บทคัดย่อ
ปัญหาที่สําคัญของงานสาธารณสุขในปัจจุบันของอำเภอร่อนพิบูลย์ คือ การขาดข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึงการปนเปื้อนของสารหนูหลังจากที่ได้พบการปนเปื้อนสารหนูในน้ำบ่อตื้นในอ.ร่อนพิบูลย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2529 เป็นต้นมา ได้มีความพยายามในหลายๆ ด้านเพื่อลดการใช้น้ำบ่อตื้นสําหรับการบริโภค ทําให้การใช้น้ำบ่อลดลง อย่างไรก็ตามน้ำบ่อที่มีการปนเปื้อนของสารหนูยังคงมีอยู่เป็นจํานวนมากในพื้นที่ และประชาชนบางส่วนยังคงมีความจําเป็นต้องใช้น้ำบ่อที่มีการปนเปื้อนเหล่านั้น ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งในการทําให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจากการใช้น้ำที่ปนเปื้อนของสารหนู ในปัจจุบันโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์มีเครื่อง AAS (Atomic absorption spectroscopy) ไว้สําหรับการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารหนู แต่ก็ไม่สามารถวิเคราะห์ผลของสารหนูที่มีอยู่อย่างรวดเร็วและแม่นยําได้ เนื่องจากการขาดประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือ จึงควรมีการเลือกใช้ชุดทดสอบสารหนูภาคสนามเพื่อการตรวจวิเคราะห์สารหนูที่เหมาะสมกับพื้นที่อําเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งชุดทดสอบสารหนูภาคสนามดังกล่าวต้องผ่านการทดสอบความถูกต้องแม่นยําและสํารวจความเป็นไปได้ในการตรวจวัดปริมาณสารหนูโดยประชาชนอําเภอร่อนพิบูลย์ เกณฑ์ในการคัดเลือกชุดทดสอบสารหนูภาคสนามสําหรับพื้นที่อําเภอร่อนพิบูลย์ประกอบด้วย ราคา ความเหมาะสมกับพื้นที่ การใช้และการแปลผลไม่ยุ่งยาก และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าชุดทดสอบสารหนูที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล (MU Kit) อยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และเมื่อตรวจสอบความถูกต้องแม่นยําของ MU kit ในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์พบว่า การเทียบสีที่ได้จากการวิเคราะห์กับตารางเทียบสีมาตรฐาน (Standard color chart) ของ AAN kit ให้ความถูกต้องมากกว่าของ MU kit โดยค่าระดับสารหนูที่เหมาะสมสําหรับการวัดอยู่ระหว่าง 100 ~ 200 ppb ระยะเวลาการทําปฏิกิริยาที่เหมาะสม 20 นาทีเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างชุดทดสอบกับเครื่อง AAS พบว่า ร้อยละ 95 ของค่าที่อ่านด้วยชุดทดสอบ มีค่าอยู่ในช่วง - 61 ถึง +53 ppb จากค่าที่อ่านจากเครื่อง AAS นอกจากนี้ยังได้ทําการอบรมการวิเคราะห์ปริมาณสารหนูด้วยชุดทดสอบแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และครูสอนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมใน ต.ร่อนพิบูลย์ โดยใช้สารละลายมาตรฐานที่มีความเข้มข้นของสารหนู 200 ppb ซึ่งพบว่า ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารหนูที่กลุ่มตัวอย่างวัดได้อยู่ในช่วง 150 ~ 250 ppb ในการอบรมการใช้ชุดทดสอบสารหนูแก่กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นนั้น ได้มีการสาธิตขั้นตอน กระบวนการวิเคราะห์รวมทั้งได้แสดงผลจากการวิเคราะห์ด้วย ดังนั้นหากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่อําเภอร่อนพิบูลย์ได้รับการอบรมเพิ่มขึ้นและได้ฝึกปฏิบัติมากเพียงพอจะสามารถวิเคราะห์ผลได้แม่นยํามากขึ้นและสามารถใช้ชุดทดสอบภาคสนามเพื่อประเมินปริมาณสารหนูในขั้นต้นได้
บทคัดย่อ
Lack of data showing the present arsenic contamination in Ronphibun has been a matter of public
health concern. Since arsenic contamination of shallow-well water in Amphur Ronphibun, Nakorn si thamarat
Province, had been found in 1985, interventions to reduce the use of the shallow-well water especially for
drinking and cooking have been implemented. However, a large number of shallow wells still exist and the
residents continue to use this water for domestic purposes. The residents are anxious about possible health
problems and the safety of using the water contaminated with arsenic.
Although an AAS is available in Ronphibun Hospital, fast analysis and accurate results of arsenic
analysis cannot be obtained because of problems with the instrument and not enough experience of the
analytical staff. We selected a test kit suitable for use in the field in Ronphibun, tested its accuracy and
investigated the feasibility of further arsenic measurement by Ronphibun people.
The test kit developed by Mahidol University met the criteria concerning cost, availability, ease of
use and interpretation and safety. Accuracy was evaluated using standard arsenic solutions in the laboratory in
Ronphibun Hospital, but the standard color chart of the AAN kit was found to give more accurate values.
A suitable range of measurement was between 100 and 200 ppb arsenic level and optimal reaction time was
20 minutes. Comparing the test kit readings with the AAS values of well water samples, 95 % of test kit
readings were within the range of -61 and +53 ppb around the AAS value. After training, groups of public
health staffs, health volunteers in villages and science teachers of junior high school in Tambon Ronphibun
measured arsenic levels in standard solution of 200 ppb using the kit with acceptable results, with 98 % of the
determinants falling in the range 150 to 250 ppb.
The procedure and results of arsenic analysis using the test kit in the field at Amphur Ronphibun were
shown to the group of the peoples, who well accepted the demonstration of arsenic as a colored result.
Measurement of arsenic levels by the people in Ronphibun using the test kit and with higher precision might
be possible after additional training and sufficient practice, in order to screen for elevated arsenic levels.