บทคัดย่อ
ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2549 ในพื้นที่หมู่ 2 หมู่ 4 หมู่ 5 และหมู่ 11 ของตำบลเชียงแรง ตำบลสบบง ตำบลภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีผู้ป่วยเกิดอาการอาหารเป็นพิษหลังจากกินลาบเนื้อเก้งดิบ 69 คน จากผู้ที่มีประวัติกินเนื้อเก้ง 192 คน ร้อยละ 62.31 เป็นชาย และร้อยละ 34.62 อายุ 30-60 ปี อาการที่พบบ่อยตามลำดับคือ อืดแน่นท้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ ถ่ายเหลว ปากแห้ง หายใจเหนื่อย และอาเจียน อาหารที่สงสัยเป็นสาเหตุของการป่วยคือ ลาบเก้งดิบ (ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 2.04 ช่วงความเชื่อมั่น 95% 1.11-3.75) แสดงว่าผู้ที่กินลาบเก้งดิบมีโอกาสได้รับสารพิษโบทูลินัมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้บริโภค 2.04 เท่า ชิ้นส่วนเก้งที่น่าเป็นสาเหตุได้แก่ ขี้เพลี้ย (ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.66 ช่วงความเชื่อมั่น 95% 1.13-2.43) และเครื่องในอื่นๆ (ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.66 ช่วงความเชื่อมั่น 95% 1.10-2.50) แสดงว่าผู้ที่กินขี้เพลี้ยและเครื่องในมีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ที่ไม่ได้กิน 1.66 เท่า ซึ่งบ่งชี้ชัดว่าการกินขี้เพลี้ยและเครื่องในเป็นความเสี่ยงการป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากข้อมูลทางวิทยาการระบาดและลักษณะทางเวชกรรมสรุปได้ว่าการป่วยจากการบริโภคลาบเก้งดิบเป็นโรคอาหารเป็นพิษโบทูลินัม (โบทูลิสม) โดยได้รับการยืนยันจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วย 7 ราย ในการระบาดครั้งนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต
บทคัดย่อ
The objectives of this descriptive study of a food-borne botulism outbreak caused
by the consumption of minced barking-deer meat in Phusang district, Phayao Province
were: (1) to confirm the diagnosis of botulism and the outbreak of the disease; (2) to
study the characteristics of the disease’s epidemiology, the outbreak and the distribution
of the disease; (3) to find the cause of the outbreak, source and vector of transmission of
the disease, and (4) to measure the disease control interventions. Descriptive and analytical
epidemiological studies used retrospective cohort studies to prove the hypo- thesis
of relative risk (RR) factors.
The result of this study found that 69 persons (26.53%) of the 260 persons who ate
the barking-deer were hospitalized in Chiangkham Hospital (between 24 June and 5 July
2006). The majority were males (62.31%), aged 30 - 60 years (34.62%). The main symptoms
of infection were abdominal distension, stomach ache, nausea, diarrhea, dry mouth,
difficulty breathing, and vomiting, respectively. An analytical epidemiological study
found that the food that caused the illness was raw minced barking-deer meat (RR = 2.04,
95% CI = [1.11 - 3.75] and showed that the persons who ate the raw meat were two times more to get the disease. As for other barking-deer body parts, it was found that the bile
(RR = 1.66,95 % CI = [1.13 - 2.43]) and entrails (RR = 1.66, 95% CI = [1.10-2.05] were the
main risk factors. The laboratory results confirmed that seven of the patients who got
botulism survived.
It was suggested to the public health institute and the officials related to the Bureau
of Epidemiology that they should take care of the people by emphasizing the importance
of hygiene and not eating raw meat, especially entrails, and that they should change their
consumption behaviors.
It was also suggested that the next research (1) study the consumption behaviors
related to eating raw meat and find methods for reducing illness, and (2) study ways to
communicate information on safe consumption behavior.