บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อวิเคราะห์และทบทวนสถานการณ์การดูแลสุขภาพตนเอง ของปัจเจก ครอบครัว และชุมชน ทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในระดับต่างๆ ในบริบทของการปฏิรูประบบสุขภาพ และ3. เพื่อการสังเคราะห์ข้อเสนอสาระบัญญัติที่เกี่ยวข้องที่ควรกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ การศึกษาใช้การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเอกสาร และจากประสบการณ์และความคิดผู้ทรงคุณวุฒิ และนำข้อมูลดังกล่าวมาเพื่อการวิเคราะห์ ตีความ สังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะ ผลจากการประมวลองค์ความรู้สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ พัฒนาการของสังคมในระยะไม่ถึงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้การดูแลสุขภาพตนเองได้รับความสำคัญอีกครั้ง ซึ่งในการวิเคราะห์บทบาทประชาชนในการดูแลสุขภาพ จำเป็นต้องเข้าใจและมองให้เห็นดุลยภาพที่เปลี่ยนไปในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ วิชาชีพ และภาคประชาชน บทความนี้แบ่งการดูแลสุขภาพตนเองเป็น 5 ระดับ คือ การดูแลสุขภาพตนเอง การใช้ยารักษาตนเอง การดูแลสุขภาพตนเองในปัญหาสุขภาพเรื้อรัง กลุ่มดูแลตนเองและส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพตนเองในรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางสังคม การดูแลสุขภาพในมิติหนึ่งคือธรรมชาติของชีวิต สาระบัญญัติที่ควรกำหนดไว้คือ รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมให้การดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาแห่งการพึ่งตนเอง พฤติกรรมการใช้ยารักษาตนเองของประชาชนในชนบทมีแนวโน้มที่จะสร้างปัญหาต่อสุขภาพของประชาชนมากกว่าประโยชน์สาระบัญญัติที่ควรกำหนดไว้คือ รัฐพึงส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยารักษาตนเองที่ถูกต้อง ประหยัด และปลอดภัย ให้กับประชาชน และพึงสนับสนุนให้เกิดการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในทุกระดับ ปัญหาสุขภาพที่มีความเรื้อรัง และปัญหาที่ถูกตั้งข้อรังเกียจทางสังคม (Stigmatized problems) การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการรวมกลุ่มแบบ กลุ่มช่วยเหลือกันเอง (Support/Self-help Group) จึงเป็นทางออกในการแก้ปัญหาสาระบัญญัติที่ควรกำหนด คือ รัฐพึงถือเอาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว และชุมชนเป็นทิศทางหลักในการพัฒนาประเทศ เป็นเป้าหมายสำคัญของการบรรลุผลการพัฒนา สังคมไทยปัจจุบัน การรวมตัวเพื่อการดูแลสุขภาพมีมากขึ้น ทั้งรูปแบบที่หลากหลาย มีความครอบคลุมในหลายพื้นที่ หลายมิติ
บทคัดย่อ
This study was aimed at firstly analysing and reviewing domestic and international issues of self-care for individuals and communities, secondly synthesising recommendation for developing self-care behaviour at various levels and thirdly synthesising statements which should be put in the National Health Act and National Educational Act. The study was carried out by reviewing written document and gathering views of many experienced people. All inputs were analysed, interpreted and synthesised recommendation. The results were as following:to understand the development of self-care behaviour, we must understand interrelationship of three parties which were governments, professionals and people,self-care behaviour could be classified into 5 levels, individual self-care, individual self-medication, individual self-care for chronic diseases, group self-care and health promotion, and individual self-care in form of social movement,self-care is regarded as a dimension of life,proposed statement should include the government support and promotion for proper self-care,self-medication is more likely to damage health than create health,proposed statement should include the government support for right self-medication and for consumer protection at all levels,support / self-help group is considered useful for stigmatised health problems,proposed statement should include emphasis on strengthening family institution and community,building groups for self-care is important and appropriate for current Thai society.