บทคัดย่อ
การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ และทบทวนรูปแบบต่างๆ ของระบบ กลไก วิธีการจ่ายค่าบริการสุขภาพ ที่เป็นประสบการณ์ในประเทศไทยและที่มีในต่างประเทศ พร้อมกับวิเคราะห์ผลกระทบของแต่ละรูปแบบต่อความเป็นธรรม ประสิทธิภาพ คุณภาพบริการสุขภาพ โดยสังเคราะห์ข้อเสนอ ทางเลือก รูปแบบ กลไก วิธีการจ่ายค่าบริการสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยมุ่งให้เกิดความเป็นธรรม ประสิทธิภาพ คุณภาพของบริการสุขภาพ ตลอดจนนำเสนอสาระบัญญัติที่ควรกำหนดในร่างพรบ.สุขภาพแห่งชาติ โดยมีวิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลและการประกันสุขภาพในประเทศที่ผ่านมา ประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการทางสุขภาพในต่างประเทศและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการจ่ายเงินทั้งผู้ที่เป็นผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการในภาครัฐและเอกชน ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ในประเทศไทยเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนและเงินอุดหนุนแก่ผู้ให้บริการที่ผ่านมาพบว่ามีความหลากหลายมาก ระบบสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลและประกันสุขภาพแต่ละระบบมีการนำวิธีการจ่ายมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน มีการจัดระบบและกลไกในการจัดการจ่ายเงินไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ไม่มีการกำหนดวิธีการจ่ายค่าตอบแทนที่ให้แก่แพทย์หรือบริการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิโดยตรง ประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการจ่ายที่ผ่านมาอาจพอจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้การมีส่วนร่วมจ่ายของผู้ใช้บริการ ให้แก่ผู้ให้บริการโดยตรง (Out-of-pocket payment) การเบิกจ่ายตามบริการ (Fee-for-service) บางกรณีจะเป็นการเบิกจ่ายโดยตรงจากสถานพยาบาล เช่น กรณีผู้ป่วยในของสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และประกันสุขภาพภาคเอกชน บางกรณีเป็นเบิกเป็นสินไหมชดเชยจากผู้มีสิทธิโดยตรงกับต้นสังกัดหรือบริษัทประกันโดยตรง เช่น กรณีค่ายาและเวชภัณฑ์ผู้ป่วยนอกของสวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ในหลายกรณีจะมีการกำหนดเพดานวงเงินสูงสุดที่จะให้ความคุ้มครองไว้ด้วย เช่น กรณีของความคุ้มครองตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ และประกันสุขภาพภาคเอกชน เป็นต้น การเบิกจ่ายตามบริการโดยมีรายการอัตราค่าตอบแทน (Fee schedule) เป็นการกำหนดอัตราค่าตอบแทนและเงินอุดหนุนสำหรับบริการแต่ละประเภท มีการนำมาใช้มากในระบบประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน บางกรณีจะเป็นการเบิกจ่ายโดยตรงจากสถานพยาบาล เช่น การจ่ายเงินอุดหนุนกรณีฉุกเฉิน บางกรณีเบิกเป็นสินไหมชดเชยจากผู้ประกันตนซึ่งสถานพยาบาลอาจเป็นผู้ดำเนินการให้ เช่น กรณีคลอดบุตรการเหมาจ่ายรายหัว (Capitation payment) เป็นรูปแบบที่ประกันสังคมนำมาใช้ เมื่อมีการจัดตั้งระบบ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่นับว่าประสบความสำเร็จอยู่ไม่น้อยในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของระบบ อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีปัญหาอยู่มากในเรื่องคุณภาพของการรักษาพยาบาลการจ่ายตามรายป่วย (Per-case payment) โดยใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis-related groups, DRGs) เป็นวิธีการที่เพิ่งจะเริ่มมีผู้นำมาใช้เพื่อจ่ายเงินอุดหนุนแก่โรงพยาบาลของรัฐสำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายราคาแพง แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นการจัดสรรเป็นงบประมาณรายหัว (Allocated budget by capitation) เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้จัดสรรงบประมาณสำหรับผู้ให้บริการที่นำมาใช้ในประเทศไทย แต่จะเป็นการนำมาใช้ในภาครัฐเท่านั้น ที่จะเป็นการจัดสรรให้แก่เครือข่ายผู้ให้บริการระดับจังหวัด ซึ่งยังไม่มีสูตรหรือกรอบของกฎเกณฑ์ที่สัมพันธ์กับความต้องการที่ชัดเจนการจัดสรรเป็นงบประมาณรวมตามรายการที่มีการขอเบิกจ่าย (Line item budget) เป็นวิธีการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ให้บริการภาครัฐ ในส่วนของเงินเดือนของบุคลากร (Salary) งบดำเนินการและงบลงทุน ในส่วนที่เป็นงบประมาณจากรัฐ ทำให้ระบบบริการทางสุขภาพของรัฐเป็นแบบช่วยเหลือสังคม (Public assistance) ผู้ใช้บริการหรือผู้จ่ายอื่นๆ เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการรับภาระเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เช่น ค่ายาและเวชภัณฑ์
บทคัดย่อ
Payment Systems, Mechanisms and Approaches for Health Service for Equity, Efficiency and Quality Various payment mechanisms for health care and their impact on equity, efficiency and care quality were reviewed in this study. Recommendation for appropriate mechanisms for Thailand was also proposed to put in National Health Bill. Development of health insurance in Thailand and experiences of using various payment mechanisms in other countries were reviewed. A number of well experienced people, health care users and providers in both public and private sectors were interviewed. The study found diverse mechanisms in Thailand which could be grouped as following; out-of-pocket payment was directly made to providers, fee-for-services was remunerated to the insured under the Civil Service Medical Benefit Scheme and private insurance (some schemes having ceiling level per year),payment was made under fee schedule for example the Social Security Scheme and the Substitution Fund, capitation payment was used under the Social Security Scheme in order to contain medical costs and expenditures but was problematic to care quality, per-case payment on the basis of DRGs (Diagnosis-related groups) was made, budgeting by capitation was solely implemented in public sector, line item budgeting was used for allocating salary, operating and capital expenditure in public sector.