บทคัดย่อ
การเงินสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาลสำหรับผู้มีรายได้น้อย งานวิจัยนี้ได้ศึกษานโยบายสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้มีรายได้น้อยด้านการเงินสาธารณสุขในส่วนของงบประมาณและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ประเมินความพอใจและทัศนคติของผู้ให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐที่มีต่อการรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อย ประเมินความพอใจและทัศนคติของผู้รับบริการที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในรูปของบัตรสปร. (สวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล) ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งทดสอบสมมติฐานของความแตกต่างกันของทัศนคติและความพอใจต่อโครงการสวัสดิการประชาชนเพื่อการรักษาพยาบาลและการรักษาพยาบาลที่ได้รับระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากจังหวัดที่มีสัดส่วนการเข้ารับบริการของผู้มีบัตรสปร.ในสถานีอนามัยสูงที่สุดในแต่ละภาคของประเทศกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากจังหวัดที่มีสัดส่วนการเข้ารับบริการของผู้มีบัตรสปร.ในสถานีอนามัยต่ำที่สุดในแต่ละภาค และประเมินความพอใจและทัศนคติของผู้รับบริการที่ไม่มีสวัสดิการใด ๆ แต่ได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าบริการหรือเสียค่าบริการเป็นบางส่วน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิของจำนวนผู้มีสิทธิ งบประมาณและค่าใช้จ่าย ในเรื่องการดำเนินการด้านการครอบคลุมประชากรของโครงการสวัสดิการประชาชนเพื่อการรักษาพยาบาล การจัดสรรงบประมาณ และค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาลแสดงว่า จำนวนผู้มีบัตรสวัสดิการประชาชนเพื่อการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีไม่ได้สอดคล้องกับจำนวนคนยากจนของประเทศ จำนวนเงินงบประมาณสำหรับโครงการสวัสดิการประชาชนเพื่อการรักษาพยาบาลที่จัดสรรให้ในแต่ละภาคสัมพันธ์กับจำนวนผู้มีรายได้น้อยในแต่ละภาคและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี แต่การจัดสรรงบประมาณแบบรวมกลุ่มผู้ได้รับสวัสดิการทุกกลุ่มเข้าด้วยกันไม่ได้สะท้อนแบบแผนการใช้จ่ายที่แท้จริงของแต่ละกลุ่ม และแต่ละภาคแต่ละระดับสถานพยาบาลมีอัตราการเพิ่มขึ้นและลดลงของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกได้ลดลงในสถานพยาบาลในระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกลุ่มของผู้ที่ไม่มีสวัสดิการใด ๆ อยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้มีรายได้น้อยที่มีบัตร สปร. โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในที่เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในของผู้ที่มีบัตรสปร.กลับลดลง การวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการเก็บรวบรวมจากแบบสอบถามใน 10 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้แสดงให้เห็นว่า ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการโดยส่วนใหญ่มีความพอใจและทัศนคติที่ดีต่อนโยบายสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อย โดยจากการประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณสุขสำหรับผู้มีรายได้น้อยต่อผู้ให้บริการการรักษาพยาบาลทางด้านนโยนายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลพบว่า ผู้ให้บริการส่วนใหญ่มีความพอใจต่อนโยบาย แนวทางปฏิบัติ การคำนวณค่าใช้จ่ายในสถานพยาบาล แต่ไม่พอใจกับเงินงบประมาณที่ได้รับและการกระจายงบประมาณ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ผู้มีรายได้น้อยเสียค่าบริการเป็นบางส่วนหรือบางประเภท และผู้ให้บริการส่วนใหญ่มีความพอใจกับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้มีรายได้น้อย การประเมินความพอใจและทัศนคติของผู้รับบริการที่มีรายได้น้อยและเป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการประชาชนเพื่อการรักษาพยาบาล (สปร.) พบว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความพอใจต่อโครงการสปร. มีความพอใจต่อการบริการที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรสาธารณสุขหรือสถานพยาบาล แต่ผู้รับบริการบางส่วนยังไม่ทราบสิทธิและผลประโยชน์ของการมีบัตรสปร.หรือทราบแต่ไม่ถูกต้อง และผู้รับบริการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจ่ายค่าบริการเป็นบางส่วนหรือบางประเภทของการรักษาพยาบาล ผลการทดสอบสมมติฐานของความไม่แตกต่างกันของความพอใจและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างของผู้รับบริการที่มีบัตรสปร.ประเภทรายได้น้อยในจังหวัดที่มีสัดส่วนการเข้ารับบริการสูงสุดและในจังหวัดที่มีสัดส่วนการเข้ารับบริการต่ำสุดไม่มีความแตกต่างกันพบว่า การรับบริการในสัดส่วนที่สูงมีผลให้ผู้ป่วยมีความพอใจต่อการบริการน้อยลง การประเมินความพอใจและทัศนคติของผู้รับบริการที่มีรายได้น้อยแต่ไม่ได้เป็นผู้ถือบัตรสปร.ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานบริการของรัฐโดยไม่ได้เสียค่าบริการหรือเสียค่าบริการเป็นบางส่วนพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความพอใจต่อการบริการที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรสาธารณสุขหรือสถานพยาบาล ผู้รับบริการบางส่วนเป็นผู้ถือบัตรสปร.มาก่อนแต่บัตรฯหมดอายุและกำลังดำเนินการอยู่ หรือไม่ได้รับบัตรฯหลังจากบัตรฯหมดอายุ หรือเคยขอมีบัตรฯมาก่อนแต่ไม่ได้รับบัตรฯเนื่องจากไม่ได้ผ่านการพิจารณา ในขณะที่ผู้รับบริการบางส่วนไม่เคยทราบเกี่ยวกับโครงการสปร.มาก่อน หรือทราบแต่มีเอกสารไม่ครบ ผู้รับบริการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการที่ผู้มีรายได้น้อยควรจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นบางส่วนหรือเป็นบางประเภทของการรักษาพยาบาล
