บทคัดย่อ
โครงการศึกษาอัตราการใช้เข็มขัดนิรภัยในผู้ขับขี่รถยนต์ใน 4 จังหวัด, ประเทศไทย พ.ศ.2539การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยในคนขับรถยนต์ และผู้โดยสารด้านหน้าของรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ใน 4 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา และภูเก็ต และเพื่อทราบความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยในคนขับรถยนต์ประเภทต่างๆ ประเภทรถยนต์ที่อยู่ในการศึกษานี้มี 4 ประเภท คือ รถเก๋ง กระบะ กระบะดัดแปลง ตู้และแท็กซี่ การเก็บข้อมูลมี 2 วิธี คือ การสังเกตการคาดเข็มขัดของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้าของรถยนต์ที่ วิ่งมาจอดบริเวณสี่แยกไฟแดงสำหรับรถที่วิ่งในเมือง และทางแยกที่มีการชะลอรถสำหรับรถเก๋งที่วิ่งระหว่างเมือง และการสัมภาษณ์คนขับรถทั้ง 4-5 ประเภท เกี่ยวกับความเห็นของการคาดเข็มขัดนิรภัย การศึกษานี้ได้มีการสำรวจ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เดือน ม.ค. 2539 ซึ่งเป็นเดือนที่เริ่มกฎหมายบังคับใช้ ครั้งที่ 2 ใน 6 เดือนต่อมา (เดือน ก.ค.) จากการศึกษาได้ตัวอย่างจากการสังเกตในเดือน ม.ค. รวม 47,045 คัน เดือน ก.ค. รวม 76,173 คัน การสัมภาษณ์ในแต่ละครั้งได้คนขับรถยนต์ประเภทละ 300 คัน รวม 1,200 คัน สำหรับจังหวัดภูมิภาค และ 1,600 คัน สำหรับกรุงเทพฯ (เพิ่มแท็กซี่อีกประมาณ 300 คัน) ผลการศึกษาพบว่า 1.อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของคนขับรถยนต์รวม 4 จังหวัด รถทุกประเภท เดือนมกราคม 2539 เท่ากับร้อยละ 42.7 ส่วนในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ลดลงเหลือร้อยละ 30.7 อัตราการคาดลดลง ร้อยละ 28.1 ของอัตราเดิม2.อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารด้านหน้าในเดือนมกราคม 2539 เท่ากับร้อยละ 37.0 ส่วนในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกันลดลงเหลือเท่ากับร้อยละ 16.5 อักตราการคาดลดลง ร้อยละ 55.4 ของอัตราเดิม3.อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของคนขับรถยนต์จำแนกตาม 4 จังหวัด ในเดือนมกราคมและกรกฎาคม 2539 สูงสุดในกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 64.9, ร้อยละ 42.1) รองลงมาภูเก็ต(ร้อยละ 30.6,ร้อยละ 24.6) เชียงใหม่ (ร้อยละ 25.9, ร้อยละ 22.1) และ นครราชสีมา(ร้อยละ 22.4,ร้อยละ 18.5) ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราการคาดลดลงมากที่สุดของอัตราเดิม คือ กรุงเทพฯ ร้อยละ 35.1 รองลงมา ภูเก็ต, นครราชสีมา และเชียงใหม่ เท่ากับร้อยละ 19.6,17.4 ตามลำดับ 4.ในเดือนมกราคม 2539 คนขับรถเพศหญิงมีอัตราการคาดสูงกว่าในคนขับเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 48.5 และ ร้อยละ 41.7 ตามลำดับ) ซึ่งในเดือนกรกฎาคมอัตราการคาดลดลงทั้งเพศหญิง และเพศชาย(ร้อยละ 36.7,ร้อยละ 29.8 ตามลำดับ)คนขับชายมีอัตราลดลงของการคาดมากกว่าคนขับหญิง โดยลดลงเท่ากับร้อยละ 28.5 และ 24.3 ของอัตราเดิม ตามลำดับ 5. คนขับรถในเมืองมีอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยน้อยกว่าคนขับรถระหว่างเมือง อย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนมกราคม เท่ากับร้อยละ 36.2 และ 49.1 ตามลำดับ ส่วนเดือนกรกฎาคม เท่ากับร้อยละ 26.2 และ 35.0 ตามลำดับ6.อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยในวันจันทร์-ศุกร์ ในการสำรวจครั้งที่ 1 (ม.ค.)และครั้งที่ 2(ก.ค.) (ร้อยละ 41.4 และ ร้อยละ30.5) น้อยกว่า วันเสาร์-อาทิตย์ (ร้อยละ 46.1 และ ร้อยละ 31.3 ตามลำดับ) 7.คนขับรถประเภทที่มีการคาดเข็มขัดมากที่สุด คือ รถแท็กซี่ ในการสำรวจครั้งที่ 1 และ 2 เท่ากับร้อยละ 88.0, 47.1 ตามลำดับ รองลงมาคือ รถเก๋ง(ร้อยละ 53.5, ร้อยละ 40.6)รถกระบะดัดแปลง(ร้อยละ 32.0,ร้อยละ 22.1)รถตู้ (ร้อยละ 31.4, ร้อยละ 23.3)ตามลำดับและรถกระบะ (ร้อยละ 26.5, ร้อยละ 22.1) ตามลำดับ 8. ในรถที่มีผู้โดยสารด้านหน้า 1 คน รถที่คนขับคาดเข็มขัดนิรภัย, การสำรวจครั้งที่ 1 และ 2 ร้อยละ 72.5 และ 48.8 ของผู้โดยสารด้านหน้าจะคาดเข็มขัดนิรภัย ตามลำดับ ส่วนในรถที่คนขับไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มีเพียงร้อยละ 3.9, 2.5 ของผู้โดยสารด้านหน้าที่คาดเข็มขัดนิรภัยตามลำดับ 9.ในเดือน ม.ค. พบว่า อายุที่มีการคาดเข็มขัดน้อยที่สุด คือ กลุ่มอายุต่ำกว่า 26 ปี คือ ร้อยละ 31.7 กลุ่มอายุที่มีการคาดสูงสุดคือ 26-35 ปี ร้อยละ 39.7 รองลงมากลุ่ม 36-45 ปี และ 45 ปี เท่ากับ 35.2 และ 32.0 ตามลำดับ การสำรวจในเดือนกรกฎาคม พบว่าอัตราการคาดลดลงทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุน้อยกว่า 26 ปีที่มีอัตราการคาดสูงขึ้นเป็นร้อยละ 34.5 โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราคาดต่ำสุดคือ อายุ>45 ปี (ร้อยละ 30.8) 10.ในเดือนก.ค. อัตราการคาดเข็มขัดลดลงทุกอาชีพยกเว้น อาชีพคนขับรถเอกชน พบว่ามีอัตราสูงขึ้นจากเดิมร้อยละ 25.4 เป็น 39.1 อาชีพที่มีอัตราคาดต่ำสุดคือเกษตรกร(ร้อยละ 12.3),รับจ้างเหมา(ร้อยละ 21.3),ธุรกิจส่วนตัว(ร้อยละ 28.9), ขับรถราชการ(ร้อยละ 30.7),พนักงานบริษัท(ร้อยละ 37.3),ข้าราชการ(ร้อยละ 39.0) คนขับแท็กซี่คงเป็นอาชีพที่มีอัตราคาดสูงที่สุด(ร้อยละ 60.7)11.ในการสำรวจครั้งที่ 1 พบว่าคนที่ขับรถที่จดทะเบียนหลัง 7 ต.ค.2539 (ซึ่งกฎหมายบังคับให้คาดเข็มขัดนิรภัย ทุกราย) มีอัตราการคาด เท่ากับ ร้อยละ 47.8 ซึ่งลดลงเป็นร้อยละ 45.4 การสำรวจครั้งที่ 2 พบว่าคนที่ขับรถที่จดทะเบียนก่อน 8 ต.ค.2539 มีอัตราการคาดเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเดือน ม.ค.ร้อยละ 29.4 เป็นร้อยละ 30.8 ในเดือน ก.ค. 12. ในเดือน ม.ค. คนขับรถร้อยละ 8.4 ไม่ทราบว่าขณะนี้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคาดเข็มขัดนิรภัยลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.ค. อัตราการคาดเข็มขัดในกลุ่มที่ทราบว่ามีกฎหมายในเดือน ม.ค. และ ก.ค. เท่ากับร้อยละ 37.1 และ 34.5 ตามลำดับ และอัตราการคาดในกลุ่มไม่ทราบว่ามีกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32.7 ในเดือน ก.ค.เพิ่มจากเดือน ม.ค. (ร้อยละ 14.7)