บทคัดย่อ
การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยระคนเพื่อศึกษากระบวนการจัดการสารสนเทศผู้เข้ารับการบำบัดการเสพติดสาร ตามโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะสารเสพติดในช่วง 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2556 ใช้ตัวแบบการจัดการเป็นกรอบการศึกษา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีหน้าที่ในการจัดการข้อมูลระดับจังหวัด 3 คน อำเภอ 4 คน และตำบล 4 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอ 2 คน ท้องถิ่นตำบล 4 คน และผู้นำชุมชน 70 คน ทุกคนที่มีหน้าที่ในการกั้นหาผู้เสพและผู้ติดสารในชุมชน สนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ 47 คน วิจัยเอกสารคำสั่งที่เกี่ยวข้องและจากระบบติดตามเฝ้าระวังปัญหาสารเสพติด ได้ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพแบบสามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากระบบ บสต. โดยสถิติร้อยละ การศึกษาพบว่าความเร่งด่วนของกิจกรรมตามนโยบายสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะการเสพติดสาร โดยเฉพาะการตั้งเป้าหมายที่เน้นการรายงานตัวเลขของผู้เข้ารับการบำบัดการเสพติด ทำให้การค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดในชุมชนและการคัดกรองเข้ารับการบำบัดขาดการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้มีผู้ที่เคยเสพแต่เลิกแล้วแม้กระทั่งผู้ที่ปฏิเสธการเสพต้องมารายงานตัวและเข้ารับการบำบัดด้วย การเปลี่ยนแปลงแบบบันทึกและรายงานข้อมูลคือแบบ บสต.1-5 ที่ต้องใช้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การคัดกรองจนถึงการบำบัดและติดตามผู้เข้ารับการบำบัดในภายหลังที่มีการบำบัดไปแล้ว ทำให้มีการลงข้อมูลย้อนหลัง การกำหนดให้รายงานทางเว็บไซต์ โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการสนับสนุนไม่เพียงพอทั้งด้านทักษะการใช้โปรแกรมที่กำหนดและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการป้อนข้อมูลทางเว็บไซต์ ทำให้องค์ประกอบข้อมูลรายบุคคลบางส่วนขาดหายไป การป้อนข้อมูลมีความยากลำบากโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์และ/หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ข้อมูลที่รายงานผ่านเว็บไซต์จึงมีความคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตาม นโยบายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการติดตาม/ประเมินผลการบำบัดการเสพติด ยุทธวิธีต่อสู้เพื่อเอาชนะสารเสพติดผลักดันการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถมีความเชื่อมโยงข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์ร่วมกันได้หลายหน่วยงาน การถ่ายทอดนโยบายของผู้บริหารแต่ละหน่วยงานไปสู่การปฏิบัติควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีการตรวจสอบความเข้าใจงานในระดับผู้ปฏิบัติและควรมีการสนับสนุนในส่วนที่จำเป็นอย่างเพียงพอในการปฏิบัติด้วย
บทคัดย่อ
The objectives of this mixed-method study were to investigate the implementation
of the persons treated with narcotics with regard to the information management process
in the Policy to Win the War against Narcotic Drugs, from 1 February to 30 April 2004. A
management model was applied and data were collected from the public health personnel
who worked in the information management process, two provincial personnel, two
district personnel, four tambon personnel and the personnel responsible for finding narcotic
takers/addicts, six district personnel, 6 tambon personnel and 70 village leaders
using in-depth interviews. For 47 public health personnel, focus group discussion was
used as well as documents study and data analysis from the registration form (BST.1-5).
Qualitative data were checked and analyzed by triangulation techniques. Quantitative
data were described as percentages.
The urgent activities followed by the policy, especially determeneing the number of
narcotic takers/addicts, could not be rechecked. There were some persons who had quit
taking narcotics and some persons who had never taken any illicit drugs. The registration
and report form for selecting them and the treatment activities that had been used before
was changed to BST.1-5 and reported on the hospital‘s website. The change occurred after
these processes had already been done; thus, the personnel had to register and report
later. Inadequate essential supporting activities; technological skills (computer and
Internet), urgent problem-solving ability affected some elements of personal data loss,
especially in the area where computer and/or high-speed Internet were not available.
Data diviations occurred in all processes so that the data reported by the website could
not be used for monitoring and evaluation. However, the policy was the most important
factor reinforcing the development of information systems useful for multi-sectors.
Implementation of the policy should be in the same direction. Rechecking the understanding
of personnal and adequate essential support must be provided.