บทคัดย่อ
การเกิดขึ้นซ้ำของหินน้ำลายและเหงือกอักเสบในเด็กนักเรียนประถมศึกษา การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเกิดขึ้นซ้ำของหินน้ำลายและเหงือกอักเสบของเด็กนักเรียนประถมศึกษา อายุ 10-12 ปี ในกลุ่มโรงเรียนที่มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่เข้มงวดสม่ำเสมอ และกลุ่มโรงเรียนที่มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่ไม่เข้มงวดสม่ำเสมอในอำเภอโชคชัย กลุ่มละ 4 โรงเรียน จำนวน 141 และ 147 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ ที่กำหนดในสองกลุ่มศึกษาตามลำดับ การเก็บข้อมูลโดยใช้ดัชนี Volpmanhold วัดการสะสมหินน้ำลาย และใช้ Gingival Index ในการวัดสภาพเหงือกโดยผู้ตรวจจำนวน 1 คน ในระยะเวลา 5 เดือน และ 8 เดือน หลังการขูดหินน้ำลายโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่ผ่าน
การอบรมแล้ว ผลการศึกษาพบว่าการเกิดซ้ำของหินน้ำลายของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ((=0.05) โดยในกลุ่มโรงเรียนที่เข้มงวดมีการสะสมของหินน้ำลาย ในระยะ 5 และ 8 เดือน ในกลุ่มโรงเรียนที่เข้มงวดเป็น ร้อยละ 45.4 และ 27.0 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่ม
โรงเรียนที่ไม่เข้มงวดพบนักเรียนที่ไม่มีการสะสมของหินน้ำลายเป็น ร้อยละ 30.66 และ 19.0 ตามลำดับ ในกลุ่มที่มีการสะสมของหินน้ำลายพบว่ากลุ่มที่ไม่เข้มงวดมีการสะสมของหินน้ำลายโดยเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่มีการเข้มงวดในทั้งสองระยะเวลา โดยกลุ่มที่เข้มงวดพบว่ามีร้อยละของผู้ที่มีการสะสมของหินน้ำลายเป็นปริมาณมาก (> 12 มม. ขึ้นไป) เป็น 9.2 และ 9.2 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มไม่เข้มงวดพบร้อยละ 18.4 และ 22.1 ตามลำดับ สำหรับสภาพเหงือกอักเสบ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มโรงเรียนที่เข้มงวดและกลุ่มโรงเรียนที่ไม่เข้มงวด ทั้งในระยะ 5 และ 8 เดือน โดยพบเพียงสภาพเหงือกอักเสบเล็กน้อยและปานกลางเท่านั้น ไม่พบสภาพเหงือกอักเสบรุนแรงในทั้งสองกลุ่มตลอดระยะเวลาศึกษา ผลการศึกษาชี้ถึงสัมฤทธิผลที่ต่ำของการขูดหินน้ำลายในนักเรียนประถมศึกษาโดยทั่วไป และความจำเป็นในการทบทวนมาตรการการรณรงค์ขูดหินน้ำลายในนักเรียนประถมศึกษาที่ดำเนินการอยู่
บทคัดย่อ
การเกิดซ้ำของหินน้ำลายและเหงือกอักเสบในนักเรียนประถมศึกษาที่รับการขูดหินน้ำลายโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาRecurrent of calculus depositions and gingivitis in primary school student that scaled by healthworkers at District Health Centers inAmphur Chokechai Nakhonratchasima provinceThe aims of this study were to compare the recurrent rate of calculas deposition and gingivitis in primary school children aged 10-12 years between a group of schools that performthe systematic tooth brushing after lunch program (implementation group; imgroup) and a group of schools without the systematic tooth brushing after lunch program (Comparison group: Cm group) in Chokechai district. Groups of 4 schools with 141 and 147 schoolchildren were proposively selected from the related criteria. Every subjects received calculus scaling by trained health workers. Data collected by oral examination with Volpe - Manhold Index for calculus, and gingival Index for recording gingival status, 5 and 8 months after scaling by 1 examiner. The results showed that the recurrent rate of calculus deposition between the implementation and comparison groups were significantly different at both 5 months and 8 months after scalling (p=0.1, 0.2). The percentage of subjects in Im group who had no calculus deposited at 5 and 8 months period were 45.4% and 27.0% respectively. While the rate in Cm group were 30.6% and 19.0% respectively. Gingival status between two groups were not significant different at both 5 and 8 month period (p=0.25 and 0.94). It was found that only mild and moderate gingivitis were observed with out any subject with severve gingivitis. The results indicated the low effectiveness of the actual scaling campaign in primary schoolds.