บทคัดย่อ
วิถีชีวิตและวิถีสุขภาพของคนงานก่อสร้างในภาคเหนือการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาบริบทและกลไกที่เป็นตัว กำหนดวิถีชีวิตและวิถีสุขภาพของคนงานก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง1.ลักษณะของงานก่อสร้างและแบบแผนการเข้าสู่อุตสาหกรรมก่อสร้างของคนงานจากชนบท 2.ความสัมพันธ์ทางสังคมกับวิถีชีวิตของคนงานก่อสร้าง 3.แรงงานสัมพันธ์ที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของคนงานก่อสร้าง 4.ประเด็นบทบาทหญิงชายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสังเกต (Observation) จากคนงานก่อสร้างในท้องที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2537 ถึงเดือนกันยายน 2538 สรุปผลการวิจัยพบว่า การขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชุมชนก่อสร้างหลายประการ แม้ว่าจะได้เอื้อประโยชน์ในการสร้างงานให้แก่แรงงานชนบท ซึ่งต้องหันมาพึ่งเศรษฐกิจนอกภาคการเกษตร แต่การที่คนงานก่อสร้างเป็นแรงงานนอกระบบจึงทำให้ถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน หลายประการ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวิถีสุขภาพของคนงาน และกล่าวได้ว่าคนงานก่อสร้างเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่สุดกลุ่มหนึ่งในสังคม ไทยที่ถูกทิ้งให้เผชิญกับปัญหาสังคมและสาธารณสุขโดยลำพัง การแก้ปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ ผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่จำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งนี้เพราะ1.คนงานก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจต่อรองเนื่องจากระบบการจ้างงานเป็นลูกจ้างรายวันและจ้างเฉพาะโครงการ การละเมิดสิทธิคนงานด้านวันลาพัก ลาป่วย และ/หรือ วันหยุดพักผ่อนจึงดำเนินไปโดยไม่ปรากฎหลักฐาน รวมทั้งในการได้รับการคุ้มครองด้านความปลอดภัยในการทำงานและการรักษาพยาบาล2.การเป็นคนงานนอกระบบทำให้ขาดหลักฐานในการเรียกร้องสิทธิและได้รับความ คุ้มครองจากกฎหมาย และตัวคนงานเองก็เข้าไม่ถึงบริการของรัฐ เนื่องจากขาดความรู้ ขาดหลักฐาน ขาดปัจจัยในการร้องเรียนเมื่อไม่ได้รับค่าแรง3.ระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับผู้รับเหมาในเชิงอุปถัมภ์ที่มีมา แต่เดิมในระบบการทำงานก่อสร้างในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่หลายแห่งได ้หมดไป จากการเข้ามาของผู้รับเหมาต่างถิ่นหรือคนงานชาวเขา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับเหมาหรือหัวหน้างานกับคนงานได้เปลี่ยนไปในรูปของ การเป็นนายจ้างลูกจ้างมากกว่าการเป็นหัวหน้ากับลูกน้อง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบที่สามารถเกื้อกูลและดูแลผลประโยชน์ให้คนงาน 4.ปัญหาสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างไม่ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิด ที่ว่า คนงานสามารถดูแลตนเองได้เนื่องจากปัญหาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น แต่แนวความคิดในเรื่องนี้ควรอยู่ที่ประเด็นอาชีวอนามัย เพราะการเจ็บป่วยของคนงานเกิดจากสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อม ในโครงการก่อสร้าง ทั้งนี้ นายจ้างควรต้องรับผิดชอบ และต้องยอมลงทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงาน การพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างเท่าเทียมกันทั้งหญิงและชาย และความมั่นคงในอาชีพ5.ระบบประกันสังคมในปัจจุบันเป็นระบบที่ใช้กับคนงานประจำของบริษัทซึ่งต้องทำงานต่อเนื่องในบริษัทนั้น ๆ เป็นระยะเวลานานคนงานจึงจะได้รับผลประโยชน์ อย่างไรก็ตามคนงานก่อสร้างส่วนใหญ่จะไม่ได้รับประโยชน์จากระบบประกันสังคม เพราะเป็นลูกจ้างรายวัน ดังนั้น ระบบประกันสังคมที่มีประสิทธิภาพจะต้องคำนึงถึงความเป็นพลวัตรของลักษณะ และแบบแผนการจ้างงานในงานก่อสร้าง การที่ลักษณะการจ้างงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีความเป็นพลวัตรสูง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่โครงสร้างสวัสดิการสังคมจึงต้องมีแบบแผน สอดคล้องกับข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่ควรจะเป็นระบบเดียวกับงานที่แรงงานเป็นคนงานประจำอยู่กับนายจ้าง ตลอด แต่ควรหารูปแบบที่เหมาะสมกับคนงานก่อสร้างที่ต้องหมุนเวียนเข้าออกจากงาน ตามแบบแผนของลักษณะการจ้างงานคนงานก่อสร้างในปัจจุบัน อาทิ การจัดตั้งศูนย์บริการคนงานก่อสร้างโดยความร่วมมือระหว่างรัฐและองค ์กรเอกชน ที่คนงานก่อสร้างสามารถเข้าถึงได้ในการร้องเรียนด้านแรงงานสัมพันธ์ ในการให้ความรู้ด้านสิทธิประโยชน์ ให้คำแนะนำ/บริการสุขภาพหรือจัดให้มีศูนย์ดูแลเด็กเล็ก และการสร้างเครือข่ายให้คนงานก่อสร้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าคนงานจะย้ายไปอยู่ที่ใด ศูนย์ดังกล่าวจะยังเป็นศูนย์กลางให้เครือข่ายคนงานก่อสร้างได้มีพลังในการต่อรองด้านสุขภาพและวิถีชีวิตที่ดีขึ้น