บทคัดย่อ
ปัญหาและทุกข์ของประชาชนเมื่อใช้บริการสถานบริการสาธารณสุข งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทุกข์ของผู้รับบริการสุขภาพเพื่อเสนอข้อแนะนำในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคม ปี พ.ศ. 2540 สถานบริการตัวอย่างได้แก่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลรัฐและเอกชน สถานีอนามัย รวมทั้งสิ้น 1473 สถานบริการ ทุกข์และความไม่พอใจถูกจัดกลุ่มตามลักษณะสาเหตุการเกิด ได้แก่ เกิดจากผู้ให้บริการ ลักษณะความเจ็บป่วยของผู้รับบริการ สิ่งแวดล้อมของสถานบริการ อุปกรณ์ทางการแพทย์ การบริหารจัดการของสถานบริการ บุคลิกลักษณะของผู้ป่วย รวมไปจนถึงสถานะทางสังคมของผู้รับบริการ ลักษณะของงานบริการ และประเภทของการประกันสุขภาพ จากการศึกษาพบว่า ความขัดแย้งในกลุ่มผู้ให้บริการเป็นสาเหตุที่พบมากซึ่งนำไปสู่ความด้อยคุณภาพของงานบริการขณะที่ผู้ให้บริการที่มีไม่พอส่งผลให้ต้องรอนาน การไม่บอกรายละเอียดการรักษาต่อผู้ป่วย และการไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้ป่วยก็เป็นสองสาเหตุที่พบบ่อย ความแออัดและไม่สะอาดใน OPD ทำให้ผู้ป่วยไม่มั่นใจในคุณภาพบริการโดยเฉพาะการควบคุมการติดเชื้อ สำหรับผู้ป่วยภายใต้โครงการ สปร จะไม่รู้สึกมั่นใจในคุณภาพบริการ ผู้ป่วยคนไทยส่วนใหญ่มักเชื่อมโยงคุณภาพงานบริการไปกับเทคโนโลยีการแพทย์แพงๆ ซึ่งการศึกษานี้แนะนำว่าการลดความทุกข์ของผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสมอไป
บทคัดย่อ
Populations’ Suffering from Health Care Utilisation The Thais’ suffering as a consequence of health care utilization was studied in order to set up recommendations for improvement. Quantitative and qualitative study was used during August to October 1998. The sampled health care facilities were the university hospitals, both public and private hospitals, and health centers in totality of 1473 facilities. Their suffering and dissatisfaction were grouped in terms of cause natures as following: health providers, patients’ illness, environment of health facilities, medical equipment, facilities’ management and administration, patients’ profiles including their socio-economic status, services features and health insurance schemes. With regard to health providers, conflicts among health providers were often found possibly leading to poor quality of care while insufficient providers made long waiting lists. Lack of informing the patients and unavailability of patients’ consensus were also an important issue. Patients’ dissatisfaction led by either crowding or dirty OPD was linked to their uncertainty of how well the facilities did infectious control. Those insured by the Public Health Assistance Scheme did not feel confident in care quality given. Most of the Thais subjectively related good quality of care to high technology based medical instruments, comfortable OPD space, warm welcome reception, and care provided by specialists. The study viewed that financial resource was not the sole answer to reduce the patients’ suffering.