• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาระบบเครือข่ายการเฝ้าระวังการติดเชื้อแผลผ่าตัดในโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ ของประเทศไทย

นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล; Nongyao Kasatpibal;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
การเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ตําแหน่งผ่าตัดของประเทศไทยในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันอย่างมาก ทําให้ข้อมูลไม่สามารถนํามาเปรียบเทียบกันได้ การพัฒนาระบบเครือข่ายการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดเป็นวิธีการสําคัญในการพัฒนามาตรฐานการเฝ้าระวังเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพ และนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐาน ประเมินระบบและสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดในโรงพยาบาล 13 แห่ง ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์พยาบาลควบคุมการติดเชื้อและเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ตําแหน่งผ่าตัดแบบไปข้างหน้า โดยใช้วิธีการและเกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกาคํานวณอัตราการติดเชื้อโดยปรับตามดัชนีความเสี่ยงและเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาโดยรายงานเป็นค่า Standardized Infection Ratio (SIR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA version 7 การศึกษาครั้งนี้พบว่าการพัฒนาการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดให้มีมาตรฐานเดียวกัน ทําให้นําข้อมูลจากโรงพยาบาลต่างๆ มารวมกันได้สามารถเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อระหว่างโรงพยาบาลได้ ส่งผลให้มีอัตราการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดที่เป็นมาตรฐานสําหรับใช้ในการเปรียบเทียบ ได้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่น่าเชื่อถือ นําข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นําไปสู่การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย จนทําให้อัตราการติดเชื้อลดลง การมีเครือข่ายการเฝ้าระวังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงพยาบาล สามารถนําความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัด นอกจากนี้พบว่าโรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง ยังคงดําเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดในรูปแบบที่พัฒนาขึ้นต่อไป องค์ประกอบสําคัญในการคงไว้ซึ่งระบบและเครือข่ายการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดที่พัฒนาคือได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร มีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อเพียงพอ ได้รับความร่วมมือจากทีมดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีทรัพยากรสนับสนุนและงบประมาณเพียงพอ ปัญหาอุปสรรคสําคัญในการคงไว้ซึ่งระบบคือ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องพยาบาลควบคุมการติดเชื้อไม่เพียงพอและขาดบุคลากรที่ช่วยในการบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ข้อเสนอแนะคือทําผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ ประสานความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องและจัดหาพยาบาลควบคุมการติดเชื้อและบุคลากรให้เพียงพอ สรุปว่าการพัฒนาระบบเครือข่ายการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดเป็นการพัฒนาเชิงระบบให้ได้มาซึ่งการเฝ้าระวังการติดเชื้อตําแหน่งผ่าตัดที่มีมาตรฐาน ได้อัตราการติดเชื้อมาตรฐานสําหรับใช้ในการเปรียบเทียบและนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1294.pdf
ขนาด: 2.595Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 12
ปีพุทธศักราชนี้: 7
รวมทั้งหมด: 178
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV