• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

แนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนและความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนน

ยอดพล ธนาบริบูรณ์; Yodphon Tanaboribun;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสมบูรณ์ คุณภาพของข้อมูล และเพื่อรวบรวม วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุจราจร และความสัมพันธ์กับแนวโน้มและการกระจายของปัจจัยเสี่ยงจากแหล่งข้อมูลที่มีเพื่อการวางยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา และเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบข้อมูล ในการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลเผ้าระวังการบาดเจ็บหรือข้อมูล IS จากโรงพยาบาลนำร่อง 28 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มอุบัติเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล IS ที่ได้มาในระหว่างช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2542 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ประกอบด้วยข้อมูลผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด จำนวน 301,375 ราย แยกเป็นผู้เสียชีวิต 22,735 รายและผู้บาดเจ็บ 278,640 ราย แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 6 หัวข้อดังนี้ 1. ช่วงเวลาการเกิดอุบัติเหตุ 2. ยานพาหนะที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ3. คนเดินเท้า 4. อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 5. ปัจจัยเสี่ยงของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 6. การใช้เข็มขัดนิรภัย ผลการวิเคราะห์แนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนและความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยได้ข้อสรุปดังนี้ 1. การเกิดอุบัติเหตุในช่วงเวลากลางคืนและกลางวันมีจำนวนใกล้เคียงกัน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตในเวลากลางคืนมากกว่า (56.2%)ในเวลากลางวัน (43.8%) 2. ปัญหาเรื่องดื่มแล้วขับขี่ยังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสังคมไทย ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า อุบัติเหตุที่เป็นผลจากการที่ผู้ขับขี่ดื่มแอลกอฮอล์นั้นเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงเวลา 00.00-04.00 น. และยังล่วงเลยไปถึงช่วงก่อน 06.00 น. ชี้ให้เห็นว่ามาตรการการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังเวลาที่ทางการกำหนดนั้น ยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง 3. เป็นที่น่าวิตกว่าผู้ประสบอุบัติเหตุที่เป็นคนเดินทางเท้านั้น เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี มากถึง 28.3% หรือทุกๆ หนึ่งในสี่ของผู้เดินทางเท้าที่ประสบอุบัติเหตุนั้นเป็นเด็กเล็ก ถึงแม้ว่ากลุ่มคนเดินทางเท้าที่ประสบอุบัติเหตุสูงสุดจะอยู่ระหว่าง 26-60 ปี และปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่คนเดินเท้ากลุ่มนี้คือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีมากถึง 72.4% 4. รถจักรยานยนต์เป็นสาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งพบว่ามีผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์มากถึง 76.2% และผู้เสียชีวิตที่เกิดจากรถจักรยานยนต์สูงถึง 72.4% ของยานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุทั้งหมด 5. อุบัติเหตุที่เกิดกับรถจักรยานยนต์เป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี หรือ Single Vehicle Crash มีมากถึง 43.3% อย่างไรก็ตาม มากกว่าครึ่งของผู้ขับขี่กลุ่มนี้ (58.5%) เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 6. ปัจจัยสำคัญที่พบจากผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุกับหมวกนิรภัย ได้แก่ ผู้ขับขี่มีอัตราการสวมหมวกนิรภัยมากกว่าผู้ซ้อนท้ายเกือบสามเท่า เพศหญิงมีอัตราสวมหมวกนิรภัยมากกว่าเพศชาย การสวมหมวกนิรภัยในเวลากลางคืนมีเพียง 14.2 % และลดลงเหลือเพียง 7.8%ในเวลากลางคืน อัตราการใช้หมวกนิรภัยจะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้ใช้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์มีผลให้ผู้ขับขี่สวมหมวกนิรภัยน้อยลง นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญที่พบจากผู้ใช้รถยนต์ รถกระบะ/รถตู้ที่ประสบอุบัติเหตุกับเข็มขัดนิรภัย ได้แก่ ผู้ขับขี่มีอัตราการใช้เข็มขัดนิรภัยมากกว่าผู้โดยสารถึงห้าเท่า เพศหญิงมีอัตราการใช้เข็มขัดนิรภัยมากกว่าเพศชาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์มีผลให้ผู้ขับขี่ใช้เข็มขัดนิรภัยลดลง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1372.pdf
ขนาด: 512.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 5
รวมทั้งหมด: 571
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV