บทคัดย่อ
องค์กรทางสังคมและพัฒนาการความเป็นประชาคมตำบล: กรณีศึกษาตำบลเมืองจัง กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ บทบาท และศักยภาพของกลุ่ม/องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีรูปแบบการดำเนินงานในรูปแบบประชาคม ของในตำบลเมืองจัง กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยสัมภาษณ์ระดับลึก ผู้นำ แกนนำ และสมาชิกของ กลุ่ม/องค์กร ต่างๆในตำบลเมืองจัง จำนวน 22 กลุ่ม/องค์กร จากจำนวนทั้งสิ้น 48 กลุ่ม/องค์กร โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผล ผลการศึกษาพบว่า ตำบลเมืองจัง มีจุดกำเนิดของหมู่บ้านจากเดิม 2 หมู่บ้านแล้วขยายออกเป็น 10 หมู่บ้านในปัจจุบัน มีกลุ่ม/องค์กร ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการจัดตั้งโดยภาครัฐ ถึง 14 ประเภท จำนวน 48 กลุ่ม หลายกลุ่มเป็นเครือข่ายกับกลุ่มฮักเมืองน่าน ผู้นำ แกนนำ หรือสมาชิกของกลุ่ม/องค์กร หลายคนได้รับเลือกเป็นสมาชิกขององค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ตำบลเมืองจังต่อมาได้รับผลกระทบจากการตัดไม้ ทำลายป่า การบุกรุกที่ทำกิน การส่งเสริมการปลูกพืชเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าสู่พื้นที่ตำบลเมืองจังมากขึ้น เป็นผลให้เกิดการเสื่อมโทรมของป่า ดิน ระบบนิเวศของแม่น้ำ สัตว์น้ำ มีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งได้เปิดรับกระแสการพัฒนาจากภายนอกมากขึ้น ทำให้สภาพสังคมของชุมชนเมืองจัง เปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มาเป็นชุมชนที่เกิดปัญหาหลายด้าน จากสภาวะปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดผู้นำตามธรรมชาติที่เฉลียวฉลาด มีความซื่อสัตย์ เสียสละ เห็นแก่ส่วนรวมจำนวนมาก และเกิดกลุ่ม/องค์กร ทางสังคมหลายกลุ่ม กระจายไปทุกหมู่บ้านของตำบล รวมทั้งมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับองค์กรเอกชนภายนอกตำบลด้วย ได้แก้ไขปัญหาของตนเอง ของชุมชน สามารถพลิกฟื้นสภาวะที่เคยล้มเหลวจากการทำเกษตรกรรม มีหนี้สิน มีปัญหาทางสังคม ให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤตดังกล่าวอย่างได้ผลดี เช่น เกิดกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน 6 กลุ่ม สามารถรักษาป่าชุมชนไว้ได้มากกว่า 17,500 ไร่ เกิดกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ปลา 7 กลุ่ม ทำให้จำนวนและชนิดของปลาในแม่น้ำเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เกิดกลุ่มเกษตรผสมผสาน 2 กลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์ 6 กลุ่ม กลุ่มเยาวชน 5 กลุ่ม กลุ่มเหมืองฝาย 2 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้าน 10 กลุ่ม กลุ่มฌาปนกิจ 2 กลุ่ม กลุ่มอาชีพ 3 กลุ่ม กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน(อสม.) 10 กลุ่ม กลุ่มผู้สูงอายุ 10 กลุ่ม รวมทั้งได้สามารถแก้ไขปัญหาการระบาดของยาเสพติดและปัญหาอื่นๆ อย่างได้ผลดี ทั้งนี้การดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรทางสังคมต่างๆได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กิ่งอำเภอ สถานีตำรวจ โรงเรียน สาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อบต. โดยคณะกรรมการบริหาร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. มีทัศนคติที่ดียิ่งต่อกลุ่ม/องค์กรเหล่านี้ ได้ให้การสนับสนุน เกื้อกูลและมี ประสานงานเป็นอย่างดี แสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชนที่ยังคงมีความเป็นสังคมชนบทอยู่มากและระบบเครือข่าย รวมถึงความสามารถในการจัดการ ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการทำงานในรูปแบบประชาคมของภาคสังคมและภาครัฐในการจัดการกับกิจการภายในของตำบลเมืองจังในระดับที่น่าสนในยิ่ง
บทคัดย่อ
Societal organization and development on tambol civil society : case study in Tombol Muang Jung, Nan province This is a qualitative study intended to examine the origins, development, role and potential of various government and non-government groups in Tambon Muang Jung, Ging Amphoe Pupieng that carry out work in the manner of civil societies. In-depth interviews were carried out with leaders, core individuals and members of 22 out of 48 groups and organizations in Tambon Muang Jung through the use of questionnaires that were later analyzed, synthesized and summarised. The study found that Tambon Muang Jung originated from two villages that subsequently expanded to the present number of ten. Groups and organizations arose naturally and through establishment by the government. There are now 48 groups in 14 categories, many of which are members of the Hug Muang Nan Network. Many of the leaders, core individuals and members of the groups and organizations have been elected to the Tambol Administration Organization (TAO). In the past it had suffered from the effects of encroachment and destruction of the forest for subsistence farming and then through promotion of the cultivation of cash crops and the increased immigration into the tambon. This has led to degradation of the forests, the soil, the aquatic ecosystem and aquatic life. Encroachment into the forest has increased along with an opening up to the wave of development from the outside. This has changed the quality of the community in the tambon and the balance between people and tha nature until many problems have arisen. The aforementioned problems have given rise to a large number of smart, honest, dedicated and committed leaders, and many groups and organizations that have spread to every village in the tambol. The groups have also networked with non-government organization outside the Tambon. They have been able to solve their problems and those of the their communities and bring about a recovery from the conditions brough about by agricultural practices and debt and to survive the crisis. There have arisen for example 6 community forests covering an area of more than 17,500 rai, 7 fish conservation zones, which have led to a dramatic increase in the numbers and species of fish in the rivers, 2 sustainable agriculture groups, 6 community savings organizations, 5 youth groups, 2 "mueang fai" community water supply management groups, 10 housewife groups, 2 cremation fund groups, 3 occupational groups, 10 public health volunteer groups and 10 elderly groups, which together have been able to solve the problems, such as those of drug abuse, effectively.