บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทบทวนข้อมูลและวรรณกรรมเชิงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และการจัดการเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีการศึกษาในประเทศไทย รวบรวมข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเชิงเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและงานวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ประเภทครุภัณฑ์ที่มีราคาแพง สถิติ ความคิดเห็น หรือทางเลือกเชิงนโยบายที่มีผู้รวบรวมไว้ในงานบทความวิชาการ ตลอดจนศึกษาทบทวนองค์ความรู้เชิงวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเทคโนโลยีทางการแพทย์ประเภทครุภัณฑ์ที่มีราคาแพงในระดับนโยบายสาธารณะ (Public policies) และนโยบายระบบ (System policies) ที่มีการศึกษาและเผยแพร่ในวารสารวิชาการต่างประเทศเกี่ยวกับการประเมิน การจัดหา จัดซื้อ การกระจาย ต้นทุนค่าใช้จ่ายและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีทางการแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเทคโนโลยีทางการแพทย์ประเภทครุภัณฑ์ราคาแพงไม่มากนัก การศึกษาส่วนใหญ่เน้นไปที่เทคโนโลยีเฉพาะเรื่อง มีการศึกษาเพื่อประเมินเทคโนโลยี (Technology assessment) อยู่บ้าง แต่ยังไม่กว้างขวาง การลงทุนทั้งในภาครัฐและเอกชนในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจในด้านครุภัณฑ์ทางการแพทย์มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลา ในขณะที่การเก็บสถิติการกระจายของเทคโนโลยียังไม่สมบูรณ์ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีของประชาชนอาจไม่มีความเสมอภาค ซึ่งประเทศยังไม่มีองค์กรหรือกลไกในการจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิผล อีกทั้งความรับผิดชอบในการกำกับดูแลกระจายอยู่ในหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน การทบทวนวรรณกรรมในต่างประเทศในเรื่องการประเมิน การจัดหา จัดซื้อ การกระจาย ต้นทุนค่าใช้จ่ายและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีทางการแพทย์ประเภทครุภัณฑ์ที่มีราคาแพงพบว่ามีรายละเอียดของข้อมูลในแต่ละประเด็นกล่าวถึงไว้ในแต่ละประเด็นไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามอาจพอนำมาสรุปรวบยอดได้ว่า มาตรการในการจัดการเทคโนโลยีทางการแพทย์แบ่งได้เป็น 3 ระยะใหญ่ๆคือ (1) มาตรการระยะก่อนเข้าสู่ตลาด (Pre-market) ได้แก่ มาตรการที่ต้องปฏิบัติก่อนที่จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ และเผยแพร่ในประเทศ การประเมินความต้องการ การประเมินความพร้อมในด้านโครงสร้างที่จะรองรับการใช้ประโยชน์ และการประเมินเทคโนโลยีนั้นเอง (2) มาตรการต่อกระบวนการจัดหาและการกระจายของเทคโนโลยี (Purchasing and diffusion) ได้แก่ มาตรการเมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้รับการประเมินแล้วว่าปลอดภัย มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ได้ในประเทศ เพื่อให้มีการกระจายเทคโนโลยีไปอย่างเหมาะสม ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนความเสมอภาคมากที่สุด และ (3) มาตรการต่อการใช้เทคโนโลยี (Use) ได้แก่ มาตรการที่มีผลต่อการตัดสินใจของแพทย์ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาคนไข้ เพื่อให้ใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด ไม่ใช้เทคโนโลยีมากหรือน้อยเกินไป
บทคัดย่อ
This research is primarily a literature review, aiming for reviewing information and academic literature related to health economics and management of medical technology in Thailand, gathering recommendations from health economic studies and policy research on expensive medical-technology equipment, statistics, opinions, as well as policy options published as academic articles. In addition, the review includes related body of knowledge on management of the technology at the public policy level and at the system policy level that has been studied and published in international academic journals, including technology assessment, acquisition, purchasing, diffusion, costs and utilization of the medical technology. The finding indicates that Thailand has a limited number of researches on management of expensive medical-technology equipment. Most of the studies are specific to certain technologies. There are some technology assessment works but they are not common. The investment of the public and private sectors on medical equipment before the country economic crisis tended to go up all the time. Despite imperfect data on the technology diffusion, there are evidence that access to technology is not equitable. There is no organization or mechanism to manage comprehensively and effectively. Responsibility on monitoring distribution is scattered among several governmental units. The international literature provides information on technology-assessment guidelines and measures, acquisition and import of technology, management of technology diffusion and use of expensive medical-technology equipment differently. Nevertheless, some conclusions can be drawn that management measures for management of medical technology can be classified into three phases. First, the pre-market phase comprises steps to be taken before import and diffuse the technology for use in the country, need assessment, assessment of infrastructures to support the technology and technology assessment. Second, the purchasing and diffusion phase includes measures after medical technology is proved to be safe and appropriate for use in the country. This is to ensure the proper diffusion of medical technology to maximize efficiency, effectiveness and equity in the system. Third, the use phase consists of measures affecting provider decision to utilize the technology in diagnosing or treating patients in order to warrant appropriate use.