บทคัดย่อ
การศึกษาแบบกึ่งทดลองเปรียบเทียบผลของโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงที่มีสิทธิข้าราชการ 118 คน เมื่อเริ่มโครงการกับเมื่อสิ้นสุดโครงการในระยะเวลาห่างกัน 6 เดือน โดยการบรรยายให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ เป็นเวลา 2 วัน 1 คืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจวัดชีพ, วัดดัชนีมวลกาย วัดแรงดันเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และใช้แบบสัมภาษณ์การปฏิบัติตนตามแนวนโยบาย 6 อ. ผลการศึกษาแสดงว่ามีการบริโภคอาหารรสหวานลดลง กินปลาเพิ่มขึ้น และลดมื้อที่กินอาหารมากที่สุดคือมื้อเย็น (ค่าพี 0.03, 0.02 และ 0.01 ตามลำดับ) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ระยะเวลาที่ใช้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น พฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะดีขึ้น (ค่าพี = 0.01, 0.03 และ 0.01 ตามลำดับ) ผลการตรวจสุขภาพทั่วไปดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องแรงดันเลือด (ค่าพี = 0.02) และชีพจร (ค่าพี = 0.03) ส่วนการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ การเลือกกินอาหารแต่ละมื้อ การเป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ พฤติกรรมทางด้านอารมณ์ สิ่งแวดล้อมด้านการกำจัดพาหะนำโรค การกำจัดน้ำเสีย การป้องกันโรค พฤติกรรมด้านอบายมุข และค่าดัชนีมวลกาย ไม่มีความแตกต่าง สรุปว่าการศึกษานี้ได้รูปแบบกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถนำไปปฏิบัติ และเพื่อพัฒนารูปแบบให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
บทคัดย่อ
The objective of the study was to evaluate the effectiveness of the remodeling of
health behavior programme. Participants included 118 civil servants of Prayuen district,
Khon Kaen Province. The programme consisted of lectures and behavioral remodeling
activities lasting two days and one night. Data collection was performed before and six
months after programme implementation. Six areas of health behavior according to the
Ministry of Public Health policy were measured by conducting interviews. Measurement
of blood pressure, body mass index, and blood sugar level were also performed. It revealed
that, at six months after programme implementation, the participants consumed less sugar, took more fish and decreased the amount of food consumed at dinner time,
at significantly different levels than before they began participating in the programme
(p-value = 0.03, 0.02 and 0.01, respectively). They also spent more time in performing
routine physical exercises, taking care of the sanitary environment and recycling garbage
(p-value = 0.01, 0.03 and 0.01, respectively). Significant improvement in physical examination
results were shown in terms of blood pressure (p-value = 0.02) and pulse rate
(p-value = 0.03). However, no significant differences were found in the following variables:
taking raw meat, participating in a health club, controlling emotions, eradicating
disease carriers, treating waste water, practicing protective measures against diseases,
practicing harmful behaviors that would lead to ruin and changes in body mass index.
More studies are needed to understand these unhealthy behaviors and to find appropriate
resolution.