บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของพยาบาลในการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาระบบบริการสุขภาพ วิสัยทัศน์เกี่ยวกับระบบสุขภาพไทยและบทบาทของพยาบาลและสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ประชาคมพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ ในภาคเหนือ จำนวน 1,269 คน เพิ่มเติมโดยผู้รับบริการ บุคลากรสุขภาพอื่น ผู้ทรงคุณวุฒิและพยาบาลทั่วประเทศ ผ่านการจัดเสวนา (11 ครั้ง) การสัมภาษณ์เจาะลึก (29 ครั้ง) การสนทนากลุ่ม (11 ครั้ง) การประชุมโต๊ะกลม (2 ครั้ง) การจัดสัมมนาระดับประเทศ (1 ครั้ง) และการประชุมวิชาการระดับชาติ (1 ครั้ง) ข้อมูลได้โดยการทำกิจกรรมกลุ่ม การใช้แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แนวคำถามของการประชุม แนวคำถามสำหรับการทำกลุ่มย่อยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อมูลวิเคราะห์เชิงเนื้อหา มีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานการณ์ของระบบบริการสุขภาพ สะท้อนปัญหาของการให้บริการสุขภาพ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ กล่าวคือ การบริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ บริการไม่ได้มาตรฐานและคุณภาพ ผู้ให้บริการมีภาระงานสูง ขาดทักษะการทำงาน มีความเครียด ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีโอกาสพัฒนาตนเองน้อย ผู้รับบริการมีความไม่พอใจในบริการในเรื่องที่ไม่ได้รับบริการตามสิทธิประโยชน์ ไม่ได้รับความเสมอภาคในการมารับบริการ ค่ารักษาพยาบาลแพง บริการไม่ดี ผู้ให้บริการมีพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่เหมาะสม ผู้รับบริการต้องการได้รับการให้บริการที่ดี เป็นระบบ ค่ารักษาพยาบาลเป็นธรรม และผู้ให้บริการมีความรู้ มีมนุษยสัมพันธ์ มีจิตใจให้บริการและมีจำนวนเพียงพอ 2. พยาบาลเสนอวิสัยทัศน์ระบบสุขภาพไทย ว่าเป็นระบบบริการสุขภาพเชิงรุกเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความเสมอภาค บุคลากรทางสุขภาพมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ภาครัฐและหน่วยงานด้านสุขภาพมีนโยบายและกลยุทธ์สนับสนุนการมีสุขภาพดีของประชาชน 3. วิสัยทัศน์บทบาทพยาบาลในระบบสุขภาพใหม่ ต้องการให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานในทุกระดับมีบทบาทในการให้บริการสุขภาพเชิงรุกมากขึ้น มีความเข้าใจในธรรมชาติและพฤติกรรมมนุษย์ วัฒนธรรม ความเชื่อ ความรู้พื้นบ้าน ดูแลสุขภาพครอบครัวและชุมชน ให้การพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคต่างๆ ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเบื้องต้น ปกป้องสิทธิผู้รับบริการและเป็นตัวแทนให้ผู้รับบริการ ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านสุขภาพ สร้างงานวิชาการ นวัตกรรมและงานวิจัย เป็นผู้นำและผู้ร่วมทีมสุขภาพและบริหารจัดการการให้บริการและหน่วยงาน 4. ประเด็นหลักการปฏิรูประบบสุขภาพ ประกอบด้วย ระบบบริการสุขภาพที่มีความเสมอภาค บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ กระจายอำนาจ การสร้างสุขภาพที่เน้นการดูแลสุขภาพตนเอง กำลังคนด้านสุขภาพที่เพียงพอทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ กระบวนการสร้างความรู้และงานวิจัยด้านสุขภาพ หลักประกันเพื่อการมีสุขภาพดี ภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมของบุคลากรสุขภาพในกระบวนการกำหนดนโยบายสุขภาพและประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพต่างๆ 5. การมีส่วนร่วมของพยาบาลในการปฏิรูประบบสุขภาพ ทำได้ทั้งในระดับบุคคลและองค์กรวิชาชีพ ในระดับบุคคลพยาบาลต้องพัฒนาความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ ความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาล การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และการมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและร่วมในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ สำหรับในระดับองค์กรวิชาชีพ ต้องเข้ามามีบทบาทในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ ในการจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาการศึกษาและบริการพยาบาล เป็นผู้นำในการประสานและสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิก และระดมความคิดเห็น พัฒนาศักยภาพผู้นำทางการพยาบาล ควบคุมคุณภาพมาตรฐานผู้สำเร็จการศึกษาพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและพัฒนาระบบประกันคุณภาพงานบริการพยาบาล
บทคัดย่อ
This study was a qualitative study focused on participatory process management of nurses’ opinion expression on problems of the health care system, the vision of the Thai health system, the role of nurses, and awareness-building in health system reform participation. The principal informants were 1,269 nurses working at secondary and tertiary hospitals in the Northern region. Additional information and comments were provided by health care recipients, health care providers, and experts and nurses throughout the country, through brainstorming meetings (11), in-depth interviews (29), focus group discussions (11), round table discussions (2), a national seminar (1) and a national conference(1). Activities for group work, interview guidelines, focus group discussion guidelines, and questions for discussion in all meetings, were designed by the researchers, as were content analysis and category arrangement. Results of the study were as follows: 1. The situation of the health care system is reflected in the problems of service and care-providers, and the recipients. The service was seen as ineffective, under standard, and of low quality. Care providers were hampered by high workloads, insufficient skills, stress, few opportunities for development, and insufficient participation in organizational administration. Health care recipients complained of not receiving the benefits they were entitled to, the inequities and high costs of services, poor services, and the inadequate performances of the providers’ performance. They wanted to see a good system of service and appropriate fees, as well as care providers in adequate numbers with good knowledge and offering good relationships and kindness. 2. The vision of the Thai health system as proposed by nurses was envisaged as an active health service with equity for all. They also wanted to see health service personnel displaying good quality, morality, and proper conduct. They proposed that people and communities should participate in health care, and also that government and health organizations have policies and strategies promoting good health for the people. 3. The nurses’ vision for nurses’ roles in the new health system was discussed. Nurses at all levels should provide more active service; understand human nature, behavior, culture, beliefs and local knowledge; provide family and community care, as well as nursing interventions and rehabilitative services for sick persons; conduct physical examinations, make diagnoses and provide primary medical care; protect recipients’ rights and advocate for them; provide health information and knowledge; produce academic work, innovation and research; be leaders or team-mates in health teams; administer and manage the services and units; express ideas for the health system and professional development; and perform advanced nursing practices. 4. Key issues in health system reform were identified. They consisted of the equity and quality of care service, the effective health service management and decentralization, health building by self health care, adequacy of quality and number of health manpower, health knowledge building process and research, health coverage for good health, government and people participation in health policy making, and effectiveness of other health care systems. 5. It was agreed that nurses should participate in health system reform at the personal and professional organization levels. At the personal level, nurses should have awareness and understanding of new health concepts and educate others, be knowledgeable and competent in nursing actions, be responsible for continuous self development, and have a good attitude towards their profession, and participate in professional organizational activities. At the organizational level, the organization must participate actively in health system reform and related regulation formation; identify policies and directions for nursing education and service development; lead, coordinate and build understanding towards reform among members; and draw opinions on capacity building for leaders, quality control for the performance of newly graduated nurses and nurses in the workplace, and the establishment of quality assurance systems for the nursing service.