บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพการดำเนินงานของเครือข่ายภาคีองค์กรชุมชน/เอกชนที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ 2) บทบาท ศักยภาพ กลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรชุมชนเอกชน/ชุมชน ระดับรากฐานที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ 3) แนวคิด มโนทัศน์ วิสัยทัศน์ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย และข้อเสนอในการปฏิรูประบบสุขภาพ ดำเนินการในพื้นที่ 4 ภาค โดยใช้รูปแบบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมการสัมมนา มีจำนวนทั้งสิ้น 127 คน ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านผู้สูงอายุ กลุ่มหรือองค์กรที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้สูงอายุตามธรรมชาติ หรือชมรมผู้สูงอายุที่ไม่สังกัด หรือ ก่อตั้งโดยหน่วยงานราชการ ผลการสัมมนาพบว่า ภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุไทยในอนาคตเมื่อเปรียบเทียบศักยภาพกับปัจจุบัน (2544) เห็นว่ามีศักยภาพดีขึ้นมากกว่าเลวลง คือ คิดว่าดีขึ้นร้อยละ 55 ส่วนสถานภาพการดำเนินของเครือข่ายภาคีองค์กรชุมชน/เอกชนที่ทำงานด้านผู้สูงอายุในแต่ละภาคนั้นมีการดำเนินงานที่คล้ายคลึงกันทางด้านวัตถุประสงค์ แต่กิจกรรมจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของผู้สูงอายุ สำหรับข้อเสนอในการปฏิรูประบบสุขภาพจากเวที ทั้ง 4 ภาค มีข้อเสนอที่คล้ายคลึงกัน สามารถสรุปแนวทางเกี่ยวกับการปฏิรูประบบสุขภาพได้ 3 ประการ ดังนี้ คือ 1. การบริการของภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานแบบตั้งรับเป็นรุก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และควรจะเน้นหลักการบริการที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน 2. การส่งเสริมระบบการส่งเสริมสุขภาพจะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เน้นให้ความรู้การจัดบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพกับชุมชนเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีก่อน 3. การป้องกันและควบคุม ควรจะทำควบคู่กันไปกับการส่งเสริมในประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วน อาจจะจำเป็นต้องใช้ระบบการป้องกันและควบคุมเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติทันที
บทคัดย่อ
Vision and Direction toward Health System Reform:views of civil aging societyThe participatory research aimed to understand the following aspects which are related to aging issues in Thailand: a) the existence and situation of network of community based agecare organizations; b) roles, capacities and strategies of community based agecare organizations; c) vision and mission toward improvement of quality of life of older people in Thailand. The information fed by the participants, most of whom were older people from rural poor areas throughout the country, through participatory discussion that included A.I.C, focus groups techniques. There were 127 participants from non-governmental age related organizations, indigenous group of older people. Comparison of the image of Thai older people in future compare to current situation (2000), it is revealed that about half of the participants (55%) indicated that the living condition of the older people would be better than present because aging issues is being campaigned and well-recognized by public increasingly. The participants of all four regions stated that the aims of organizing activities are similar in terms of achieving the objectives of the establishment of the elders' clubs which aim to encourage older people to live with their families in communities as long as possible. However, the types of activities are different in accordance to the needs and preference of the older people and the conditions of the areas. The recommendations presented by the participants are similar which can be concluded as followed:All cares and services provided by the government sectors need to be reviewed, particularly actively provisions, instead of passively ones. Such provisions should be accessible by all older people and equally.Health promotion measures should be sustainable and should emphasis on health information for community and self health care. Prevention and control of diseases measures should go along and make sure that it can be brought to practice effectively.