บทคัดย่อ
การศึกษานี้ต้องการประเมินคุณภาพและผลการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 กลุ่มประชากรศึกษาเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกความดันโลหิตสูงในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 จำนวน 1,274 ราย เป็นชาย 492 ราย (ร้อยละ 36.62) เป็นหญิง 782 ราย (ร้อยละ 61.38) อายุเฉลี่ย 64 ปี 5 เดือน ร้อยละ 83.31 มีสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยบัตรทอง การซักประวัติและบันทึกเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงในแต่ละด้านพบว่าต่างกันระหว่าง ร้อยละ 2.51-90.66 การตรวจร่างกายพบบันทึกค่าดัชนีมวลกาย ร้อยละ 98.74 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 55.57 โรคร่วมที่พบบ่อยคือ เลือดมีไขมันมากผิดปรกติ ร้อยละ 53.14 เบาหวาน ร้อยละ 35.25 ไตเสื่อม ร้อยละ 6.59 หัวใจห้องล่างซ้ายโต ร้อยละ 3.77 ส่วนการใช้ยาลดแรงดันเลือด พบใช้ยา 2 ขนาน ร้อยละ 38.07 ใช้ 1 ขนาน ร้อยละ 35.56 ยาเรียงลำดับจากใช้มากไปหาน้อย ได้แก่ ยากลุ่มขับปัสสาวะ เอนซัยม์เปลี่ยนแองจิโอเทนสิน-1 ตัวสะกัดกั้นบีต้า ตัวสะกัดกั้นช่องทางแคลเซียม ร้อยละ 36.50, 29.75, 20.15, 12.35 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่มารักษาตามนัดสม่ำเสมอ ร้อยละ 76.45 แต่มีการควบคุมแรงดันเลือดได้ตามเกณฑ์เพียงร้อยละ 23.41 รายที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วยควบคุมได้เพียงร้อยละ 3.39 โดยสรุปแล้ว การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และครอบครัว เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้เกิดคุณภาพและผลการรักษาที่ดี
บทคัดย่อ
Hypertension is the most common cause of preventable death in developed countries
and also an important problem in developing countries. The objectives of this study
were to evaluate clinical audits and clinical outcomes of hypertensive treatment compared
with the Thai Hypertension Society guidelines, 2007. The study population included
1,274 patients who were treated in the hypertensive clinic of Thawatchaburi Hospital from October 1, 2006 to September 30, 2007. The results showed that 492 males
(38.62%) and 782 females (61.38%) with a mean age of 64 years 5 months participated in
the study and 83.31 percent of the cases were under the universal health care coverage
system. Only some risk factors associated with hypertension were recorded, ranging
from 2.51 percent to 90.66 percent. Almost all (98.74%) of the patients’ BMI levels were
recorded; 55.57 percent of them had normal BMI. There were several co-morbidities in
the records: 53.14 percent had dyslipidemia and 35.24 percent DM. The prevalence of
nephropathy and left ventricular hypertrophy was 6.59 percent and 3.77 percent, respectively.
One- third of the medical treatments used two categories of hypertensive medicines
and the other third used only one catagory. Diuretics were used in 36.50 percent of
the cases, with 29.75 percent being ACE-inhibitors, 20.15 percent beta blockers and 12.35
percent Ca channel blockers. Follow-up adherence was 76.45 percent; 23.41 percent of
the cases had well-controlled blood pressure whereas only 3.39 percent of those with DM
were well controlled.
In conclusion, a model for the development of hypertensive care should be developed
by all stakeholders, including clinicians, other health-care professionals, patients
and their families in order to improve continuously the quality of care and its outcome.