• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

จัดการความรู้ จัดการเครือข่าย : ข้อเสนอปฏิรูประบบและกลไกภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

สุภาภรณ์ ปิติพร; Suphaporn Pitiporn; ดิสทัต โรจนาลักษณ์; กรกนก ลัธธนันท์; โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
การอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ด้านสุขภาพ ที่เกิดขึ้นในวงการสาธารณสุขโดยรวม และในหน่วยงาน องค์กร และบุคลากรที่ทํางานด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งมีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความพยายามปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และการทํางานร่วมกับเครือข่ายหมอพื้นบ้าน สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน ในกระบวนการนี้แนวคิดการจัดการความรู้ได้ถูกนําเสนอเป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญในการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ทัศนะใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาไปสู่ระบบการแพทย์พหุลักษณ์ แทนการพึ่งพาระบบการแพทย์สมัยใหม่เพียงอย่างเดียว ทําให้เกิดการยอมรับภูมิปัญญาการแพทย์นอกกระแสหลักที่หลากหลายว่ามีคุณค่าเช่นกัน ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นระบบความรู้ที่อยู่บนฐานชุมชน วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคม คนละชุดกับการแพทย์สมัยใหม่ซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และมีการพัฒนาวิธีวิทยา การจัดการ ระบบงานขึ้นมารองรับการใช้ความรู้ดังกล่าว การพัฒนาองค์ความรู้อันเป็นภูมิปัญญาไทยเองจึงต้องตระหนักในอคติของความรู้ที่แฝงอยู่ในโครงสร้างและสถาบันทางสังคมในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ในการกําหนดทิศทางการพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้มีฐานความรู้ของตนเองที่เข้มแข็ง สามารถเสริมกับระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ไม่ถูกครอบงําจนไม่เติบโต จึงมีข้อเสนอโดยนักวิชาการการแพทย์แผนไทย ให้มีการพัฒนากลไกสร้างและจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของระบบการแพทย์นอกกระแสหลักเหล่านี้ เพื่อสร้างความรู้เพื่อประโยชน์สูงสุดในด้านสุขภาพของประชาชนและการพัฒนาของประเทศ ข้อเสนอเกี่ยวกับกลไกดังกล่าวพอสรุปได้ดังนี้ 1. การสร้างกลไกเชิงสถาบันด้านวิชาการนอกระบบราชการ เพื่อความเป็นอิสระและคล่องตัวในการสร้างและจัดการความรู้ สร้างชุมชนทางวิชาการโดยประสานเครือข่ายภาคีต่างๆ เข้ามาร่วมทํางานวิชาการและพัฒนาความรู้เชิงระบบ มีการเสนอกลไกนี้ในชื่อว่า สถาบันสุขภาพวิถีไท 2. การพัฒนากลไกหลักในระดับชาติที่ทําหน้าที่กําหนดและประสานนโยบายในการพัฒนาภูมิปัญญาสุขภาพของไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผลักดันการวิจัยและพัฒนาในด้านนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติที่ได้รับการขานรับจากกลไกของรัฐและเอกชน 3. การสนับสนุนให้ชุมชนมีบทบาทในการจัดการความรู้และฟื้นฟูภูมิปัญญาสุขภาพ โดยสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เชื่อมโยงกับเครือข่ายทางสังคมต่างๆ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์โดยอาศัยแนวคิดเหล่านี้เป็นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาข้อเสนอในการปฏิรูปโครงสร้างและกลไกสร้างและจัดการความรู้ที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยใช้วิธีศึกษาจากการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้เน้นการสร้างและจัดการความรู้เฉพาะในส่วนของการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน มิได้ครอบคลุมถึงการแพทย์ทางเลือก
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1304.pdf
ขนาด: 280.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 119
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV