task, lacking the monitoring and assessment of the problems. 3. the thought in its operation is still based on individual affairs as it is arranged to the poor elderly in the residual welfare model only. However, in the real operation it is not decentralized to the target groups thoroughly. The rules in selection of the elderly still lacks the standard, fairness, and the consideration based on the principle of means-test 4. the authority’s mind is still attached to the patronage system. The providing the allowance is unduly considered based personally on intimacy, the intention to expand political power. While the selection process lacks the investigation, monitoring, the consciousness building of welfare among the selection committee. The unfair allocation of social resources will cause the conflict rather than the stability in the community. 5. the problems of disembursement of the allowance, caused from the unfair process of allowance management i.e.the amount and the period of providing the allowance not regularly counted. The reduction of the allowance as the transportation fee in traveling to get the allowance payment, the lack of knowledge in opening the deposit account at the bank in one’s own names, causing them unable to check the account books by themselves and protect themselves. The lack of the assessment and investigation about the fairness and transparency of its operation and the support of information system can be raised as the reasons. 6. the accomplishment of diffusion and expansion of service of the elderly i.e. increasing the number of the allowance recipients has been counted in quantity rather than the quality. Even though, the poor elderly still cannot benefit from this increasing number of allowance recipients 7. the satisfaction the elderly are satisfied with the allowance even the amount of the allowance is not enough for their real living. For the real poor elderly, they feel as they have been more socially guaranteed, credited with dignity. The such amount of allowance can respond to their social value, belief and culture as well. 8. the appropriateness and justice the welfare allowance is provided in form of the diffused payment as the temporary assistance. Meanwhile, it is used in continuation, cannot fix the period, has no guarantee in the expenditure plan. Moreover, most of the target groups who receiving the allowance are not so qualified, thus this project cannot serve well to solving the social injustice. 9.the participation in operation it still lacks the process of seeking and mobilizing the participation to help all levels of its operation, including the promotion of welfare consciousness among the concerned persons, that discouraging and weakening the dedicating spirit for the community 10. the self-reliance and sustainability of the project the pattern of the welfare service cannot sustainably empower and strengthen the elderly for long, as it function as the public assistance only, lacking the reinforcing process or pattern of coordinating with other organizations, that does not result the desirable self-reliance. Moreover, as the welfare service of public assistance is conducted individually based, it will encourage the individualism rather than complement to the collectivism or communality