บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความครอบคลุมการรับบริการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในเด็กอายุ 0-5 ปี จังหวัดลพบุรี โดยการสำรวจภาคตัดขวาง ประชากรเป้าหมาย คือเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 173 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การศึกษาพบเด็กอายุต่ำสุด 2 เดือน สูงสุด 5 ปี เฉลี่ย 2.3 ปี ผู้ที่ตรวจพัฒนาการเด็กคือพ่อแม่เด็กและญาติร้อยละ 68.5 พบผิดปรกติร้อยละ 2.2 และได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ทุกราย ส่วนใหญ่ได้ชั่งน้ำหนักตัวเพียงครั้งเดียวร้อยละ 71.8 มีเด็กที่มีน้ำหนักตัวอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 68 เด็กได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคร้อยละ 98.3 วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 97.7, วัคซีนโปลิโอ ร้อยละ 95.4, คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ร้อยละ 94.8 วัคซีนป้องกันหัด ร้อยละ 93.3 และที่ได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ คือวัคซีนไข้สมองอักเสบ เจ อี ร้อยละ 86.2 เด็กไม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ 65.9 และฟันผุร้อยละ 42.4 ส่วนการใช้สมุดอนามัยแม่และเด็กเป็นเครื่องมือผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กเคยอ่านร้อยละ 56.7 และในกลุ่มที่อ่านนี้ได้ใช้ประโยชน์ร้อยละ 96.9 และ 3 อันดับแรกของเรื่องจากสมุดอนามัยแม่และเด็กที่นำมาใช้ประ โยชน์คือ การให้อาหารเด็ก การตรวจพัฒนาการของเด็ก และการนัดฉีดวัคซีน ตามลำดับ
บทคัดย่อ
This cross-sectional survey was aimed at exploring the health-promotion coverage
of and disease-prevention services for children 0-5 years old in Lop Buri Province. A total
of 173 children were selected by two-stage cluster sampling probability proportional to
size. This study found that the persons most frequenlty acting as checkers of the children’s
progressive development were their mother and father (68.5%); 2.2 percent of the children had abnormal results and all of them were take care of by physicians; of the 71.8
percent that were weighed, 68 percent had normal weight. Almost all (98.3%) had received Bacillus-Guerin (BCG) vaccine, hepatitis B vaccine (97.7%), polio vaccine (95.4%),
diphtheria, tetanus toxoid and pertussis vaccine combined (94.8%), measles vaccine (93.3%)
and Japanese encephalitis vaccine (86.2%). Most of the children did not get dental care
(65.9%) and 42.4 percent had dental carries. More than half (56.7%) of the parents had
read their children’s health record and almost all (96.9%) of them used their books. The
three most useful aspects of the books were for child-feeding, checking the progress of
the children and making appointments for vaccination, respectively.