บทคัดย่อ
Health Care Financing for Low Income Population in Thailand The present study investigated a current public health care policy for low income population in Thailand on the financing and expenditures as well as evaluated the post-policy implementation outcome of the current system of health financing for the low income population aiming at the satisfaction and perception of health care providers, the poor who have enrolled in the free medical care project (FMCP) and the poor who have not enrolled in the free medical care project (NFMCP), but received free care or paid partial expenses. The study also tested the hypothesis of differences on the satisfaction and perception between the FMCP in the provinces that have the highest utilization rate of free medical care enrollees at health centers and the FMCP in the provinces that have the lowest utilization rate of free medical care enrollees at health centers.The secondary data on number of free medical care project enrollees, budget and health care expenditures revealed that the increasing number of enrollees in each year did not correspond to the total number of the poor in the country. Although the budget allocation for each region harmonized with the number of the poor in each region, the ways the budget was set for every group in the government welfare programs together has not reflected the real expenditure for each group, especially for the poor. Each region and each level of health facilities also experienced different patterns of changes in the health expenditure for the FMCP. The health expenditure for the NFMCP was in a high level compared with that of the FMCP. However, unlike the FMCP, the inpatient expenditure of the NFMCP still increased. The analysis on primary data collecting from 10 provinces in the north, northeast, central, east and south regions showed that both providers and poor patients mostly satisfied with and agreed to the health policy for the poor. The assessment of the impact of the policy for the poor on the providers showed that most providers satisfied with the policy, practice, expenditure calculation in health facilities. The providers also mainly satisfied with the work and job related to the poor in the workplace. Nonetheless, most providers did not satisfied with the budget and the ways the budget was allocated in the provinces. Most providers also agreed that the poor should pay a proportion of total health expenses or a proportion of health expenses on some types of services. By assessing the satisfaction and attitude of the FMCP on the health policy for the poor, the results depicted that most FMCP satisfied with the policy and service received. However, some FMCP patients misunderstood or did not know about the right and benefits of being enrolled in the FMCP. Furthermore, most patients agreed that the poor should pay a proportion of total health expenses or a proportion of health expenses on some types of services. The hypothesis testing of differences on the satisfaction and perception between the FMCP in the provinces that have the highest utilization rate of free medical care enrollees at health centers and the FMCP in the provinces that have the lowest utilization rate of free medical care enrollees at health centers showed that the high (low) utilization resulted in lower (higher) patient satisfaction. By assessing the satisfaction and attitude of the NFMCP on the service received, the results revealed that most NFMCP satisfied with the services, providers and facilities. Some NFMCP were previous FMCP, but the free medical care cards had expired. Some NFMCP had requested for the free medical care cards, but they did not get the approval. Part of the NFMCP did not know about the free medical care project or knew about the project, but lack of some important document. Most NFMCP also agreed that the poor should pay a proportion of total health expenses or a proportion of health expenses on some types of services.