บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) มุ่งทบทวนองค์ความรู้และวิเคราะห์ถึงปัจจัยเชิงระบบ การจัดองค์กร โครงสร้าง และกลไกที่จำเป็น เพื่อรองรับการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยเรียนรู้จากกรณีศึกษา 5 กรณี ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ 1) นโยบายส่งเสริมสุขภาพ 2) นโยบายพัฒนาเด็กเพื่อสุขภาพ 3) นโยบายการแก้ปัญหาบุหรี่ 4) นโยบายการแก้ปัญหาเอดส์ และ 5) นโยบายการแก้ปัญหายาบ้า (2) ศึกษาถึงบทบาทขององค์กรเอกชน/ชุมชน/ประชาชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะ และ (3) สรุปบทเรียนและสังเคราะห์ทางเลือกที่ควรจะเป็นในการพัฒนาระบบ/โครงสร้าง/กลไก ทุกระดับสำหรับการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในประเทศไทย บทเรียนของนโยบายสาธารณะ ทั้ง 5 กรณี แสดงให้เห็นว่า 1. การจัดตั้งองค์กรหรือการปรับรูปองค์กรเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยมีกลวิธีที่สอดคล้องกับหลักการการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน การประสานงาน/ประสานแผน ระหว่างหน่วยงานทุกสาขาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง ในทางปฏิบัติจะมีประเด็นปัญหาในการประสานงาน/ประสานแผนและมีปัญหาในวิธีการงบประมาณ (เช่น กรณีนโยบายพัฒนาเด็ก นโยบายแก้ปัญหายาบ้า) 2. มาตรการนโยบายต่างๆ ที่กำหนดขึ้น จะมีความสอดคล้องและเหมาะสมอย่างไรนั้น ขึ้นกับวิสัยทัศน์และการให้ความสำคัญต่อแนวคิดส่งเสริมสุขภาพของผู้บริหารหรือผู้นำและการมี/การใช้หลักฐานจากองค์ความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดนโยบาย 3. การมีกลไกเพื่อการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ การพัฒนาความรู้และสร้างองค์ความรู้จากการทำวิจัยและระบบการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เป็นสิ่งที่จำเป็น 4. การออกกฎหมายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพมีความจำเป็น ในประเทศไทยที่ผ่านมากฎหมายส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของกระบวนการยุติธรรม แนวคิดในการใช้กฎหมายในการระดมทุนเพื่อนำมาทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ดังเช่น การออกกฎหมายจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพยังมีอยู่น้อย จึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนกระบวนการทัศน์ใหม่ในการร่างกฎหมาย 5. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรเอกชนและประชาชน เป็นหัวใจของการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากประชาชนเป็นเจ้าของสุขภาพ จึงจำต้องสนับสนุนให้มีโครงสร้างและกลไกการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง มีการให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน โดยการช่วยเหลือจากนักวิชาการ นอกจากนั้น ความตื่นตัวเรื่องสุขภาพขององค์กรเอกชนและประชาชน ยังเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีมาตรการนโยบายที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ทำให้สามารถตัดสินใจเลือกแนวทางนโยบายและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม เสนอความความคิดเห็นที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่ายและตรวจสอบผลกระทบจากการดำเนินนโยบาย 6. ภาครัฐมีบทบาทเชื่อมโยง ประสานเพื่อเสริมจุดแข็งและลดจุดอ่อนของภาคีความร่วมมือต่างๆ นอกภาครัฐ โดยแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเสริมศักยภาพของชุมชนและประชาชน ให้เป็นผู้ริเริ่ม ผู้ตัดสินใจและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสุขภาพและปัญหาสุขภาพของตนเอง โดยสรุป การพัฒนาระบบนโยบายสาธารณะ จะต้องปรับแนวความคิดของกระบวนการนโยบาย ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ในสังคมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ผู้กำหนดนโยบายจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจากนโยบายนั้น และแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จะต้องสนับสนุนการปรับโครงสร้างองค์กรหรือการจัดองค์กรใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายหรือแผนงานที่เหมาะสม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้งมีกลไกการติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน
บทคัดย่อ
This report had three objectives. Firstly, it aimed to review the existing knowledge and analyzed about system, structure, and mechanisms of healthy public policy development in 5 case studies: namely, health promotion policy, healthy child development, anti-tobacco policy, AIDS policy, and anti-Amphetamine drug and its derivatives policy. The cases were both from domestic and international experiences. Secondly, it intended to study about community involvement and participation along policy process in each case. Lastly, structure and mechanisms of development were synthesized and proposed as options for Thailand. Case studies shed light lesson learnt at least in 6 areas as follows: 1) re-organization or re-structure is essential to establish with new health promotion approach in the Ottawa Charter. New management, through the concept as health is cross-cutting issue, would give advantage of working together, co-ordination, and collaboration between and among the sectors, as well as strengthening the communities and people participation. 2) appropriateness and relevancy of policy measures depends on health promotion view of the leader / administer and wherter such measure is based on correct knowledge 3) mechanisms for good health information development and transfer, knowledge establishment, research and development, and monitoring and evaluation are required. 4) Law enactment for health promotion, besides justice purpose, need to be enhanced and law enforcement needs to be strengthened. Paradigm to draft such a law for supporting health promotion activities like Thai Health Promotion Fund have to be changed. 5) As key success factor, health promotion activities are central to have partnership involvement and people participation. therefore, effective management and good information exchange are crucial. Appropriate knowledge transfer and awareness of self and community care would alert and call for impact assessment as well as healthy policy measures and transparent decision-making. 6) The government should act as a collaborator to link each partner to assist people and communities to formulate their action plan for health promotion. In summary, development of health public policy needs to change policy process which enhances all stakeholders involvement and participation. To formulate public policy, policy-makers have to think about the impact that might be happened after implement process. Decision-makers should be responsible for mistakes if negative impact occurs. Therefore, it is required to establish new organization with new health promotion approach and good mechanisms for information and knowledge transfer, as well as monitoring and evaluation process.