• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ : กรณีศึกษา การพัฒนาเมืองและการขนส่งเมืองเชียงใหม่ ระยะที่ 1 การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ

ลำดวน ศรีศักดา; Lamduan Srisakda; ศุวศา กานตนวนิชกูร; อำไพ ชนะกอก; ชมนาด พจนามาตร์; เทพินทร์ พัชรานุรักษ์; พีระศักดิ์ มะลิแก้ว; ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์; อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์; Suwasa Karntanawanitchakul; Chomnard Potjanamart; Tapin Pacharanuluk; Perasak Marikaew; Throngwu Tuangratpan; Areerat Nirunsittirat;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
มีหลักฐานเพิ่มขึ้นจากต่างประเทศว่า การพัฒนาเมืองและการขนส่งในเมืองที่ใช้การขนส่งทางถนนโดยยานยนต์เป็นหลัก มีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพอันเนื่องจากอุบัติเหตุจราจร การปล่อยมลภาวะทางอากาศและเสียง และโอกาสการสัญจรที่ออกกำลังได้มีน้อยลง อย่างไรก็ตาม การประเมินผลกระทบเหล่านี้ต่อสุขภาพก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ก็เพื่อ (1) เพื่อทบทวนสถานการณ์ และวิวัฒนาการของการพัฒนาเมืองเชียงใหม่และการขนส่ง แนวคิดในการพัฒนาเมือง ทบทวนนโยบาย ความคาดหวังและความพยายามในการพัฒนาเมือง รวมถึงสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพประชาชน และ (2) เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ อันเนื่องจากนโยบายการพัฒนาเมืองและการขนส่งเมืองเชียงใหม่ นโยบายในเมืองเชียงใหม่ที่คัดเลือกมาประเมินผลกระทบคือ นโยบายให้ส่วนบุคคลประกอบการรถขนส่งสาธารณะตามกลไกตลาด ไม่ถือว่าการขนส่งสาธารณะเป็นบริการสังคม ประกอบกับวิธีปฏิบัติในปัจจุบันที่เกี่ยวโยงกัน 2 ประการคือ การไม่จำกัดการใช้รถส่วนบุคคล และใช้การก่อสร้างถนนเป็นหลัก โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ประชาคมเชียงใหม่ได้ระบุประเด็น หรือปัจจัย ครอบคลุมทั้ง 4 มิติของสุขภาพ ผลกระทบสำคัญที่ควรประเมินผล ได้แก่ ความยากง่ายในการเข้าถึงกิจกรรม อุบัติเหตุจราจร คุณภาพอากาศและเสียง การสัญจรที่เสริมสุขภาพ ความรู้สึกไม่ปลอดภัย การเป็นโรคจากการจราจร เครือข่ายสังคมและการปฏิสัมพันธ์ การตัดขาดชุมชน และพฤติกรรมในการจราจร เครื่องมือและตัวชี้วัดขึ้นอยู่กับประเด็น หรือผลกระทบที่จะประเมิน ซึ่งจะใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การวัดทางวิทยาศาสตร์ การสนทนากลุ่ม การสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก ทำกรณีศึกษา หรือการผสมผสานระหว่างวิธีการดังกล่าว

บทคัดย่อ
There is growing evidence that present pattern city and transport development, in which private motorized vehicles plays a dominant role, have important health effects through, for example, accidents, emissions of air pollutants and noise and reduced opportunities for physical exercise. However, a methodology for Health Impact Assessment is presently in a beginning stage. The objective of this study is (I) to review situations of Chiangmai City and its transport development, development policies, citizen expectations, current efforts, environments, social and health situations, and (2) to determine scope and guidelines for the evaluation of health issues or impacts identified. The Chiangmai’s policy “ Public Transport is not considered as a public service. PT is provided by individual operator under market mechanism “ is chosen for the study. In addition there are two relating practices involved in the area --- no restriction on private vehicle use and road construction – based policy. Through public participation during the scoping process Chiangmai civic society identifies issues or factors to be considered covering all four dimensions of health. Impact evaluation should include accessibility to activities, accidents, air quality and noise disturbance, supporting health transport modes, feeling unsafe, traffic related diseases, social network and social interactions, social severance, and people behaviors in traffic. Tools and indicators for the impact assessment varies, depending on the impact considered, including scientific measurements, group discussion, questionnaires, in-depth interview, case studies, and their combinations.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1034.pdf
ขนาด: 1.959Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 8
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 127
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV