บทคัดย่อ
สังเคราะห์องค์ความรู้และกลไกการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชนภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและการดำเนินการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชน ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน และศึกษากลวิธีและรูปแบบกิจกรรมการดำเนินงานดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชนในบริบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมุ่งหวังว่าผลการศึกษาที่ได้จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชน ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทสังคมวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการ 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการสังเคราะห์จากเอกสารที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชน รวมทั้งเอกสารรายงานโครงการต่างๆที่ดำเนินการโดยภาครัฐและเอกชนเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 19 จังหวัด โดยสังเคราะห์จากเอกสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 19 เรื่อง ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาภาคสนามในพื้นที่โครงการและกลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อศึกษารูปแบบและกลไกในการดำเนินงานขององค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเลือกศึกษา 4 จังหวัด 6 พื้นที่ได้แก่ จังหวัด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ระยะที่ 3 ได้จัดเวทีภาคระดมสมองวิพากษ์ผลการวิจัยรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากนักวิชาการ นักปฏิบัติการ และนักวิจัยรวมทั้งผู้ที่มีประสบการณ์มีความรู้และดำเนินการจัดการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์จำนวนทั้งสิ้น 20 คน และส่งผลการวิจัยให้ผู้เชี่ยวชาญวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะจำนวน 2 ท่าน จากนั้นได้นำมาปรับสังเคราะห์องค์ความรู้ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ข้อสรุปและบทเรียนที่ได้จากการศึกษา ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อ/ป่วยเอดส์ที่บ้านโดยครอบครัวและชุมชนภายใต้บริบทสังคมวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสภาพปัจจุบัน มี 3 รูปแบบใหญ่ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบการดูแลที่ดำเนินการโดยภาคประชาชน ประกอบด้วย รูปแบบการดูแลของครอบครัว รูปแบบการดูแลของวัด และรูปแบบการดูแลของกลุ่มผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ด้วยกัน รูปแบบนี้องค์กรภาคประชาชนเป็นหลักในระบบการดูแล ร่วมกับมีการประสานการติดต่อเข้าหาและขอรับความช่วยเหลือ รับบริการต่างๆ จากองค์กรภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม ตามระบบการดำเนินงานขององค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐส่วนใหญ่ดำเนินกิจกรรมในเชิงตั้งรับและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ในรูปแบบนี้กลุ่มผู้ติดเชื้อและสมาชิกในครอบครัว มีการติดต่อขอความช่วยเหลือจากองค์กรภาคเอกชนบ้างเป็นบางส่วน แต่ยังให้ความสำคัญกับองค์กรภาครัฐมากกว่ารูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบการดูแลที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ประกอบด้วย รูปแบบการดูแลของสถานพยาบาลต่างๆ ในทุกระดับ แบ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการ ได้แก่ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต โดยทั่วไปเป็นรูปแบบการดูแลที่ดำเนินการตามนโยบายส่วนกลาง ลักษณะการดำเนินการเป็นฝ่ายตั้งรับ การดำเนินงานตามนโยบายขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารและทีมงานที่มีความพร้อมของหน่วยงานแต่ละแห่ง มีเพียงบางแห่งเท่านั้นที่ดำเนินการในลักษณะเชิงรุก และประสานงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจน รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบการดูแลที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน ประกอบด้วยรูปแบบการดูแลขององค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ รูปแบบการดูแลของมูลนิธิ และรูปแบบการดูแลขององค์กรศาสนา รูปแบบนี้องค์กรภาคเอกชนเป็นฝ่ายรุกติดต่อเข้าหาเพื่อให้ความช่วยเหลือดูแลกลุ่มต่างๆในองค์กรภาคประชาชน มีระบบการทำงานที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรมชัดเจน ในขณะที่องค์กรภาคประชาชนยังไม่ค่อยเข้าหาและขอความช่วยเหลือจากองค์กรภาคเอกชนมากนัก การดำเนินการติดต่อประสานงานกับองค์กรภาครัฐมีบ้างเป็นบางส่วน
บทคัดย่อ
Family and community care system for persons with HIV infection and AIDS: a review in Northeast Thailand This study reviews the present situation and implementation of caring for persons with HIV infection and AIDS at home by their families and the community. The study also examined the factors related to the care of persons with HIV infection and AIDS as well as studying methods and forms of activities for implementing the care of persons with HIV infection and AIDS at home. The study looked at the problems and obstacles arising in the management of the care of persons with HIV infection and AIDS at home by their families and the community in the Northeast social and cultural environment. It is hoped that the results of the study can be used as directions for developing care systems for persons with HIV infection and AIDS at home by the family and community, appropriately and in line with the social and cultural environment of the Northeast in the future. The present student was carried out in 3 stages. Stage 1 This stage involved synthesis from documents concerning research into the management of care of persons with HIV infection and AIDS at home by families and the community, as well as various project reports conducted both by the state and the private sector but only in the 19 provinces of the Northeast. The synthesis was from documents, research reports and 19 postgraduate theses. Stage 2 This stage was a field study in the research area and the target population to study the forms and mechanisms for implementation of the work of the various organization from both the state and the private sector, choosing 4 provinces and six areas, being the provinces of Khon Kaen, Kalasin, Surin and Roi Et and using in-depth interviews, group discussions and participant observation.Stage 3 This stage involved a critical brainstorming of the results of the research, as well as offering suggestions for policy by 20 academics, implementers and researchers, as well as those with experience, knowledge and those implementing the care of persons with HIV infection and AIDS. The research results were also sent to 2 experts for their criticism and for suggestions. The body of knowledge was then improved. Conclusions and lessons learnt from the study. The overall results of the study were that the form of care for persons with HIV infection and AIDS at home by the family and the community under the environment of the Northeastern society and culture at present has 3 major forms: Form 1 The form of care performed by the people This consists of the form of care by the family, the form of care by the temple and the form of care of persons with HIV infection and AIDS by themselves. In these forms people organizations are the main source of care systems, along with coordination in approaching for concrete help and service from state organizations operate activities which are responsive and operate according to their duties and responsibilities. In this form a few of those infected with AIDS and their families approach private organizations for help, but most attach importance to the state organizations. Form 2 The form of care performed by the state or Government Organization This consists of the form of care offered by medical services at all levels divided into those places which have a duty to serve such as Health Centres, Community Hospitals, and Central Hospitals, and units which have the duty to coordinate and promote, such as District Health Offices, Provincial Health Offices and Regional Communicable Disease Control Offices. In general this form of care is operated according to the central policy, with the type of operations being responsive. Implementation according to the policy depends on the readiness of the administration and the working team of the unit. There are only a few units that offer and offensive type of operation and coordinate clearly with the private sector. Form 3 The form of care operated by the private sector or Non-Government Organization This consists of the form of care given by private organizations for the public good, the form of care by foundations and the form of care by religious organizations. In this form of care, organizations in the private sector offensively make contact to give assistance to various groups in the population. There is a clear and concrete operating system. Public organization have not approached or coordination with state organizations in some parts.