• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยกับการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ ในการกำหนดนโยบายสาธารณสุขไทย

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์; พนิต มโนการ; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร;
วันที่: 2541
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ (Stakeholders) ในการกำหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศ มีความสำคัญเป็นอันมาก เพื่อให้นโยบายที่ถูกกำหนดนั้นได้มีการยอมรับและดำเนินการอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดการพัฒนา การมีส่วนร่วมนี้หากเป็นไปบนพื้นฐานขององค์ความรู้ที่แท้จริง (knowledge – based) จะยิ่งทำให้การมีส่วนร่วมนั้นสามารถกำหนดทิศทางนโยบายการพัฒนาที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น การวิจัยเชิงนโยบายเป็นหนทางหนึ่งที่ได้มาซึ่งองค์ความรู้สำหรับฝ่ายต่างๆ อย่างใดก็ตามผู้มีส่วนร่วมฝ่ายต่างๆนั้น มีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่จะทำให้การวิจัยสามารถประสานในกระบวนการ (Process) ที่เป็นประโยชน์มากที่สุดต่อการกำหนดนโยบายแล้ว ทุกๆฝ่ายจะต้องมีการพัฒนาวิธีการมีส่วนร่วมของทุกๆฝ่าย เช่น การส่งเสริมให้นักวิจัยมีการทำวิจัยเชิงนโยบายในลักษณะที่เกี่ยวโยงกับการตัดสินใจ (Decision-linked research) มากขึ้น การส่งเสริมวัฒนธรรมของการใช้ข้อมูลวิชาการหรือหลักฐานที่ได้จากการศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเชิงนโยบาย (Evidence – based decision) ในหมู่นักบริหารมากขึ้น การส่งเสริมการวิจัยเชิงนโยบายให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ และการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory process) ของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายผ่านเวทีการแลกเปลี่ยน (Forum) หรือประชาพิจารณ์ (Public hearing) จึงทำให้การวิจัยและการมีส่วนร่วมเป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายสาธารณสุขที่ตอบสนองต่อประชาชนมากที่สุด
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 1998_DMJ3_การวิจั ...
ขนาด: 484.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 123
ปีพุทธศักราชนี้: 81
รวมทั้งหมด: 964
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV